สุราษฎร์ธานี - กองทัพบก นำรถน้ำออกช่วยเหลือชาวบ้านที่ขาดแคลนน้ำในการอุปโภค ในสภาวะแห้งแล้งในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยสถานการณ์ขณะนี้ยังทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีฝนในพื้นที่อีก 15 วัน คาดจะเข้าขั้นวิกฤต
วันนี้ (13 มี.ค.) พ.อ.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้บังคับศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกที่ 4 ประจำพื้นที่ภาคใต้ นำกำลังพล พร้อมรถบรรทุกน้ำขนาด 6 พันลิตร ออกแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ ม. 10 ต.ช้างขวา อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี จำนวนหลายหลังคาเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานกว่า 2 เดือนแล้ว ส่งผลให้น้ำประปาชุมชนไม่สามารถผลิตน้ำได้เพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่น้ำในสระ หรือบ่อน้ำตื้นก็เริ่มแห้งขอด โดยในวันนี้สามารถบรรเทาทุกข์ให้แก่ราษฎรจำนวนหนึ่ง ซึ่งทางกองทัพจะได้จัดรถสนับสนุนเพิ่มเติมจนกว่าจะเพียงพอต่อครัวเรือนที่ขาดแคลนน้ำใช้
สำหรับพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ราบสูง มีระบบประปาหมู่บ้านแต่ฝนทิ้งช่วงทำให้แหล่งน้ำดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำบริการประชาชน ทำให้ประชาชนที่อยู่ปลายน้ำประปา ไม่มีน้ำใช้ ส่วนภาพรวมของทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลายพื้นที่ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ขาดน้ำอุปโภค ซึ่งประชาชน และท้องถิ่นยังพอช่วยเหลือตนเองได้ แต่หากฝนทิ้งช่วงนานอีก 15 วัน คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะวิกฤต หากเกินขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็จะได้แจ้งถึงอำเภอก่อน และส่งต่อไปยังจังหวัดเพื่อประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติต่อไป
วันนี้ (13 มี.ค.) พ.อ.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้บังคับศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกที่ 4 ประจำพื้นที่ภาคใต้ นำกำลังพล พร้อมรถบรรทุกน้ำขนาด 6 พันลิตร ออกแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ ม. 10 ต.ช้างขวา อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี จำนวนหลายหลังคาเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานกว่า 2 เดือนแล้ว ส่งผลให้น้ำประปาชุมชนไม่สามารถผลิตน้ำได้เพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่น้ำในสระ หรือบ่อน้ำตื้นก็เริ่มแห้งขอด โดยในวันนี้สามารถบรรเทาทุกข์ให้แก่ราษฎรจำนวนหนึ่ง ซึ่งทางกองทัพจะได้จัดรถสนับสนุนเพิ่มเติมจนกว่าจะเพียงพอต่อครัวเรือนที่ขาดแคลนน้ำใช้
สำหรับพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ราบสูง มีระบบประปาหมู่บ้านแต่ฝนทิ้งช่วงทำให้แหล่งน้ำดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำบริการประชาชน ทำให้ประชาชนที่อยู่ปลายน้ำประปา ไม่มีน้ำใช้ ส่วนภาพรวมของทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลายพื้นที่ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ขาดน้ำอุปโภค ซึ่งประชาชน และท้องถิ่นยังพอช่วยเหลือตนเองได้ แต่หากฝนทิ้งช่วงนานอีก 15 วัน คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะวิกฤต หากเกินขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็จะได้แจ้งถึงอำเภอก่อน และส่งต่อไปยังจังหวัดเพื่อประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติต่อไป