ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ศปต.จัดประชุมหารือติดตามนโยบายของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ในการเก็บอาวุธปืน พบไม่มีคำสั่งชะลอการเก็บอาวุธปืนของหน่วยงานตามที่เป็นข่าว แต่ต้องใช้เวลาในการเก็บ วอนดำเนินการด้วยความรอบคอบ รวดเร็ว เพื่อลดปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกช่องทางหนึ่ง
วันนี้ (14 มี.ค.) ที่ห้องประชุมอเนกประสงค์ ศูนย์อำนวยการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้มีการประชุมสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปต.) โดยมีนายอาซิส เบ็ญหาวัน เป็นประธานในที่ประชุม เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบ และเสนอแนวทางการพัฒนา โดยมีตัวแทนฝ่ายความมั่นคง และหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม
ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกสภาที่ปรึกษา ในภาคส่วนของสื่อมวลชน ได้สอบถาม พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 และ ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ถึงนโยบายการเก็บอาวุธปืนคืนจากกลุ่มคนในพื้นที่ เช่น ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ สายข่าว และกลุ่มบุคคลต่างๆ ใน 3 จังหวัด และ 4 อำเภอ ซึ่งปืนเหล่านี้มีส่วนในการที่ผู้ครอบครองนำไปใช้เพื่อล้างแค้นส่วนตัว สร้างอิทธิพล สร้างสถานการณ์ และฆ่าคนตามที่หน่วยงานบางหน่วยต้องการ เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายยิ่งขึ้น จึงต้องการทราบว่า การเก็บอาวุธปืนตามนโยบายของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ดำเนินการถึงไหนแล้ว เพราะมีข่าวว่าจะมีการชะลอการเก็บอาวุธปืน เนื่องจากบางหน่วยงานไม่เห็นด้วย
โดยตัวแทนของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งมาประชุมแทนแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า นโยบายเก็บอาวุธปืนจากหน่วยงานของรัฐที่แจกจ่ายให้แก่หน่วยงาน และบุคคลต่างๆ ยังไม่ได้มีการสั่งให้ชะลอ หรือยกเลิก เพราะ กอ.รมน. ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งมีผู้ครอบครองอาวุธปืนทำไปก่อเหตุ แต่เพื่อความรอบคอบในการดำเนินการ จึงได้มีการแต่งตั้งประธานคณะทำงาน คือ รองแม่ทัพภาคที่ 4 และ รอง ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าเป็นประธาน มี รอง ผบช.ศชต. และ รอง ผวจ.ทุกจังหวัดเป็นรองประธาน เพื่อตรวจสอบจำนวนอาวุธ และวางมาตรการให้รัดกุม เช่น ในส่วนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่เสี่ยง อาจจะให้มีการครอบครองได้ หรือบุคคลที่มีความจำเป็น ดังนั้น นโยบายการเก็บอาวุธปืนต้องใช้เวลา เพราะปืนที่นำไปแจกจ่าย นอกจากเป็นของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าแล้ว ยังเป็นของฝ่ายปกครอง และตำรวจด้วย
ขณะที่นายไชยยงค์ ได้กล่าวต่อไปว่า ปืนในส่วนของฝ่ายปกครอง และตำรวจ นั้นการเก็บคืนคงจะไม่ยุ่งยาก แต่ปืนของหน่วยงานความมั่นคง ขอให้มีการตรวจสอบให้ชัดเจน เพราะมีหน่วยงานหลายหน่วยที่นำอาวุธปืนไปให้กลุ่มบุคคลต่างๆ ที่ทำงานให้แก่หน่วยงาน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นปืนไม่มีทะเบียน เพื่อใช้ปฏิบัติงาน และปืนเหล่านี้คือปืนที่มีปัญหา เพราะมีการใช้ก่อเหตุ และไม่มีหลักฐานในการดำเนินคดี โดยเฉพาะที่ อ.กาบัง จ.ยะลา เพียงพื้นที่เดียว มีรายงานลับว่า มีปืนที่มีปัญหาถึง 30 กระบอก และเห็นด้วยในการที่ยังจะให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่กลุ่มเสี่ยง สามารถครอบครองอาวุธปืน เพื่อใช้ในการป้องกันตนเอง และหมู่บ้านได้ สำหรับปืนที่กลายเป็นปัญหานั้น มีจำนวน 6,000 กว่ากระบอก จึงขอให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ดำเนินการด้วยความรอบคอบ รวดเร็ว เพื่อที่จะลดปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกช่องทางหนึ่ง
