ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายมือถือในภูเก็ตสุดทน บุกร้องผู้ว่าฯ ถูกตำรวจ สคบ.จับกุม จำหน่ายหน้ากากมือถือไม่ติดฉลากสินค้าให้ถูกต้อง วอนขอความเป็นธรรม จี้ชุดจับกุมช่วยชี้แจงทำความเข้าใจก่อนจับ เหตุซื้อมาขายไปไม่รู้ผิดกฎหมาย ยืนยันคนทำมาค้าขายต้องการทำให้ถูกต้อง

เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (20 ก.ย.) ที่ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายมือถือในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ประมาณ 40 คน นำโดย นายเตวิชโช หิรัญ นายบรรเจิด สารวงค์ นางใจดาว ตันฑวรักษ์ และผู้ประกอบการร้านจำหน่ายมือถือในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กรณีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการ 2 กองปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค กองบัญชาการตำรวจ สคบ. เข้าจับกุมร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ และยึดสินค้าหน้ากากโทรศัพท์มือถือที่ทำด้วยพลาสติก พร้อมดำเนินคดีไม่ติดฉลากสินค้าให้ถูกต้องตามความผิดมาตรา 30, 31, 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
อย่างไรก็ตาม การเดินทางมายื่นหนังสือของผู้ประกอบการในครั้งนี้ นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ติดภารกิจไม่สามารถเดินทางมารับหนังสือจากผู้ประกอบการได้ และมอบหมายให้ นายประพันธ์ ขันพระแสง หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการแทน
นายเตวิชโช หิรัญ เจ้าของร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการเดินทางมายืนหนังสือขอความเป็นธรรมจากทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ ว่า เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของทางเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมที่เข้ามาจับกุมสินค้าประเภทหน้ากากโทรศัพท์ ซึ่งได้มีการจับกุมไปแล้ว 2 ราย พร้อมแจ้งข้อกล่าวหา ไม่ติดฉลากสินค้าให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบการเกิดความข้องใจ และกลัวจนไม่กล้าเปิดร้านจำหน่ายสินค้า เพราะไม่รู้ว่ามีสินค้าอะไรบ้างที่เข้าข่ายความผิดดังกล่าว และจากการสอบถามไปยังสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับคำตอบว่า เดิมสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้ายกเว้นการติดฉลากสินค้า แต่ภายหลังภาครัฐได้ประกาศให้มีการคุ้มครองขึ้นมา ซึ่งเรื่องนี้ทางผู้ประกอบการร้านค้าไม่ทราบข้อกฎหมายดังกล่าว เพราะผู้ประกอบการก็เป็นผู้บริโภคที่ซื้อสินค้ามาขายต่อให้แก่ลูกค้า ไม่ได้นำเข้าสินค้ามาเอง และไม่สามารถติดฉลากสินค้าเองได้
การเดินทางมาครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะขอความเป็นธรรมจากทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดยขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ช่วยเป็นคนกลางในการเจรจากับหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาจับกุมร้านค้า ให้มีหนังสือแจ้งเตือน และส่งเจ้าหน้าที่มาอบรมให้ความรู้ข้อกฎหมายแก่ผู้ประกอบการร้านค้าว่าสมควรทำแบบไหนเพื่อให้จำหน่ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่อนปรนการจับกุมออกไปก่อนประมาณ 3 เดือน เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้าจัดทำสินค้าให้ถูกต้องเสียก่อน





เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (20 ก.ย.) ที่ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายมือถือในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ประมาณ 40 คน นำโดย นายเตวิชโช หิรัญ นายบรรเจิด สารวงค์ นางใจดาว ตันฑวรักษ์ และผู้ประกอบการร้านจำหน่ายมือถือในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กรณีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการ 2 กองปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค กองบัญชาการตำรวจ สคบ. เข้าจับกุมร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ และยึดสินค้าหน้ากากโทรศัพท์มือถือที่ทำด้วยพลาสติก พร้อมดำเนินคดีไม่ติดฉลากสินค้าให้ถูกต้องตามความผิดมาตรา 30, 31, 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
อย่างไรก็ตาม การเดินทางมายื่นหนังสือของผู้ประกอบการในครั้งนี้ นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ติดภารกิจไม่สามารถเดินทางมารับหนังสือจากผู้ประกอบการได้ และมอบหมายให้ นายประพันธ์ ขันพระแสง หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการแทน
นายเตวิชโช หิรัญ เจ้าของร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการเดินทางมายืนหนังสือขอความเป็นธรรมจากทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ ว่า เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของทางเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมที่เข้ามาจับกุมสินค้าประเภทหน้ากากโทรศัพท์ ซึ่งได้มีการจับกุมไปแล้ว 2 ราย พร้อมแจ้งข้อกล่าวหา ไม่ติดฉลากสินค้าให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบการเกิดความข้องใจ และกลัวจนไม่กล้าเปิดร้านจำหน่ายสินค้า เพราะไม่รู้ว่ามีสินค้าอะไรบ้างที่เข้าข่ายความผิดดังกล่าว และจากการสอบถามไปยังสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับคำตอบว่า เดิมสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้ายกเว้นการติดฉลากสินค้า แต่ภายหลังภาครัฐได้ประกาศให้มีการคุ้มครองขึ้นมา ซึ่งเรื่องนี้ทางผู้ประกอบการร้านค้าไม่ทราบข้อกฎหมายดังกล่าว เพราะผู้ประกอบการก็เป็นผู้บริโภคที่ซื้อสินค้ามาขายต่อให้แก่ลูกค้า ไม่ได้นำเข้าสินค้ามาเอง และไม่สามารถติดฉลากสินค้าเองได้
การเดินทางมาครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะขอความเป็นธรรมจากทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดยขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ช่วยเป็นคนกลางในการเจรจากับหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาจับกุมร้านค้า ให้มีหนังสือแจ้งเตือน และส่งเจ้าหน้าที่มาอบรมให้ความรู้ข้อกฎหมายแก่ผู้ประกอบการร้านค้าว่าสมควรทำแบบไหนเพื่อให้จำหน่ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่อนปรนการจับกุมออกไปก่อนประมาณ 3 เดือน เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้าจัดทำสินค้าให้ถูกต้องเสียก่อน