พังงา - จังหวัดพังงา ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนักในรอบ 8 ปี ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย และเกิดอัคคีภัยต่อเนื่องหลายพื้นที่ เกษตรจังหวัดเตรียมขอพระราชทานฝนหลวงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน
นายยรรยง วัฒนศรี เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า พื้นที่หลายแห่งในจังหวัดพังงาประสบกับปัญหาฝนทิ้งช่วง และเกิดภัยแล้งต่อเนื่องมานานกว่า 3 เดือน ทำให้พื้นที่การเกษตรหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก รวมทั้งเกิดอัคคีภัยเผาผลาญไม้ผล และไม้ยืนต้นเสียหายแล้วหลายพื้นที่ โดยเฉพาะใน อ.ตะกั่วป่า อ.เมืองพังงา อ.ท้ายเหมือง และ อ.คุระบุรี ซึ่งความแห้งแล้งทำให้เกิดไฟป่าเผาต้นยางพารา และต้นปาล์มน้ำมันได้รับความเสียหายไปแล้วไม่น้อยกว่า 800 ไร่ ทั้งนี้ จังหวัดพังงา ได้แจ้งเตือนให้เกษตรกรเฝ้าระวังอัคคีภัย และหาทางป้องกันไว้เป็นการด่วน รวมทั้งขอให้เกษตรกรจัดหาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันความเสียหายทางด้านการเกษตร
โดยทางจังหวัดพังงา ได้ส่งหนังสือถึงอธิบดีฝนหลวงและการบินเกษตร รายงานถึงสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดพังงา ตั้งแต่ปลายปี 2556 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันทำให้เกิดภาวะแห่งแล้งเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร สถานการณ์นี้จะยังคงอยู่จนกว่าฤดูฝนจะมาถึง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาคเกษตรขณะนี้คือ พืชขาดแคลนน้ำ จะทำให้ผลผลิตลดต่ำลง ซึ่งจังหวัดพังงา มีพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ประกอบด้วย ยางพารา จำนวน 807,834 ไร่ ปาล์มน้ำมัน จำนวน 153,392 ไร่ ไม้ผล จำนวน 69,903 ไร่ เพื่อเป็นการแก้ไข และลดความรุนแรงของปัญหา จึงขอความอนุเคราะห์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้พิจารณาปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดพังงา ในวันที่15 มี.ค.57 เพื่อทั้งฐานบินทำฝนหลวงในฝั่งทะเลอันดามันต่อไป
นายยรรยง วัฒนศรี เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า พื้นที่หลายแห่งในจังหวัดพังงาประสบกับปัญหาฝนทิ้งช่วง และเกิดภัยแล้งต่อเนื่องมานานกว่า 3 เดือน ทำให้พื้นที่การเกษตรหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก รวมทั้งเกิดอัคคีภัยเผาผลาญไม้ผล และไม้ยืนต้นเสียหายแล้วหลายพื้นที่ โดยเฉพาะใน อ.ตะกั่วป่า อ.เมืองพังงา อ.ท้ายเหมือง และ อ.คุระบุรี ซึ่งความแห้งแล้งทำให้เกิดไฟป่าเผาต้นยางพารา และต้นปาล์มน้ำมันได้รับความเสียหายไปแล้วไม่น้อยกว่า 800 ไร่ ทั้งนี้ จังหวัดพังงา ได้แจ้งเตือนให้เกษตรกรเฝ้าระวังอัคคีภัย และหาทางป้องกันไว้เป็นการด่วน รวมทั้งขอให้เกษตรกรจัดหาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันความเสียหายทางด้านการเกษตร
โดยทางจังหวัดพังงา ได้ส่งหนังสือถึงอธิบดีฝนหลวงและการบินเกษตร รายงานถึงสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดพังงา ตั้งแต่ปลายปี 2556 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันทำให้เกิดภาวะแห่งแล้งเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร สถานการณ์นี้จะยังคงอยู่จนกว่าฤดูฝนจะมาถึง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาคเกษตรขณะนี้คือ พืชขาดแคลนน้ำ จะทำให้ผลผลิตลดต่ำลง ซึ่งจังหวัดพังงา มีพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ประกอบด้วย ยางพารา จำนวน 807,834 ไร่ ปาล์มน้ำมัน จำนวน 153,392 ไร่ ไม้ผล จำนวน 69,903 ไร่ เพื่อเป็นการแก้ไข และลดความรุนแรงของปัญหา จึงขอความอนุเคราะห์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้พิจารณาปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดพังงา ในวันที่15 มี.ค.57 เพื่อทั้งฐานบินทำฝนหลวงในฝั่งทะเลอันดามันต่อไป