ยะลา - เลขาธิการ ศอ.บต. เผยภายหลังเดินทางไปประเทศปากีสถาน พบปะกลุ่มประเทศมุสลิม ยันแก้ปัญหายึดหลักกฎหมาย และสันติวิธี พร้อมระบุ ครู-อุสตาซ เป็นบุคคลสร้างอนาคต ไม่มีความขัดแย้งกับใคร
เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (22 ส.ค.) ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า กรณีเหตุความรุนแรงในพื้นที่โดยเฉพาะการลอบยิงครู และอุสตาซนั้น หน่วยงานของรัฐก็ให้ความสำคัญโดยเฉพาะบุคลากรด้านการศึกษาไม่ว่าจะเป็นครูไทยพุทธ หรือครูไทยมุสลิม เพราะกลุ่มคนเหล่านี้เป็นบุคคลที่มาสร้างอนาคต ไม่ได้มีความขัดแย้งอะไรกับใคร และเป็นหน้าที่โดยตรงที่หน่วยงานจะต้องไปคุ้มครอง อย่างไรก็ตาม ก็คงจะต้องเรียกร้องให้เครือข่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแลด้วย การสูญเสียในแต่ละครั้งเป็นความเจ็บปวด ไม่ใช่เจ็บปวดแค่ภายในครอบครัว ทุกคนมีความเจ็บปวดเหมือนกัน และที่สำคัญ บุคลากรครูไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทั้งสิ้น จะต้องดูแลและคุ้มครองให้เข้มข้นขึ้นทั้งคุณภาพชีวิต และด้านคุณภาพการศึกษา รวมถึงลดความขัดแย้ง
“ส่วนกรณีการเดินทางไปประเทศปากีสถาน เพื่อพบปะตัวแทนโลกมุสลิมเมื่อวันที่ 19-21 ส.ค 56 ที่ผ่านมานั้น เป็นการเดินทางไปเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาในเรื่องของการศึกษา เนื่องจากพี่น้องประชาชนชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนมาก เดินทางไปศึกษาต่อตามประเทศต่างๆ ในโลกมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา สังคม เทคโนโลยี การไปพบปะก็ได้รับฟังปัญหาของนักเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และทำความเข้าใจว่าประเทศไทยของเรายึดกฎหมาย ยึดสันติวิธี เป็นหลัก ส่วนกรณีการให้คำแนะนำจากโลกมุสลิมในการแก้ปัญหานั้น เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันมากกว่า รวมทั้งแลกเปลี่ยนความร่วมมือกัน เพราะทุกประเทศต้องการให้มีความสงบ” เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว
เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (22 ส.ค.) ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า กรณีเหตุความรุนแรงในพื้นที่โดยเฉพาะการลอบยิงครู และอุสตาซนั้น หน่วยงานของรัฐก็ให้ความสำคัญโดยเฉพาะบุคลากรด้านการศึกษาไม่ว่าจะเป็นครูไทยพุทธ หรือครูไทยมุสลิม เพราะกลุ่มคนเหล่านี้เป็นบุคคลที่มาสร้างอนาคต ไม่ได้มีความขัดแย้งอะไรกับใคร และเป็นหน้าที่โดยตรงที่หน่วยงานจะต้องไปคุ้มครอง อย่างไรก็ตาม ก็คงจะต้องเรียกร้องให้เครือข่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแลด้วย การสูญเสียในแต่ละครั้งเป็นความเจ็บปวด ไม่ใช่เจ็บปวดแค่ภายในครอบครัว ทุกคนมีความเจ็บปวดเหมือนกัน และที่สำคัญ บุคลากรครูไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทั้งสิ้น จะต้องดูแลและคุ้มครองให้เข้มข้นขึ้นทั้งคุณภาพชีวิต และด้านคุณภาพการศึกษา รวมถึงลดความขัดแย้ง
“ส่วนกรณีการเดินทางไปประเทศปากีสถาน เพื่อพบปะตัวแทนโลกมุสลิมเมื่อวันที่ 19-21 ส.ค 56 ที่ผ่านมานั้น เป็นการเดินทางไปเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาในเรื่องของการศึกษา เนื่องจากพี่น้องประชาชนชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนมาก เดินทางไปศึกษาต่อตามประเทศต่างๆ ในโลกมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา สังคม เทคโนโลยี การไปพบปะก็ได้รับฟังปัญหาของนักเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และทำความเข้าใจว่าประเทศไทยของเรายึดกฎหมาย ยึดสันติวิธี เป็นหลัก ส่วนกรณีการให้คำแนะนำจากโลกมุสลิมในการแก้ปัญหานั้น เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันมากกว่า รวมทั้งแลกเปลี่ยนความร่วมมือกัน เพราะทุกประเทศต้องการให้มีความสงบ” เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว