ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ผู้ประกอบการบ่อทราย บ่อดิน จ.สงขลา ของดส่ง “ส่วย” 2 เดือน อ้างกำลังซื้อถดถอย ทรายน้ำกร่อยตีตลาด เตือนผู้รับเหมาที่ใช้ทรายน้ำกร่อย ระวังอันตรายอาคารทรุด
วันนี้ (28 ต.ค.) รายงานข่าวจากกลุ่มผู้ประกอบการบ่อทราย และบ่อดินลูกรัง ใน อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการดูดทรายเป็นอันดับ 1 ของ จ.สงขลา โดยมีบ่อทรายที่ไม่มีใบอนุญาตจำนวน 20 บ่อ และที่มีอนุญาต จำนวน 2 บ่อ ได้แจ้งต่อนายตำรวจนอกราชการ ระดับ พ.ต.ท. ซึ่งเคยรับราชการที่ สภ.รัตภูมิ จ.สงขลา และทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ระหว่างเจ้าของบ่อทราย กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ “เก็บส่วย” บ่อทราย บ่อดิน ให้แก่นายตำรวจระดับสูงใน จ.สงขลา โดยขอหยุดจ่ายส่วยเป็นเวลา 2 เดือน คือเดือนพฤจิกายน-ธันวาคม 2556 เนื่องจากเป็นฤดูฝน การดูดทรายทำได้ลำบาก และการขายทรายขณะนี้ยอดจำหน่ายทรายตั้งแต่เดือนกันยายน ได้ตกลงกว่าเดิม จึงของดการจ่าย “ส่วย” ให้แก่เจ้าหน้าที่เป็นการชั่วคราว
สำหรับ “ส่วยบ่อทราย” แหล่งข่าวในพื้นที่ได้เปิดเผยว่า มีการเก็บในราคาเดียวทั้งบ่อเล็ก บ่อใหญ่ เช่นเดียวกับบ่อดินลูกรัง คือ บ่อละ 4,000 บาท หากไม่จ่ายก็จะถูกเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบใบอนุญาต และสั่งหยุด หรือจับกุม จึงทำให้เจ้าของบ่อต้องจ่ายเงินเพื่อที่จะทำกิจการต่อไปได้ และนอกจากต้องจ่ายตำรวจแล้ว ยังมีหน่วยอื่นๆ ทั้งจากส่วนกลาง และในพื้นที่ ซึ่งทำตัวเป็น “นักบิน” เรียกเก็บ “ส่วย” อีกต่างหาก
รายงานข่าวเปิดเผยต่อไปว่า สาเหตุที่ทำให้การขายทรายถดถอยตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา สืบเนื่องจากมีการดูดทรายน้ำกร่อยในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งเป็นการดูดทรายในคลอง ที่ไม่มีต้นทุนการซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นการดำเนินการของนักการเมืองระดับชาติ และนักการเมืองท้องถิ่น มาขายตัดหน้าในราคาถูกกว่าทรายจาก อ.รัตภูมิ และที่อื่นๆ ซึ่งเป็นบ่อทรายที่ต้องซื้อที่ดินเพื่อเปิดหน้าดิน รวมทั้งทรายน้ำกร่อยจาก อ.เทพา ใช้รถพ่วงบรรทุกสามารถบรรทุกได้จำนวนมาก จึงทำให้ต้นทุนลดลง นอกจากนั้น ยังมีการนำทรายจาก อ.นาหม่อม จ.สงขลา ซึ่งมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทาน โดยในการขุดดินเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ได้พบทรายจำนวนมากจนมีการลักลอบนำทรายดังกล่าวมาขายในราคาถูก เพราะเป็นทรายที่ไม่มีต้นทุน และเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ
ในขณะที่แหล่งข่าวในวงการก่อสร้างได้เตือนผู้รับเหมาก่อสร้างในการซื้อทรายน้ำกร่อยมาทำการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน ว่า ทรายน้ำกร่อยมีความเค็มจากน้ำเค็มเหลืออยู่ การนำมาก่อสร้างอาจจะมีปัญหาทางโครงสร้าง คือ ทำให้เหล็กที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเป็นสนิม และอาจจะทำให้อายุการใช้งานของอาคาร บ้านเรือนเสื่อมเร็วกว่า หรืออาจจะทรุด และพังได้ก่อนเวลา
