ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่ภูเก็ต ตรวจความพร้อมแผนจัดตั้ง “ทูน่า ฮับ” รองรับ AEC ดีเดย์ 1 กันยายนนี้ เริ่มพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสัตว์น้ำครบวงจร ก่อนที่จะส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวควบคู่กันไป
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (29 ส.ค.) นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ร่วมตรวจเยี่ยมท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต องค์การสะพานปลา ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต พร้อมฟังบรรยายสรุปแผนการดำเนินการจัดตั้ง “ทูน่า ฮับ” ที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต โดยนายประมวล รักษ์ใจ รองผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา เป็นผู้บรรยายสรุป และมี นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พ.ต.อ.เสน่ห์ ยาวิละ รอง ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต นายสมเพียร ชโลธร หัวหน้าสำนักงานท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต และผู้เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ
นายประมวล รักษ์ใจ รองผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา กล่าวถึงแผนการจัดตั้ง ทูน่า ฮับ ที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายปลาทูน่าสำหรับกองเรือประมงเบ็ดราว การขนส่งปลาทูน่าแช่แข็ง และการแปรรูปปลาทูน่าของภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก ว่า สำหรับท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต องค์การสะพานปลา ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 และปัจจุบัน เป็นท่าเทียบเรือประมงที่ได้รับการรับรองด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมง จากกรมประมง มีเรือประมงในประเทศที่เข้ามาขนถ่ายสัตว์น้ำ ประกอบด้วย เรือประมงอวนล้อมจับ เรือประมงอวนลาก เรือประมงอวนลากปลากะตัก และไดหมึก รวมร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 เป็นเรือประมงเบ็ดราวจากต่างประเทศ สำหรับสัตว์น้ำที่ขนถ่ายผ่านท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ประกอบด้วย ปลาทู ปลาลัง ปลาทูแขก ปลาเบญจพรรณอื่นๆ ปลาทูน่า กุ้ง ปลาหมึก ปลากะตัก ในปี 2555 มีปริมาณสัตว์น้ำรวม 29,581 ตัน มูลค่า 1,828,757,320 บาท
ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มีศักยภาพในการพัฒนา และจัดตั้งเป็น ทูน่า ฮับ ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออกได้ เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือประมงความยาว 500 เมตร สำหรับเรือประมงเบ็ดราวทูน่า ทั้งเรือประมงเบ็ดราวทู่น่าแช่เย็น และเรือประมงเบ็ดราวทูน่าแช่แข็ง มีห้องเย็นขนาด 600 ตัน พร้อมโรงผลิตน้ำแข็งวันละ 1,600 ซอง อู่ซ่อมแซมเรือประมงที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนพื้นที่สำหรับจัดตั้งเป็นโรงงานแปรรูปปลาทูน่า ซึ่งมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นเขตส่งเสริมการส่งออกได้
โดยในการดำเนินงานเพื่อพัฒนา และจัดตั้ง ทูน่า ฮับ ที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป โดยดำเนินการในเรื่องการขุดลอกบริเวณด้านหน้าท่าเทียบเรือประมง ความลึกประมาณ 4 เมตร โดยได้รับงบประมาณ ประจำปี 2557 จำนวน 8,280,000 บาท บริหารจัดการพื้นที่ท่าเทียบเรือประมง โดยจัดแบ่งพื้นที่ให้เป็นเขตพื้นที่ขนถ่ายปลาทูน่าแยกจากพื้นที่ขนถ่ายสัตว์น้ำทั่วไป จัดบุคลากรควบคุมดูแลการเข้าจอดเทียบท่าและการขนถ่ายปลาทูน่า จัดเตรียมพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นเขตก่อสร้างโรงงานแปรรูปปลาทูน่า โดยให้เอกชนเข้ามาดำเนินการบริหารจัดการโรงงาน และการก่อสร้างอาคารโรงประมูลปลาทูน่าบริเวณท่าเทียบเรือประมง พร้อมติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการผลิต การตลาด ปลาทูน่า โดยการนำเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2558
