ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต แจงแนวทางจัดการศึกษาเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง และได้รับประโยชน์สูงสุด ขณะที่ปัญหายุบชั้นเรียนโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาในพระอุปถัมภ์ เตรียมชี้แจ้งทำความเข้าใจผู้ปกครอง
เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (6 ก.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 3 เทศบาลนครภูเก็ต น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต พร้อมด้วยนายแพทย์โกศล แตงอุทัย รองนายกเทศมนตรี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันชี้แจงถึงแนวทางการจัดการศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งกรณีการออกมาเรียกร้องของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ เกี่ยวกับนโยบายการยุบชั้นเรียนในโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ
ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ น.ส.สมใจ กล่าวว่า การจัดการศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ตในขณะนี้มีโรงเรียนในความรับผิดชอบ จำนวน 7 โรงเรียน มีเด็กนักเรียนประมาณ 10,300 คน จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับศูนย์เด็กเล็ก ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 และจากการศึกษาติดตามข้อมูลพบว่าจำนวนเด็กที่เข้าสู่ศูนย์เด็กเล็ก และระดับอนุบาลเริ่มที่จะมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ สาเหตุที่เด็กเข้ามาในระบบลดน้อยนั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น คนมีลูกน้อยลง รวมทั้งหลายๆ ท้องถิ่นเริ่มที่จะเข้ามาจัดการการศึกษาภายในท้องถิ่นเอง เมื่อมีการจัดการในท้องถิ่นที่ดีขึ้น ผู้ปกครองก็ส่งลูกเข้าเรียนที่โรงเรียนใกล้บ้านแทน ทำให้จำนวนเด็กลดน้อยลงเรื่อยๆ สำหรับเด็กที่เข้าเรียนที่โรงเรียนในความรับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ตพบว่า 50% เป็นเด็กในพื้นที่ และ 50% เป็นเด็กที่มาจากนอกพื้นที่ แต่ในส่วนเด็กมัธยมนั้นพบว่าเริ่มมีจำนวนมากขึ้น
สำหรับเรื่องของการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เด็กมากที่สุดนั้นได้คุยกันมา 5-6 ปีแล้ว เมื่อเด็กในระดับมัธยมมีจำนวนมากขึ้น เด็กที่จบ ป.6 เมื่อจบแล้วจะไปเรียนต่อที่ไหน เด็กที่จบม.3 จะไปเรียนต่อที่ไหน จำนวนเด็กที่จบ ป.6 คิดเป็น 100% พบว่ามีเพียง 40% เท่านั้นที่ไปเรียนในโรงเรียนยอดนิยมได้ เหลืออีก 60% พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นทุกข์จะให้ลูกเรียนต่อที่ไหน จึงต้องมาดูแลเด็กเหล่านี้ให้มีที่เรียน ทางเทศบาลจึงมองเรื่องการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา เพื่อเด็กสามารถศึกษาต่อ และจบแล้วมีงานทำ ซึ่งการจัดการศึกษานั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องเอาเด็กเป็นตัวตั้ง และทุกฝ่ายต้องร่วมกันในการผลักดันเรื่องของการจัดการศึกษาในเดินไปข้างหน้า และจะต้องเริ่มตั้งแต่ตอนนี้
น.ส.สมใจ ยังได้กล่าวต่อไปถึงกรณีการเลือกโรงเรียนปลูกปัญญาในพระอุปถัมภ์ฯ เป็นโรงเรียนที่เข้าไปจัดการเรื่องของการศึกษาในระดับมัธยม ว่า โรงเรียนปลูกปัญญาฯ เป็นโรงเรียนแรกที่ทางเทศบาลจัดให้มีการศึกษาในระดับมัธยม และที่ผ่านมา การการจัดศึกษาก็สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการศึกษามัธยมในโรงเรียนปลูกปัญญาที่จะดำเนินการนั้นไม่ได้ดำเนินการยุบรับชั้นประถมศึกษา แต่จะทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งมีการพูดคุยกันหลายแนวทาง ทั้งระยะ 2-3 ปี ระยะ 6 ปี และระยะ 8 ปี ซึ่งได้มีการหารือร่วมกันหลายหน่วยรวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน สมาคมผู้ปกครอง และทางเทศบาล เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาได้ผล และเป็นประโยชน์แก่ตัวเด็กมากที่สุด รวมทั้งไม่กระทบในส่วนของผู้ปกครอง ซึ่งแนวทางในการดำเนินการนั้นจะเร่งทำความเข้าใจกับผู้ปกครองต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางที่มีความเป็นไปได้ในขณะนี้คิดว่าการยุบชั้นเรียนจะใช้เวลาประมาณ 5-6 ปี ในการดำเนินการค่อยๆ ยุบชั้นเรียนไปแต่ละชั้น ซึ่งจะเริ่มจากไม่รับเด็กชั้นอนุบาล 1 และ ป.1 เข้าเรียน ส่วนเด็กประถมที่เรียนอยู่แล้วจะเลื่อนชั้นไปตามปกติ จนจบ ป.6 นอกจากนั้น ก็จะเริ่มรับเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 ไปด้วย ซึ่งจะทำให้โรงเรียนค่อยๆ ปรับเป็นโรงเรียนมัธยมเต็มรูปแบบ หลังจากนั้น ก็จะมีการสร้างอาคารเพิ่มเติมเพื่อรองรับเด็กที่เพิ่มขึ้น
เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (6 ก.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 3 เทศบาลนครภูเก็ต น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต พร้อมด้วยนายแพทย์โกศล แตงอุทัย รองนายกเทศมนตรี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันชี้แจงถึงแนวทางการจัดการศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งกรณีการออกมาเรียกร้องของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ เกี่ยวกับนโยบายการยุบชั้นเรียนในโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ
ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ น.ส.สมใจ กล่าวว่า การจัดการศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ตในขณะนี้มีโรงเรียนในความรับผิดชอบ จำนวน 7 โรงเรียน มีเด็กนักเรียนประมาณ 10,300 คน จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับศูนย์เด็กเล็ก ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 และจากการศึกษาติดตามข้อมูลพบว่าจำนวนเด็กที่เข้าสู่ศูนย์เด็กเล็ก และระดับอนุบาลเริ่มที่จะมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ สาเหตุที่เด็กเข้ามาในระบบลดน้อยนั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น คนมีลูกน้อยลง รวมทั้งหลายๆ ท้องถิ่นเริ่มที่จะเข้ามาจัดการการศึกษาภายในท้องถิ่นเอง เมื่อมีการจัดการในท้องถิ่นที่ดีขึ้น ผู้ปกครองก็ส่งลูกเข้าเรียนที่โรงเรียนใกล้บ้านแทน ทำให้จำนวนเด็กลดน้อยลงเรื่อยๆ สำหรับเด็กที่เข้าเรียนที่โรงเรียนในความรับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ตพบว่า 50% เป็นเด็กในพื้นที่ และ 50% เป็นเด็กที่มาจากนอกพื้นที่ แต่ในส่วนเด็กมัธยมนั้นพบว่าเริ่มมีจำนวนมากขึ้น
สำหรับเรื่องของการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เด็กมากที่สุดนั้นได้คุยกันมา 5-6 ปีแล้ว เมื่อเด็กในระดับมัธยมมีจำนวนมากขึ้น เด็กที่จบ ป.6 เมื่อจบแล้วจะไปเรียนต่อที่ไหน เด็กที่จบม.3 จะไปเรียนต่อที่ไหน จำนวนเด็กที่จบ ป.6 คิดเป็น 100% พบว่ามีเพียง 40% เท่านั้นที่ไปเรียนในโรงเรียนยอดนิยมได้ เหลืออีก 60% พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นทุกข์จะให้ลูกเรียนต่อที่ไหน จึงต้องมาดูแลเด็กเหล่านี้ให้มีที่เรียน ทางเทศบาลจึงมองเรื่องการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา เพื่อเด็กสามารถศึกษาต่อ และจบแล้วมีงานทำ ซึ่งการจัดการศึกษานั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องเอาเด็กเป็นตัวตั้ง และทุกฝ่ายต้องร่วมกันในการผลักดันเรื่องของการจัดการศึกษาในเดินไปข้างหน้า และจะต้องเริ่มตั้งแต่ตอนนี้
น.ส.สมใจ ยังได้กล่าวต่อไปถึงกรณีการเลือกโรงเรียนปลูกปัญญาในพระอุปถัมภ์ฯ เป็นโรงเรียนที่เข้าไปจัดการเรื่องของการศึกษาในระดับมัธยม ว่า โรงเรียนปลูกปัญญาฯ เป็นโรงเรียนแรกที่ทางเทศบาลจัดให้มีการศึกษาในระดับมัธยม และที่ผ่านมา การการจัดศึกษาก็สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการศึกษามัธยมในโรงเรียนปลูกปัญญาที่จะดำเนินการนั้นไม่ได้ดำเนินการยุบรับชั้นประถมศึกษา แต่จะทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งมีการพูดคุยกันหลายแนวทาง ทั้งระยะ 2-3 ปี ระยะ 6 ปี และระยะ 8 ปี ซึ่งได้มีการหารือร่วมกันหลายหน่วยรวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน สมาคมผู้ปกครอง และทางเทศบาล เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาได้ผล และเป็นประโยชน์แก่ตัวเด็กมากที่สุด รวมทั้งไม่กระทบในส่วนของผู้ปกครอง ซึ่งแนวทางในการดำเนินการนั้นจะเร่งทำความเข้าใจกับผู้ปกครองต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางที่มีความเป็นไปได้ในขณะนี้คิดว่าการยุบชั้นเรียนจะใช้เวลาประมาณ 5-6 ปี ในการดำเนินการค่อยๆ ยุบชั้นเรียนไปแต่ละชั้น ซึ่งจะเริ่มจากไม่รับเด็กชั้นอนุบาล 1 และ ป.1 เข้าเรียน ส่วนเด็กประถมที่เรียนอยู่แล้วจะเลื่อนชั้นไปตามปกติ จนจบ ป.6 นอกจากนั้น ก็จะเริ่มรับเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 1 ไปด้วย ซึ่งจะทำให้โรงเรียนค่อยๆ ปรับเป็นโรงเรียนมัธยมเต็มรูปแบบ หลังจากนั้น ก็จะมีการสร้างอาคารเพิ่มเติมเพื่อรองรับเด็กที่เพิ่มขึ้น