นครศรีธรรมราช - กระทรวงพลังงาน ส่งหนังสือด่วน ยืนยันเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเต็มที่ อ้างต้องเป็นไปตามแผน ชาวบ้าน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เตรียมเคลื่อนไหวคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างต่อเนื่องพร้อมยกระดับการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
วันนี้ (28 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในอำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งได้ถูกภาคประชาชนจำนวนมากร่วมกันแสดงออกถึงการคัดค้านโครงการนี้อย่างเต็มที่หลายครั้ง โดยมีการแสดงจุดยืนที่ชัดเจน คือ ไม่ขัดขวางให้มีการสร้างโรงไฟฟ้า แต่การสร้างนั้นจะต้องไม่มีเชื้อเพลิงที่เป็นถ่านหิน ซึ่งถือว่าเป็นพลังงานที่สกปรกที่สุด
ในขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต พยายามอ้างว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้จะมีการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ซึ่งนักวิชาการหลายคนต่างแสดงความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นเพียงวาทกรรมเท่านั้น เพราะในโลกนี้ไม่เคยปรากฏว่ามีพลังงานถ่านที่ไหนจะเป็นพลังงานสะอาด อีกทั้งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชน อย่างที่มีบทเรียนเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทยกรณีโรงไฟฟ้าชนิดนี้
และภายหลังที่ภาคประชาชนสังคมหลายฝ่ายได้ออกมาเคลื่อนไหวให้ยุติโครงการนี้อย่างเด็ดขาด ซึ่งได้มีแผนของ กฟผ.ที่จะก่อสร้างถึง 2 โครงการ รวม 1,600 เมกะวัตถ์ โดยทาง จ.นครศรีธรรมราช ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดไปยังกระทรวงพลังงาน เพื่อแจ้งถึงการคัดค้านของภาคประชาชน และภาคประชาสังคมในการเรียกร้องให้ยุติโครงการ ปรากฏว่ากระทรวงพลังงานได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ พง 0607/2439 ลงวันที่ 14 พ.ย.2556 เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยหนังสือดังกล่าวมีสาระสำคัญว่า ในฐานะที่กระทรวงพลังงานกำกับดูแลการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ชี้แจงข้อเท็จจริงใน 3 ประเด็นคือ 1.ปัจจุบัน กฟผ. อยู่ในระหว่างศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นหรือ (IEE)ในบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ 2.การคัดเลือกพื้นที่การศึกษาผลกระทบ จะหลีกเลี่ยงพื้นที่โครงการพระราชดำริพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง 3.เพื่อให้โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด ในเขตพื้นที่ภาคใต้ให้เป็นไปตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553-2573 ซึ่งหนังสือฉบับนี้ได้ถูกลงนามโดย นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน
ขณะที่ชาว อ.หัวไทร เตรียมที่จะเคลื่อนไหวคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างต่อเนื่องและเตรียมที่จะยกระดับการเคลื่อนไหวให้มีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ หากทางกระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าการผลิตแห่งประเทศไทย ยังคงเดินหน้าในเรื่องนี้
วันนี้ (28 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในอำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งได้ถูกภาคประชาชนจำนวนมากร่วมกันแสดงออกถึงการคัดค้านโครงการนี้อย่างเต็มที่หลายครั้ง โดยมีการแสดงจุดยืนที่ชัดเจน คือ ไม่ขัดขวางให้มีการสร้างโรงไฟฟ้า แต่การสร้างนั้นจะต้องไม่มีเชื้อเพลิงที่เป็นถ่านหิน ซึ่งถือว่าเป็นพลังงานที่สกปรกที่สุด
ในขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต พยายามอ้างว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้จะมีการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ซึ่งนักวิชาการหลายคนต่างแสดงความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นเพียงวาทกรรมเท่านั้น เพราะในโลกนี้ไม่เคยปรากฏว่ามีพลังงานถ่านที่ไหนจะเป็นพลังงานสะอาด อีกทั้งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชน อย่างที่มีบทเรียนเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทยกรณีโรงไฟฟ้าชนิดนี้
และภายหลังที่ภาคประชาชนสังคมหลายฝ่ายได้ออกมาเคลื่อนไหวให้ยุติโครงการนี้อย่างเด็ดขาด ซึ่งได้มีแผนของ กฟผ.ที่จะก่อสร้างถึง 2 โครงการ รวม 1,600 เมกะวัตถ์ โดยทาง จ.นครศรีธรรมราช ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดไปยังกระทรวงพลังงาน เพื่อแจ้งถึงการคัดค้านของภาคประชาชน และภาคประชาสังคมในการเรียกร้องให้ยุติโครงการ ปรากฏว่ากระทรวงพลังงานได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ พง 0607/2439 ลงวันที่ 14 พ.ย.2556 เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยหนังสือดังกล่าวมีสาระสำคัญว่า ในฐานะที่กระทรวงพลังงานกำกับดูแลการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ชี้แจงข้อเท็จจริงใน 3 ประเด็นคือ 1.ปัจจุบัน กฟผ. อยู่ในระหว่างศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นหรือ (IEE)ในบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ 2.การคัดเลือกพื้นที่การศึกษาผลกระทบ จะหลีกเลี่ยงพื้นที่โครงการพระราชดำริพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง 3.เพื่อให้โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด ในเขตพื้นที่ภาคใต้ให้เป็นไปตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553-2573 ซึ่งหนังสือฉบับนี้ได้ถูกลงนามโดย นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน
ขณะที่ชาว อ.หัวไทร เตรียมที่จะเคลื่อนไหวคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างต่อเนื่องและเตรียมที่จะยกระดับการเคลื่อนไหวให้มีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ หากทางกระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าการผลิตแห่งประเทศไทย ยังคงเดินหน้าในเรื่องนี้