ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - กกต.สงขลา เผยยอดผู้สมัครเลือกตั้ง อปท.พุ่งเกิน 1,000 คน ผู้หญิงแห่ลงสมัครเกือบร้อยละ 50 ขณะที่การซื้อเสียงสูงถึงหัวละ 3,000 บาท อดีตประธานสภา อบจ.สงขลา ชี้อาจจะซื้อเสียง 5,000 บาท
นายโชคชัย ผลวัฒนะ ผอ.กกต.จ.สงขลา เปิดเผยว่า ยอดผู้สมัครสมาชิกสภา และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 40 แห่งใน จ.สงขลา รวม 1,095 คน แยกเป็นสมัครนายกฯ 81 คน และ ส.อบต. 1,012 คน ปรากฏว่า มีผู้หญิงลงสมัครเพิ่มจากอดีตอยู่ในสัดส่วนใกล้เคียงกับผู้ชาย คือ ร้อยละ 47 ของผู้สมัครทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงหันมาสนใจการเมืองท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เพราะยอมรับแล้วว่า มีความสามารถทำประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น
นายโชคชัย เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า มี อบต. 12-14 แห่ง ที่อาจมีการแข่งขันกันสูง คือ มีการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เช่น ซื้อเสียง กกต.ต้องจัดชุดสืบสวนสอบสวนลงทำงานในพื้นที่ ร่วมกับอาสาสมัคร และผู้สื่อข่าว กกต. รวมทั้งประสานกับกองบังคับการตำรวจภูธร จ.สงขลา เพื่อให้มีชุดป้องปราบเคลื่อนที่เร็วลงไปช่วยพื้นที่ที่มีการแข่งขันกันสูง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกองเชียร์สร้างปัญหาจนนำไปสู่ความขัดแย้ง ผู้สมัครเองน้อยรายที่นำไปสู่ความแตกแยก
นอกจากนี้ รายงานข่าวจาก กกต.สงขลา เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับแจ้งเบาะแสเข้ามาแล้วว่า มีหัวคะแนนของผู้สมัครบางคนได้ออกเก็บบัตรประชาชน และจัดทำบัญชีเพื่อซื้อเสียง เสียงละ 2,000-3,000 บาท โดยเตรียมเงินไว้ไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาท เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มักจะพูดกันว่า “เงินไม่มา กาไม่เป็น”
ด้านนายนราเดช คำทัปน์ อดีตประธานสภา อบจ.สงขลา เปิดเผยว่า ตนยอมรับว่าการเมืองท้องถิ่นมีการแข่งขันรุนแรง มีการซื้อเสียงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ บางแห่งนายก อบต. ซื้อสูงถึง 3,000 บาทต่อหนึ่งเสียง แนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นถึงเสียงละ 5,000 บาท ในอีก 6-8 ปีข้างหน้า เพราะสภาพเศรษฐกิจบีบรัด คนจนที่ตั้งใจทำงานเพื่อท้องถิ่นไม่มีใครกล้าจะลงสมัคร เมื่อวันนั้นอันตรายจะมาถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายโชคชัย ผลวัฒนะ ผอ.กกต.จ.สงขลา เปิดเผยว่า ยอดผู้สมัครสมาชิกสภา และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 40 แห่งใน จ.สงขลา รวม 1,095 คน แยกเป็นสมัครนายกฯ 81 คน และ ส.อบต. 1,012 คน ปรากฏว่า มีผู้หญิงลงสมัครเพิ่มจากอดีตอยู่ในสัดส่วนใกล้เคียงกับผู้ชาย คือ ร้อยละ 47 ของผู้สมัครทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงหันมาสนใจการเมืองท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เพราะยอมรับแล้วว่า มีความสามารถทำประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น
นายโชคชัย เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า มี อบต. 12-14 แห่ง ที่อาจมีการแข่งขันกันสูง คือ มีการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เช่น ซื้อเสียง กกต.ต้องจัดชุดสืบสวนสอบสวนลงทำงานในพื้นที่ ร่วมกับอาสาสมัคร และผู้สื่อข่าว กกต. รวมทั้งประสานกับกองบังคับการตำรวจภูธร จ.สงขลา เพื่อให้มีชุดป้องปราบเคลื่อนที่เร็วลงไปช่วยพื้นที่ที่มีการแข่งขันกันสูง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกองเชียร์สร้างปัญหาจนนำไปสู่ความขัดแย้ง ผู้สมัครเองน้อยรายที่นำไปสู่ความแตกแยก
นอกจากนี้ รายงานข่าวจาก กกต.สงขลา เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับแจ้งเบาะแสเข้ามาแล้วว่า มีหัวคะแนนของผู้สมัครบางคนได้ออกเก็บบัตรประชาชน และจัดทำบัญชีเพื่อซื้อเสียง เสียงละ 2,000-3,000 บาท โดยเตรียมเงินไว้ไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาท เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มักจะพูดกันว่า “เงินไม่มา กาไม่เป็น”
ด้านนายนราเดช คำทัปน์ อดีตประธานสภา อบจ.สงขลา เปิดเผยว่า ตนยอมรับว่าการเมืองท้องถิ่นมีการแข่งขันรุนแรง มีการซื้อเสียงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ บางแห่งนายก อบต. ซื้อสูงถึง 3,000 บาทต่อหนึ่งเสียง แนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นถึงเสียงละ 5,000 บาท ในอีก 6-8 ปีข้างหน้า เพราะสภาพเศรษฐกิจบีบรัด คนจนที่ตั้งใจทำงานเพื่อท้องถิ่นไม่มีใครกล้าจะลงสมัคร เมื่อวันนั้นอันตรายจะมาถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น