ASTVผู้จัดการรายวัน - รมต.ตัวจริงออกโรงสยบข่าวขึ้นแวต ยันไม่มีนโยบายไปจนถึงเดือนก.ย. 57 แล้วค่อยพิจารณาใหม่ ลั่นไม่ต้องการให้เศรษฐกิจกำลังซื้อสะดุดและเป็นภาระประชาชน หวั่นสร้างความสับสนกักตุนสินค้า ส่วนการจัดเก็บรายได้ยังเป็นไปตามเป้า เล็งเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระแสข่าวการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างความสับสนและอาจส่งกระทบให้สินค้ามีการปรับขึ้นราคาหรือมีการกักตุนสินค้าได้ จึงต้องการสร้างความชัดเจนว่า รัฐบาลไม่มีแนวคิดหรือนโยบายจะปรับขึ้นอัตราภาษีจากที่เก็บในปัจจุบัน 7% ซึ่งเป็นการยึดตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)ที่ขยายระยะเวลาการจัดเก็บแวต 7% ไปจนถึงเดือนกันยายน 2557 และไม่ต้องการให้เศรษฐกิจและกำลังซื้อสะดุด
“ในฐานะที่ดูแลกรมสรรพากรไม่รู้เรื่องปรับขึ้นภาษีแวตแต่กลับมีกระแสข่าวออกมาเป็นระยะๆ จึงมองว่าอาจเกิดความสับสนในสังคมและกระทบความรู้สึกของประชาชน โดยยืนยันว่าเหตุที่ยังไม่ปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ใช่เรื่องทางการเมืองแต่เป็นเรื่องของความเหมาะสม เพราะที่ผ่านเราก็ไม่เคยเก็บภาษี 10 % อยู่แล้วยกเว้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ที่ธนาคารโลกเสนอให้ปรับขึ้นภาษีมาอยู่ที่ 10% ขณะนี้จึงยังไกลเกินไปที่จะมาพูดเรื่องขึ้นภาษี” นางเบญจากล่าวและว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นภาษีเพื่อหารายได้เพิ่มเพื่อมารองรับกับรายจ่ายที่สูงขึ้นทั้งรายจ่ายงบประมาณและจากนโยบายประชาชนนิยม โดยการหารายได้เพิ่มนั้นจะเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บมากกว่า
เนื่องจากมั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลยังคงสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แม้จะมีสถานการณ์เศรษฐกิจภายนอกและภายในมากระทบบ้าง เนื่องจากได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจและผลกระทบจาการปรับลดภาษีต่างๆไว้หมดแล้ว ทั้งการปรับอัตราภาษเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20% และการไม่ปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
รวมทั้งได้คำนึงถึงการนำโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่มาใช้ด้วย ซึ่งในส่วนนี้จะไม่กระทบกับการจัดเก็บรายได้มากนัก เพราะเป็นการปรับขึ้นอัตราให้ถี่ขึ้นจะลดเพียงอัตราสูงสุดจาก 37% ลงมาเหลือ 35% เท่านั้น โดยจะเห็นว่าปีงบประมาณ 2556 ที่ผ่านมารัฐบาลยังสามารถเก็บได้เกินเป้าหมาย แม้จะมีการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ 2558 คงต้องมาพิจารณาอีกครั้งถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นภาษีหรือการคงอัตราภาษีเดิม โดยต้องคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในช่วงนั้นๆ อีกทั้งมองว่าการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นภาษีทางอ้อม จะส่งผลกระทบกับประชาชนทุกคน เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีควรหันไปเน้นที่การจัดเก็บจากภาษีจากทางตรงมากกว่า อย่างภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีการปรับอัตราลงเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็กเข้ามามาอยู่ในระบบมากขึ้นนั้น ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะวิเคราะห์ว่าไม่ได้เกิดประโยชน์จริง เพราะคงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งกว่าจะดึงให้เข้ามาอยู่ในระบบได้จริง
เพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ด้านนายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพกรกล่าวว่า กรมสรรพากรกำลังพิจารณาที่จะเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายในการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากปัจจุบันที่ให้หักค่าลดหย่อนได้ 40% ของรายได้แต่ไม่เกิน 6 หมื่นบาทต่อคนเพื่อให้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพราะทุกคนต่างก็ใช้จ่ายมากกว่าได้รับสิทธิอยู่แล้ว
ขณะเดียวกันยังเป็นการกระตุ้นให้มีการออกใบกำกับภาษีมากขึ้นด้วยเพื่อให้ผู้ที่ยังอยู่นอกระบบเข้ามาในระบบภาษีเพื่อจะได้สิทธิ์ในการหักค่าใช้จ่ายด้วยสอดคล้องกับนโยบายการขยายฐานผู้เสียภาษีที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปีด้วยนอกจากนั้นยังจะไปดูเรื่องค่าลดหย่อนอื่นๆด้วยเพื่อปรับให้เหลือน้อยลง โดยเฉพาะสิทธิที่กระตุ้นการลงทุนต่างๆ เช่นประเภทกองทุนต่างๆว่าแข็งแรงพอที่จะยกเลิกสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีแล้วหรือไม่.
นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระแสข่าวการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างความสับสนและอาจส่งกระทบให้สินค้ามีการปรับขึ้นราคาหรือมีการกักตุนสินค้าได้ จึงต้องการสร้างความชัดเจนว่า รัฐบาลไม่มีแนวคิดหรือนโยบายจะปรับขึ้นอัตราภาษีจากที่เก็บในปัจจุบัน 7% ซึ่งเป็นการยึดตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)ที่ขยายระยะเวลาการจัดเก็บแวต 7% ไปจนถึงเดือนกันยายน 2557 และไม่ต้องการให้เศรษฐกิจและกำลังซื้อสะดุด
“ในฐานะที่ดูแลกรมสรรพากรไม่รู้เรื่องปรับขึ้นภาษีแวตแต่กลับมีกระแสข่าวออกมาเป็นระยะๆ จึงมองว่าอาจเกิดความสับสนในสังคมและกระทบความรู้สึกของประชาชน โดยยืนยันว่าเหตุที่ยังไม่ปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ใช่เรื่องทางการเมืองแต่เป็นเรื่องของความเหมาะสม เพราะที่ผ่านเราก็ไม่เคยเก็บภาษี 10 % อยู่แล้วยกเว้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ที่ธนาคารโลกเสนอให้ปรับขึ้นภาษีมาอยู่ที่ 10% ขณะนี้จึงยังไกลเกินไปที่จะมาพูดเรื่องขึ้นภาษี” นางเบญจากล่าวและว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นภาษีเพื่อหารายได้เพิ่มเพื่อมารองรับกับรายจ่ายที่สูงขึ้นทั้งรายจ่ายงบประมาณและจากนโยบายประชาชนนิยม โดยการหารายได้เพิ่มนั้นจะเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บมากกว่า
เนื่องจากมั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลยังคงสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แม้จะมีสถานการณ์เศรษฐกิจภายนอกและภายในมากระทบบ้าง เนื่องจากได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจและผลกระทบจาการปรับลดภาษีต่างๆไว้หมดแล้ว ทั้งการปรับอัตราภาษเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20% และการไม่ปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
รวมทั้งได้คำนึงถึงการนำโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่มาใช้ด้วย ซึ่งในส่วนนี้จะไม่กระทบกับการจัดเก็บรายได้มากนัก เพราะเป็นการปรับขึ้นอัตราให้ถี่ขึ้นจะลดเพียงอัตราสูงสุดจาก 37% ลงมาเหลือ 35% เท่านั้น โดยจะเห็นว่าปีงบประมาณ 2556 ที่ผ่านมารัฐบาลยังสามารถเก็บได้เกินเป้าหมาย แม้จะมีการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ 2558 คงต้องมาพิจารณาอีกครั้งถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นภาษีหรือการคงอัตราภาษีเดิม โดยต้องคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในช่วงนั้นๆ อีกทั้งมองว่าการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นภาษีทางอ้อม จะส่งผลกระทบกับประชาชนทุกคน เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีควรหันไปเน้นที่การจัดเก็บจากภาษีจากทางตรงมากกว่า อย่างภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีการปรับอัตราลงเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็กเข้ามามาอยู่ในระบบมากขึ้นนั้น ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะวิเคราะห์ว่าไม่ได้เกิดประโยชน์จริง เพราะคงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งกว่าจะดึงให้เข้ามาอยู่ในระบบได้จริง
เพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ด้านนายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพกรกล่าวว่า กรมสรรพากรกำลังพิจารณาที่จะเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายในการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากปัจจุบันที่ให้หักค่าลดหย่อนได้ 40% ของรายได้แต่ไม่เกิน 6 หมื่นบาทต่อคนเพื่อให้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพราะทุกคนต่างก็ใช้จ่ายมากกว่าได้รับสิทธิอยู่แล้ว
ขณะเดียวกันยังเป็นการกระตุ้นให้มีการออกใบกำกับภาษีมากขึ้นด้วยเพื่อให้ผู้ที่ยังอยู่นอกระบบเข้ามาในระบบภาษีเพื่อจะได้สิทธิ์ในการหักค่าใช้จ่ายด้วยสอดคล้องกับนโยบายการขยายฐานผู้เสียภาษีที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปีด้วยนอกจากนั้นยังจะไปดูเรื่องค่าลดหย่อนอื่นๆด้วยเพื่อปรับให้เหลือน้อยลง โดยเฉพาะสิทธิที่กระตุ้นการลงทุนต่างๆ เช่นประเภทกองทุนต่างๆว่าแข็งแรงพอที่จะยกเลิกสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีแล้วหรือไม่.