วันนี้ (28 ต.ค.) รายงานข่าวจากกลุ่มผู้ประกอบการบ่อทราย และบ่อดินลูกรัง ใน อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการดูดทรายเป็นอันดับ 1 ของ จ.สงขลา โดยมีบ่อทรายที่ไม่มีใบอนุญาตจำนวน 20 บ่อ และที่มีอนุญาต จำนวน 2 บ่อ ได้แจ้งต่อนายตำรวจนอกราชการ ระดับ พ.ต.ท. ซึ่งเคยรับราชการที่ สภ.รัตภูมิ จ.สงขลา และทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ระหว่างเจ้าของบ่อทราย กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ “เก็บส่วย” บ่อทราย บ่อดิน ให้แก่นายตำรวจระดับสูงใน จ.สงขลา โดยขอหยุดจ่ายส่วยเป็นเวลา 2 เดือน คือเดือนพฤจิกายน-ธันวาคม 2556 เนื่องจากเป็นฤดูฝน การดูดทรายทำได้ลำบาก และการขายทรายขณะนี้ยอดจำหน่ายทรายตั้งแต่เดือนกันยายน ได้ตกลงกว่าเดิม จึงของดการจ่าย “ส่วย” ให้แก่เจ้าหน้าที่เป็นการชั่วคราว
สำหรับ “ส่วยบ่อทราย” แหล่งข่าวในพื้นที่ได้เปิดเผยว่า มีการเก็บในราคาเดียวทั้งบ่อเล็ก บ่อใหญ่ เช่นเดียวกับบ่อดินลูกรัง คือ บ่อละ 4,000 บาท หากไม่จ่ายก็จะถูกเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบใบอนุญาต และสั่งหยุด หรือจับกุม จึงทำให้เจ้าของบ่อต้องจ่ายเงินเพื่อที่จะทำกิจการต่อไปได้ และนอกจากต้องจ่ายตำรวจแล้ว ยังมีหน่วยอื่นๆ ทั้งจากส่วนกลาง และในพื้นที่ ซึ่งทำตัวเป็น “นักบิน” เรียกเก็บ “ส่วย” อีกต่างหาก
รายงานข่าวเปิดเผยต่อไปว่า สาเหตุที่ทำให้การขายทรายถดถอยตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา สืบเนื่องจากมีการดูดทรายน้ำกร่อยในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งเป็นการดูดทรายในคลอง ที่ไม่มีต้นทุนการซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นการดำเนินการของนักการเมืองระดับชาติ และนักการเมืองท้องถิ่น มาขายตัดหน้าในราคาถูกกว่าทรายจาก อ.รัตภูมิ และที่อื่นๆ ซึ่งเป็นบ่อทรายที่ต้องซื้อที่ดินเพื่อเปิดหน้าดิน รวมทั้งทรายน้ำกร่อยจาก อ.เทพา ใช้รถพ่วงบรรทุกสามารถบรรทุกได้จำนวนมาก จึงทำให้ต้นทุนลดลง นอกจากนั้น ยังมีการนำทรายจาก อ.นาหม่อม จ.สงขลา ซึ่งมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทาน โดยในการขุดดินเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ได้พบทรายจำนวนมากจนมีการลักลอบนำทรายดังกล่าวมาขายในราคาถูก เพราะเป็นทรายที่ไม่มีต้นทุน และเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ
ในขณะที่แหล่งข่าวในวงการก่อสร้างได้เตือนผู้รับเหมาก่อสร้างในการซื้อทรายน้ำกร่อยมาทำการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน ว่า ทรายน้ำกร่อยมีความเค็มจากน้ำเค็มเหลืออยู่ การนำมาก่อสร้างอาจจะมีปัญหาทางโครงสร้าง คือ ทำให้เหล็กที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเป็นสนิม และอาจจะทำให้อายุการใช้งานของอาคาร บ้านเรือนเสื่อมเร็วกว่า หรืออาจจะทรุด และพังได้ก่อนเวลา