พังงา - ชาวเล 14 จังหวัดภาคใต้ กว่า 1,400 คน เข้าร่วมงานรวมชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 4 ที่ ตะกั่วป่า จ.พังงา เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องชาวเล และฟื้นฟูวิถีชีวิต
เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (10 พ.ย.) นายไชยวัฒน์ เทพี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานเปิดงานรวมชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 4 ณ ชุมชนชาวเลบ้านทุ่งหว้า ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เพื่อให้มีการเชื่อมโยงพบปะกันระหว่างพี่น้องชาวเลจากพื้นที่ต่างๆ ในการร่วมกันฟื้นฟูวิถีชีวิตวัฒนธรรม รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการผลักดันให้ปัญหาพวกเราได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังในระดับนโยบาย ทั้งด้านที่อยู่อาศัย, ที่ทำกิน, พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับทำพิธีกรรม, ชาวเลไม่มีบัตรประชาชน ทำให้ไม่มีสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมทั้งภูมิปัญญาประเพณีวัฒนธรรม และภาษาที่กำลังจะสูญหาย และปัญหาของคนในสังคมที่ไม่เข้าใจวิถีชีวิตของชาวเล ซึ่งในวันนี้ได้มีกิจกรรมการแสดงถึงภูมิปัญญาของชาวเล รวมถึงจัดนิทรรศการต่างๆ
นายสมมาต นาวารักษ์ ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กล่าว งานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล เป็นส่วนหนึ่งของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.53 ที่ระบุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมกันสนับสนุนแก้ไขบัญหาการฟื้นฟูชีวิตชาวเลอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งในครั้งนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ในวันที่ 9-10 พ.ย.56 และมีพี่น้องชาวเลเข้าร่วมประมาณ 1,400 คน จากทุกจังหวัดทั่วภาคใต้ โดยมีชาวเลทั้ง 3 กลุ่ม คือ มอแกน มอแกลน อูรักราโว้ย ซึ่งบรรพบุรุษส่วนใหญ่จะอาศัยหากินในทะเลอันดามันมาเป็นเวลากว่า 300 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ใน 43 ชุมชน 2,785 ครัวเรือน ประมาณ 12,000 คน กระจายใน 5 จังหวัดอันดามัน คือ ภูเก็ต 5 ชุมชน, พังงา22 ชุมชน, ระนอง 3 ชุมชน, กระบี่ 10 ชุมชน, สตูล 3 ชุมชน
ซึ่งในปัจจุบัน ชาวเลส่วนใหญ่มีปัญหาที่สำคัญ คือ ชาวเลอยู่ในที่ดินรัฐ รวมทั้งเอกชนอ้างสิทธิทับที่ดินชุมชนชาวเล ทำให้ถูกฟ้องร้องขับไล่ ถูกบีบคั้นให้ออกจากพื้นที่ด้วยวิธีต่างๆ รวมทั้งยังพบปัญหาสุสาน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับทำพิธีกรรม ทั้งค่อยๆ ยึดพื้นที่ไปทีละส่วน จากการก่อสร้างรีสอร์ต โรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยว ปัญหาที่ทำกินในทะเลที่ทางรัฐได้ประกาศเป็นเขตอุทยาน ประกาศเป็นเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ รวมทั้งนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้ชาวเลไม่สามารถทำมาหากินตามวิถีชีวิตของชาวเลได้
เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (10 พ.ย.) นายไชยวัฒน์ เทพี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานเปิดงานรวมชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 4 ณ ชุมชนชาวเลบ้านทุ่งหว้า ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เพื่อให้มีการเชื่อมโยงพบปะกันระหว่างพี่น้องชาวเลจากพื้นที่ต่างๆ ในการร่วมกันฟื้นฟูวิถีชีวิตวัฒนธรรม รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการผลักดันให้ปัญหาพวกเราได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังในระดับนโยบาย ทั้งด้านที่อยู่อาศัย, ที่ทำกิน, พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับทำพิธีกรรม, ชาวเลไม่มีบัตรประชาชน ทำให้ไม่มีสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมทั้งภูมิปัญญาประเพณีวัฒนธรรม และภาษาที่กำลังจะสูญหาย และปัญหาของคนในสังคมที่ไม่เข้าใจวิถีชีวิตของชาวเล ซึ่งในวันนี้ได้มีกิจกรรมการแสดงถึงภูมิปัญญาของชาวเล รวมถึงจัดนิทรรศการต่างๆ
นายสมมาต นาวารักษ์ ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กล่าว งานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล เป็นส่วนหนึ่งของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.53 ที่ระบุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมกันสนับสนุนแก้ไขบัญหาการฟื้นฟูชีวิตชาวเลอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งในครั้งนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ในวันที่ 9-10 พ.ย.56 และมีพี่น้องชาวเลเข้าร่วมประมาณ 1,400 คน จากทุกจังหวัดทั่วภาคใต้ โดยมีชาวเลทั้ง 3 กลุ่ม คือ มอแกน มอแกลน อูรักราโว้ย ซึ่งบรรพบุรุษส่วนใหญ่จะอาศัยหากินในทะเลอันดามันมาเป็นเวลากว่า 300 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ใน 43 ชุมชน 2,785 ครัวเรือน ประมาณ 12,000 คน กระจายใน 5 จังหวัดอันดามัน คือ ภูเก็ต 5 ชุมชน, พังงา22 ชุมชน, ระนอง 3 ชุมชน, กระบี่ 10 ชุมชน, สตูล 3 ชุมชน
ซึ่งในปัจจุบัน ชาวเลส่วนใหญ่มีปัญหาที่สำคัญ คือ ชาวเลอยู่ในที่ดินรัฐ รวมทั้งเอกชนอ้างสิทธิทับที่ดินชุมชนชาวเล ทำให้ถูกฟ้องร้องขับไล่ ถูกบีบคั้นให้ออกจากพื้นที่ด้วยวิธีต่างๆ รวมทั้งยังพบปัญหาสุสาน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับทำพิธีกรรม ทั้งค่อยๆ ยึดพื้นที่ไปทีละส่วน จากการก่อสร้างรีสอร์ต โรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยว ปัญหาที่ทำกินในทะเลที่ทางรัฐได้ประกาศเป็นเขตอุทยาน ประกาศเป็นเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ รวมทั้งนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้ชาวเลไม่สามารถทำมาหากินตามวิถีชีวิตของชาวเลได้