วันนี้ (14 มี.ค.) ที่ห้องประชุมอเนกประสงค์ ศูนย์อำนวยการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้มีการประชุมสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปต.) โดยมีนายอาซิส เบ็ญหาวัน เป็นประธานในที่ประชุม เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบ และเสนอแนวทางการพัฒนา โดยมีตัวแทนฝ่ายความมั่นคง และหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม
ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกสภาที่ปรึกษา ในภาคส่วนของสื่อมวลชน ได้สอบถาม พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 และ ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ถึงนโยบายการเก็บอาวุธปืนคืนจากกลุ่มคนในพื้นที่ เช่น ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ สายข่าว และกลุ่มบุคคลต่างๆ ใน 3 จังหวัด และ 4 อำเภอ ซึ่งปืนเหล่านี้มีส่วนในการที่ผู้ครอบครองนำไปใช้เพื่อล้างแค้นส่วนตัว สร้างอิทธิพล สร้างสถานการณ์ และฆ่าคนตามที่หน่วยงานบางหน่วยต้องการ เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายยิ่งขึ้น จึงต้องการทราบว่า การเก็บอาวุธปืนตามนโยบายของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ดำเนินการถึงไหนแล้ว เพราะมีข่าวว่าจะมีการชะลอการเก็บอาวุธปืน เนื่องจากบางหน่วยงานไม่เห็นด้วย
โดยตัวแทนของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งมาประชุมแทนแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า นโยบายเก็บอาวุธปืนจากหน่วยงานของรัฐที่แจกจ่ายให้แก่หน่วยงาน และบุคคลต่างๆ ยังไม่ได้มีการสั่งให้ชะลอ หรือยกเลิก เพราะ กอ.รมน. ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งมีผู้ครอบครองอาวุธปืนทำไปก่อเหตุ แต่เพื่อความรอบคอบในการดำเนินการ จึงได้มีการแต่งตั้งประธานคณะทำงาน คือ รองแม่ทัพภาคที่ 4 และ รอง ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าเป็นประธาน มี รอง ผบช.ศชต. และ รอง ผวจ.ทุกจังหวัดเป็นรองประธาน เพื่อตรวจสอบจำนวนอาวุธ และวางมาตรการให้รัดกุม เช่น ในส่วนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่เสี่ยง อาจจะให้มีการครอบครองได้ หรือบุคคลที่มีความจำเป็น ดังนั้น นโยบายการเก็บอาวุธปืนต้องใช้เวลา เพราะปืนที่นำไปแจกจ่าย นอกจากเป็นของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าแล้ว ยังเป็นของฝ่ายปกครอง และตำรวจด้วย
ขณะที่นายไชยยงค์ ได้กล่าวต่อไปว่า ปืนในส่วนของฝ่ายปกครอง และตำรวจ นั้นการเก็บคืนคงจะไม่ยุ่งยาก แต่ปืนของหน่วยงานความมั่นคง ขอให้มีการตรวจสอบให้ชัดเจน เพราะมีหน่วยงานหลายหน่วยที่นำอาวุธปืนไปให้กลุ่มบุคคลต่างๆ ที่ทำงานให้แก่หน่วยงาน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นปืนไม่มีทะเบียน เพื่อใช้ปฏิบัติงาน และปืนเหล่านี้คือปืนที่มีปัญหา เพราะมีการใช้ก่อเหตุ และไม่มีหลักฐานในการดำเนินคดี โดยเฉพาะที่ อ.กาบัง จ.ยะลา เพียงพื้นที่เดียว มีรายงานลับว่า มีปืนที่มีปัญหาถึง 30 กระบอก และเห็นด้วยในการที่ยังจะให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่กลุ่มเสี่ยง สามารถครอบครองอาวุธปืน เพื่อใช้ในการป้องกันตนเอง และหมู่บ้านได้ สำหรับปืนที่กลายเป็นปัญหานั้น มีจำนวน 6,000 กว่ากระบอก จึงขอให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ดำเนินการด้วยความรอบคอบ รวดเร็ว เพื่อที่จะลดปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกช่องทางหนึ่ง