ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ว่าฯ ภูเก็ต ประชุมร่วมทีมงานสรรพากรพื้นที่ เพิ่มสมรรถนะในการจัดเก็บ ตรวจสอบธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่อการหลีกเลี่ยงภาษี เผยปีงบประมาณ 56 จัดเก็บภาษีได้เกินเป้า ขณะที่ปี 57 ตั้งเป้าเก็บได้ 10,200 ล้าน
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (8 พ.ย.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมเร่งรัด และติดตามการเก็บภาษีของสรรพากรพื้นที่ มีนายประเจียด อักษรธรรมกุล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดภูเก็ต นายเบญจ มีเทียน ผู้ช่วยสรรพากรพื้นที่ภูเก็ต และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
นายไมตรี กล่าวภายหลังการประชุมว่า วันนี้ได้เชิญทีมงานของสรรพากรพื้นที่ภูเก็ตมาร่วมประชุม เพื่อมารับทราบกระบวนการจัดเจ็บภาษี ซึ่งในปีงบประมาณ 2556 สรรพากรพื้นที่ภูเก็ต ได้ตั้งเป้าการจัดเก็บภาษีเงินไว้ 5.5% แต่สามารถจัดเก็บได้ 13.30% หรือ 9,651 ล้านบาท สูงกว่าปี 2555 ซึ่งจัดเก็บได้ 8,518 ล้านบาท สำหรับภาษีเงินได้ จำนวน 9,651 ล้านบาท นั้น เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 3,806 ล้านบาท จัดเก็บจากธุรกิจประเภท ภัตตาคาร โรงแรม 48% ขายปลีกขายส่ง 20% รองลงมาเป็นอสังหาริมทรัพย์ 12%
“ภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่มีเข้าใจว่าบริษัทใหญ่ๆ ที่ประกอบการในภูเก็ตแต่ไปเสียภาษีที่อื่นนั้น เรียนว่าสามารถเสียภาษีที่อื่นได้ แต่รายได้ต้องส่งกลับมายังท้องถิ่น การไปเสียภาษีที่อื่นได้ โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ ที่มีรายได้เกิน 2,000 ล้านบาทนั้น สำนักงานใหญ่เป็นผู้ดูแล เพราะว่าเขาจะตรวจสอบอย่างละเอียด ก็สรุปว่าใน 3,806 ล้านเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม”
นอกจากนั้น เพื่อจะดูว่าหน่วยงานราชการต่างๆ สามารถไปช่วยเสริมในเรื่องการจัดเก็บภาษีของสรรพากรได้อย่างไรบ้าง เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจดทะเบียน ทั้งโรงแรม ขนส่ง ธุรกิจของชาวต่างชาติ ต้องลงทะเบียน ต้องไปศึกษาว่า มีหน่วยไหนอยู่ในสภาพที่ให้ผู้อื่นได้มาเป็นลูกจ้าง หรือมาเป็นเครือข่ายแทน แล้วก็มีจดทะเบียนไม่ถูกต้อง ทำให้มีโอกาสการหลบหลีกภาษี ซึ่งถ้าไปจดทะเบียนถูกต้องเราจะตรวจสอบได้ เพราะฉะนั้นก็จะสอดกล้องกับที่เราดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการจัดหางานที่ไปตรวจสอบบริษัทต่างชาติ ที่ให้คนอื่นเป็นนอมินี
นายไมตรี กล่าวต่อไปว่า เราจะชี้เป้าร่วมกัน ถ้าสรรพากรเห็นว่าธุรกิจใดที่มีความเสี่ยงต่อการหลีกเลี่ยงภาษีจังหวัดจะไปตรวจสอบ แล้วก็จะกำชับให้บริษัทเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในระบบให้มากที่สุด ถ้ามีการลงทะเบียน ทางนี้ก็จะตรวจสอบได้ บางครั้งไม่ลงทะเบียน เช่น บางแห่งแปลงสภาพเป็นโรงแรม เป็นบ้าน เป็นอาคารต่างๆ โดยไม่จดทะเบียน เป็นต้น พวกนี้หนีภาษีหมด เช่น บางแห่งไปขอจดแล้วไม่ถูกต้อง เลยปล่อยเลยตามเลยไม่ขอจด ทางหนีไฟก็ไม่พร้อม ที่จอดรถก็ไม่ตรงมาตรฐาน เลยหลบหลีก
นายไมตรี ได้กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีคืนสู่ท้องถิ่นด้วยว่า ทางสรรพากรได้จัดเก็บภาษีคืนสู่ท้องถิ่นตามกติกา 2 ประเภท ประเภทแรกคือ ภาษี ประมาณ 10% ให้แก่ท้องถิ่นทั่วๆ ไป อีก 5 เปอร์เซ็นต์ คืนให้ อบจ.ภูเก็ต ซึ่งดำเนินการคืนมาแล้วปีนี้ รวม 472 ล้านบาท และยังมีภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 109 ล้านบาท เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น สรุปแล้วภาษีที่จัดเก็บคืนสู่ท้องที่ประมาณ 12% ส่วนในปีงบประมาณปี 2557 ทางสรรพากรพื้นที่ภูเก็ตได้วางเป้าจัดเก็บภาษีไว้ที่ 6% หรือ 10,200 ล้านบาท
