ตรัง - เกษตรผู้เลี้ยงปลากระชังน้ำจืด ริมฝั่งแม่น้ำตรัง ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง หลังจากที่น้ำแห้งขอดลงเรื่อยๆ ส่งผลให้ปลาอยู่อย่างแออัด และไม่กินอาหาร จนบางตัวผ่ายผอม และตายลงไป หลายรายต้องยอมเลิกอาชีพเลี้ยงปลา
วันนี้ (12 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปสำรวจกลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงปลากระชังน้ำจืด ริมฝั่งแม่น้ำตรัง ในพื้นที่ ต.ท่าสะบ้า อ.วังวิเศษ และใกล้เคียง ซึ่งขณะนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นรุนแรงกว่าทุกปี หลังจากเกิดฝนทิ้งช่วงมาเกือบ 2 เดือนแล้ว จนทำให้ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว จากที่เคยสูงกว่า 1 เมตรในช่วงปกติ กลับเหลือเพียงแค่ 30-50 ซม. แถมบางจุดยังมีสันทรายโผล่ขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน จนทำให้ปลาที่เลี้ยงในกระชังมีพื้นที่ในการอยู่อาศัยน้อยลง โดยบางตัวมีมีสภาพผ่ายผอม และตายลงไปในที่สุด
นายอรุณ พงศ์พิพัฒน์ อายุ 53 ปี ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังน้ำจืด หมู่ที่ 1 บ้านจิจิก ต.ท่าสะบ้า กล่าวว่า สภาพอากาศในปีนี้ที่ร้อนจัด และระดับน้ำในแม่น้ำตรังก็แห้งขอด ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงปลาอย่างมาก และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทำให้ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก เฉพาะของตนที่เลี้ยงไว้ 14 กระชัง เริ่มประสบปัญหา เนื่องจากมีระดับน้ำในกระชังต่ำ ทำให้ปลาอาศัยอยู่อย่างแออัด และไม่กินอาหาร ส่งผลต่อการเติบโต และเสี่ยงต่อการเกิดน้ำเสียได้ง่าย จึงต้องยุบกระชังทิ้งไปบางส่วน
ทั้งนี้ กระชังปลาที่เหลือประมาณ 60% จะจับขายได้ในเดือนเมษายน แต่กว่าจะถึงเวลาดังกล่าวมีความเสี่ยงว่าปลาจะตายไปหมดเสียก่อน เพราะระดับน้ำในแม่น้ำตรัง ลดลงอย่างมาก และอากาศก็ร้อนขึ้นด้วย ส่วนปลาที่เหลือก็จะโตช้า จนทำให้การเลี้ยงยืดเยื้อออกไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนอาหารที่จะเพิ่มขึ้นตามมา อาจทำให้เกษตรกรต้องประสบปัญหาขาดทุนไปนับแสนบาท หลังจากที่มีหนี้สินอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายครั้งแล้ว จนหลายรายต้องยอมเลิกอาชีพเลี้ยงปลากระชังน้ำจืด
วันนี้ (12 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปสำรวจกลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงปลากระชังน้ำจืด ริมฝั่งแม่น้ำตรัง ในพื้นที่ ต.ท่าสะบ้า อ.วังวิเศษ และใกล้เคียง ซึ่งขณะนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นรุนแรงกว่าทุกปี หลังจากเกิดฝนทิ้งช่วงมาเกือบ 2 เดือนแล้ว จนทำให้ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว จากที่เคยสูงกว่า 1 เมตรในช่วงปกติ กลับเหลือเพียงแค่ 30-50 ซม. แถมบางจุดยังมีสันทรายโผล่ขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน จนทำให้ปลาที่เลี้ยงในกระชังมีพื้นที่ในการอยู่อาศัยน้อยลง โดยบางตัวมีมีสภาพผ่ายผอม และตายลงไปในที่สุด
นายอรุณ พงศ์พิพัฒน์ อายุ 53 ปี ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังน้ำจืด หมู่ที่ 1 บ้านจิจิก ต.ท่าสะบ้า กล่าวว่า สภาพอากาศในปีนี้ที่ร้อนจัด และระดับน้ำในแม่น้ำตรังก็แห้งขอด ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงปลาอย่างมาก และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทำให้ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก เฉพาะของตนที่เลี้ยงไว้ 14 กระชัง เริ่มประสบปัญหา เนื่องจากมีระดับน้ำในกระชังต่ำ ทำให้ปลาอาศัยอยู่อย่างแออัด และไม่กินอาหาร ส่งผลต่อการเติบโต และเสี่ยงต่อการเกิดน้ำเสียได้ง่าย จึงต้องยุบกระชังทิ้งไปบางส่วน
ทั้งนี้ กระชังปลาที่เหลือประมาณ 60% จะจับขายได้ในเดือนเมษายน แต่กว่าจะถึงเวลาดังกล่าวมีความเสี่ยงว่าปลาจะตายไปหมดเสียก่อน เพราะระดับน้ำในแม่น้ำตรัง ลดลงอย่างมาก และอากาศก็ร้อนขึ้นด้วย ส่วนปลาที่เหลือก็จะโตช้า จนทำให้การเลี้ยงยืดเยื้อออกไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนอาหารที่จะเพิ่มขึ้นตามมา อาจทำให้เกษตรกรต้องประสบปัญหาขาดทุนไปนับแสนบาท หลังจากที่มีหนี้สินอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายครั้งแล้ว จนหลายรายต้องยอมเลิกอาชีพเลี้ยงปลากระชังน้ำจืด