ส.อ.ท.เตรียมเสนอ 3 มาตรการเพิ่มเติมกระตุ้นเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังเหตุ 20มาตรการรัฐที่คลอดออกมาไม่มีอะไรใหม่ แถมเป็นแนวทางระยะกลางและยาว หวั่นเอาไม่อยู่! แนะให้เร่งการค้าชายแดนเพื่อนบ้านง่ายๆ ดีกว่าไปมุ่งตลาดใหม่ที่ยาก ลดเงินสมทบประกันสังคมเหลือฝ่ายละ 2% ลดภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ดูแลส่งออกและแรงซื้อคนไทยที่เริ่มแผ่วหนัก
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ส.อ.ท.ได้หารือถึงมาตรการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ 4 ด้าน รวม 20 มาตรการที่ได้ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อ 13 ส.ค. 56 ซึ่งเห็นว่ามาตรการดังกล่าวเป็นการดูแลเศรษฐกิจระยะกลางและยาวและมาตรการหลายอย่างได้ดำเนินการอยู่แล้ว ดังนั้นจึงเตรียมเสนอมาตรการเพิ่มเติม 3 เรื่องต่อภาครัฐ เพื่อกระตุ้นการส่งออกและแรงซื้อในประเทศเพื่อดูแลเศรษฐกิจครึ่งปีหลังที่ ส.อ.ท.ประเมินว่าจะได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับ 3 แนวทางเพิ่มเติมจากมาตรการรัฐ ได้แก่ 1. การเพิ่มการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งจะสามารถสร้างเม็ดเงินได้มากถึง 2 ล้านล้านบาทในอีก 2-3 ปีข้างหน้าจากปัจจุบันอยู่ที่ 9 แสนกว่าล้านบาท โดยมีแนวทางดังนี้ เร่งรัดการเปิดด่านศุลกากรให้เป็นถ่านถาวรทั้งหมดทีมีอยู่กว่า 30 ด่านจากปัจจุบันที่มีด่านถาวรเพียง 18 ด่าน ร่วมมือกับเพื่อนบ้านในการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทั้งกัมพูชา ลาว พม่า และมาเลเซีย เพื่อขยายการค้าเข้าไปยังเมืองต่างๆ ของประเทศเหล่านี้แทนที่จะกระจุกตัวเฉพาะชายแดน
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรเร่งรัดการเจรจาและผลักดันในการส่งเสริมการค้าของไทยกับเพื่อนบ้านให้เป็นสกุลเงินบาทอย่างเป็นทางการ ปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อนบ้านโดยภาครัฐของไทยอาจสนับสนุนวงเงินช่วยเหลือ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ผลักดันการจับคู่ธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้รู้จักสินค้าไทยมากขึ้น และการผลักดันการค้าชายแดนสู่เขตปลอดอากร หรือ Free Zone
“เวลานี้ค้าชายแดนไทยเรากระจุกตัวแค่รอยตะเข็บยังมีมูลค่าสูงแล้วถ้าเราเชื่อมโยงไปสู่เมืองต่างๆ การค้าเราจะขยายตัวได้มากและมาตรการก็ทำง่ายๆ ผมคิดว่าดีกว่าเราจะเหนื่อยไปทำตลาดที่ยากๆ อย่างแอฟริกา ตะวันออกกลางอะไรนั่นอีกยิ่งเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ไทยมีความได้เปรียบอยู่แล้วแต่ถ้าอยู่เฉยๆ เราก็คงเสียเปรียบคนอื่น” นายวัลลภกล่าว
สำหรับมาตรการที่ 2 ได้แก่ การลดเงินสมทบประกันสังคมที่ปัจจุบันจะลดให้ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างฝ่ายละ 4% ลงให้เหลือฝ่ายละ 2% เพื่อช่วยเหลือด้านต้นทุนของภาคการส่งออกและการผลิตที่จะรวมไปถึงการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคแรงงานไปพร้อมๆ กันในช่วงที่ต้นทุนการผลิตเอกชนที่สูงขึ้น และแรงซื้อที่ลดต่ำ โดยสามารถกำหนดระยะเวลาสั้นๆ เช่น 1 ปีก่อน ส่วนมาตรการที่ 3 คือ การลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งขณะนี้ภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% ดังนั้นควรจะปรับลดลงได้เหลือ 1% จาก 3% ในขณะ