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (8 พ.ย.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมเร่งรัด และติดตามการเก็บภาษีของสรรพากรพื้นที่ มีนายประเจียด อักษรธรรมกุล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดภูเก็ต นายเบญจ มีเทียน ผู้ช่วยสรรพากรพื้นที่ภูเก็ต และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
นายไมตรี กล่าวภายหลังการประชุมว่า วันนี้ได้เชิญทีมงานของสรรพากรพื้นที่ภูเก็ตมาร่วมประชุม เพื่อมารับทราบกระบวนการจัดเจ็บภาษี ซึ่งในปีงบประมาณ 2556 สรรพากรพื้นที่ภูเก็ต ได้ตั้งเป้าการจัดเก็บภาษีเงินไว้ 5.5% แต่สามารถจัดเก็บได้ 13.30% หรือ 9,651 ล้านบาท สูงกว่าปี 2555 ซึ่งจัดเก็บได้ 8,518 ล้านบาท สำหรับภาษีเงินได้ จำนวน 9,651 ล้านบาท นั้น เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 3,806 ล้านบาท จัดเก็บจากธุรกิจประเภท ภัตตาคาร โรงแรม 48% ขายปลีกขายส่ง 20% รองลงมาเป็นอสังหาริมทรัพย์ 12%
“ภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่มีเข้าใจว่าบริษัทใหญ่ๆ ที่ประกอบการในภูเก็ตแต่ไปเสียภาษีที่อื่นนั้น เรียนว่าสามารถเสียภาษีที่อื่นได้ แต่รายได้ต้องส่งกลับมายังท้องถิ่น การไปเสียภาษีที่อื่นได้ โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ ที่มีรายได้เกิน 2,000 ล้านบาทนั้น สำนักงานใหญ่เป็นผู้ดูแล เพราะว่าเขาจะตรวจสอบอย่างละเอียด ก็สรุปว่าใน 3,806 ล้านเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม”
นอกจากนั้น เพื่อจะดูว่าหน่วยงานราชการต่างๆ สามารถไปช่วยเสริมในเรื่องการจัดเก็บภาษีของสรรพากรได้อย่างไรบ้าง เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจดทะเบียน ทั้งโรงแรม ขนส่ง ธุรกิจของชาวต่างชาติ ต้องลงทะเบียน ต้องไปศึกษาว่า มีหน่วยไหนอยู่ในสภาพที่ให้ผู้อื่นได้มาเป็นลูกจ้าง หรือมาเป็นเครือข่ายแทน แล้วก็มีจดทะเบียนไม่ถูกต้อง ทำให้มีโอกาสการหลบหลีกภาษี ซึ่งถ้าไปจดทะเบียนถูกต้องเราจะตรวจสอบได้ เพราะฉะนั้นก็จะสอดกล้องกับที่เราดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการจัดหางานที่ไปตรวจสอบบริษัทต่างชาติ ที่ให้คนอื่นเป็นนอมินี
นายไมตรี กล่าวต่อไปว่า เราจะชี้เป้าร่วมกัน ถ้าสรรพากรเห็นว่าธุรกิจใดที่มีความเสี่ยงต่อการหลีกเลี่ยงภาษีจังหวัดจะไปตรวจสอบ แล้วก็จะกำชับให้บริษัทเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในระบบให้มากที่สุด ถ้ามีการลงทะเบียน ทางนี้ก็จะตรวจสอบได้ บางครั้งไม่ลงทะเบียน เช่น บางแห่งแปลงสภาพเป็นโรงแรม เป็นบ้าน เป็นอาคารต่างๆ โดยไม่จดทะเบียน เป็นต้น พวกนี้หนีภาษีหมด เช่น บางแห่งไปขอจดแล้วไม่ถูกต้อง เลยปล่อยเลยตามเลยไม่ขอจด ทางหนีไฟก็ไม่พร้อม ที่จอดรถก็ไม่ตรงมาตรฐาน เลยหลบหลีก
นายไมตรี ได้กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีคืนสู่ท้องถิ่นด้วยว่า ทางสรรพากรได้จัดเก็บภาษีคืนสู่ท้องถิ่นตามกติกา 2 ประเภท ประเภทแรกคือ ภาษี ประมาณ 10% ให้แก่ท้องถิ่นทั่วๆ ไป อีก 5 เปอร์เซ็นต์ คืนให้ อบจ.ภูเก็ต ซึ่งดำเนินการคืนมาแล้วปีนี้ รวม 472 ล้านบาท และยังมีภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 109 ล้านบาท เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น สรุปแล้วภาษีที่จัดเก็บคืนสู่ท้องที่ประมาณ 12% ส่วนในปีงบประมาณปี 2557 ทางสรรพากรพื้นที่ภูเก็ตได้วางเป้าจัดเก็บภาษีไว้ที่ 6% หรือ 10,200 ล้านบาท