นอกจากนี้ จะมีการประสานกรมประมงในการดำเนินการเรื่องของการจัดตั้งระบบ Port State Measure ขึ้นที่ท่าเทียบเรือฯ โดยดำเนินการร่วมกับองค์การอาหารเพื่อเกษตรแห่งสหประชาชาติ กรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งกองเรือประมงเบ็ดราวปลาทูน่าที่เป็นเรือประมงสัญชาติไทย โดยการสนับสนุนให้ภาคเอกชนนำเข้า หรือแปลงสัญชาติเรือจากต่างประเทศเป็นเรือสัญชาติไทย และจะมีการบูรณาการหน่วยงานของกรมประมงที่เกี่ยวข้องในการนำเข้า และส่งออกปลาทูน่าที่จังหวัดภูเก็ต รวมถึงจะมีการประสานหน่วยงานต่างๆ ในการจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายศุลกากร และการจัดตั้งเขตปลอดอากร
ในการดำเนินงานจัดตั้งเป็น ทูน่า ฮับ ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในการพัฒนาการทำประมงปลาทูน่า และการตลาดปลาทูน่าในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับการเปิดประตูสู่ AEC ของภูมิภาค เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และเป็นการผลักดันให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางด้านการประมงของภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย
ขณะที่ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยม ว่า ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องเร่งบูรณาการ และส่งเสริมศักยภาพในด้านต่างๆ ในการผลักดันให้ท่าเทียบเรือดังกล่าวเป็นศูนย์กลาง ทูน่า ฮับ ของประเทศ รองรับการเปิดประชาคมอาเซียนที่จะถึง โดยเบื้องต้น ต้องพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสัตว์น้ำที่ครบวงจร ก่อนที่จะส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไป ซึ่งท่าเทียบเรือภูเก็ตจะเป็นแห่งแรกของประเทศในการผลักดันเรื่องดังกล่าว ส่วนท่าเทียบเรือประมง และองค์การสะพานปลาในจังหวัดต่างๆ ก็มีแผนที่จะผลักดันให้เป็นแหล่งซีฟูด ฮับ ในระดับภูมิภาค รวมทั้งจะต่อยอดจนถึงระดับสากลต่อไป
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (29 ส.ค.) นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ร่วมตรวจเยี่ยมท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต องค์การสะพานปลา ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต พร้อมฟังบรรยายสรุปแผนการดำเนินการจัดตั้ง “ทูน่า ฮับ” ที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต โดยนายประมวล รักษ์ใจ รองผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา เป็นผู้บรรยายสรุป และมี นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พ.ต.อ.เสน่ห์ ยาวิละ รอง ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต นายสมเพียร ชโลธร หัวหน้าสำนักงานท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต และผู้เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ
นายประมวล รักษ์ใจ รองผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา กล่าวถึงแผนการจัดตั้ง ทูน่า ฮับ ที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายปลาทูน่าสำหรับกองเรือประมงเบ็ดราว การขนส่งปลาทูน่าแช่แข็ง และการแปรรูปปลาทูน่าของภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก ว่า สำหรับท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต องค์การสะพานปลา ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 และปัจจุบัน เป็นท่าเทียบเรือประมงที่ได้รับการรับรองด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมง จากกรมประมง มีเรือประมงในประเทศที่เข้ามาขนถ่ายสัตว์น้ำ ประกอบด้วย เรือประมงอวนล้อมจับ เรือประมงอวนลาก เรือประมงอวนลากปลากะตัก และไดหมึก รวมร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 เป็นเรือประมงเบ็ดราวจากต่างประเทศ สำหรับสัตว์น้ำที่ขนถ่ายผ่านท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ประกอบด้วย ปลาทู ปลาลัง ปลาทูแขก ปลาเบญจพรรณอื่นๆ ปลาทูน่า กุ้ง ปลาหมึก ปลากะตัก ในปี 2555 มีปริมาณสัตว์น้ำรวม 29,581 ตัน มูลค่า 1,828,757,320 บาท
ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต มีศักยภาพในการพัฒนา และจัดตั้งเป็น ทูน่า ฮับ ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออกได้ เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือประมงความยาว 500 เมตร สำหรับเรือประมงเบ็ดราวทูน่า ทั้งเรือประมงเบ็ดราวทู่น่าแช่เย็น และเรือประมงเบ็ดราวทูน่าแช่แข็ง มีห้องเย็นขนาด 600 ตัน พร้อมโรงผลิตน้ำแข็งวันละ 1,600 ซอง อู่ซ่อมแซมเรือประมงที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนพื้นที่สำหรับจัดตั้งเป็นโรงงานแปรรูปปลาทูน่า ซึ่งมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นเขตส่งเสริมการส่งออกได้
โดยในการดำเนินงานเพื่อพัฒนา และจัดตั้ง ทูน่า ฮับ ที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป โดยดำเนินการในเรื่องการขุดลอกบริเวณด้านหน้าท่าเทียบเรือประมง ความลึกประมาณ 4 เมตร โดยได้รับงบประมาณ ประจำปี 2557 จำนวน 8,280,000 บาท บริหารจัดการพื้นที่ท่าเทียบเรือประมง โดยจัดแบ่งพื้นที่ให้เป็นเขตพื้นที่ขนถ่ายปลาทูน่าแยกจากพื้นที่ขนถ่ายสัตว์น้ำทั่วไป จัดบุคลากรควบคุมดูแลการเข้าจอดเทียบท่าและการขนถ่ายปลาทูน่า จัดเตรียมพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นเขตก่อสร้างโรงงานแปรรูปปลาทูน่า โดยให้เอกชนเข้ามาดำเนินการบริหารจัดการโรงงาน และการก่อสร้างอาคารโรงประมูลปลาทูน่าบริเวณท่าเทียบเรือประมง พร้อมติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการผลิต การตลาด ปลาทูน่า โดยการนำเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2558
นอกจากนี้ จะมีการประสานกรมประมงในการดำเนินการเรื่องของการจัดตั้งระบบ Port State Measure ขึ้นที่ท่าเทียบเรือฯ โดยดำเนินการร่วมกับองค์การอาหารเพื่อเกษตรแห่งสหประชาชาติ กรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งกองเรือประมงเบ็ดราวปลาทูน่าที่เป็นเรือประมงสัญชาติไทย โดยการสนับสนุนให้ภาคเอกชนนำเข้า หรือแปลงสัญชาติเรือจากต่างประเทศเป็นเรือสัญชาติไทย และจะมีการบูรณาการหน่วยงานของกรมประมงที่เกี่ยวข้องในการนำเข้า และส่งออกปลาทูน่าที่จังหวัดภูเก็ต รวมถึงจะมีการประสานหน่วยงานต่างๆ ในการจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายศุลกากร และการจัดตั้งเขตปลอดอากร
ในการดำเนินงานจัดตั้งเป็น ทูน่า ฮับ ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในการพัฒนาการทำประมงปลาทูน่า และการตลาดปลาทูน่าในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับการเปิดประตูสู่ AEC ของภูมิภาค เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และเป็นการผลักดันให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางด้านการประมงของภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย
ขณะที่ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยม ว่า ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องเร่งบูรณาการ และส่งเสริมศักยภาพในด้านต่างๆ ในการผลักดันให้ท่าเทียบเรือดังกล่าวเป็นศูนย์กลาง ทูน่า ฮับ ของประเทศ รองรับการเปิดประชาคมอาเซียนที่จะถึง โดยเบื้องต้น ต้องพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสัตว์น้ำที่ครบวงจร ก่อนที่จะส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไป ซึ่งท่าเทียบเรือภูเก็ตจะเป็นแห่งแรกของประเทศในการผลักดันเรื่องดังกล่าว ส่วนท่าเทียบเรือประมง และองค์การสะพานปลาในจังหวัดต่างๆ ก็มีแผนที่จะผลักดันให้เป็นแหล่งซีฟูด ฮับ ในระดับภูมิภาค รวมทั้งจะต่อยอดจนถึงระดับสากลต่อไป