ระนอง - ประมงระนอง เตรียมพร้อมสู่ AEC ระดมสมองวางแนวทางพัฒนาความร่วมมือด้านการประมง และสินค้าประมงระหว่างประเทศไทยกัประเทศเพื่อนบ้าน ลดอุปสรรคการค้า มั่นใจตลาดอาเซียนมีศักยภาพสูง
วันนี้ (22 ส.ค.) ที่โรงแรมไอเฟลอินน์ระนอง นายพงศ์พัฒน์ บุญชูวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการประมง เป็นประธานพิธีเปิดโครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาความร่วมมือการประมง และสินค้าประมงของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีศุลกากรระนอง หอการค้าจังหวัดระนอง พาณิชย์จังหวัดระนอง ผู้ประกอบการ นำเข้าส่งออกสินค้าประมง และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับภาคประมง เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 70 คน
นายพงศ์พัฒน์ บุญชูวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการประมง กรมประมง เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมประมง เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศ โดยในแต่ละปีสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 200,000 ล้านบาท ปัจจุบัน อุตสาหกรรมประมงมีการเจริญเติบโตที่ลดลง ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ ทั้งอินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา และเวียดนาม อีกทั้งวัตถุดิบที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้ผลิต และส่งออกสินค้าสัตว์น้ำรายใหญ่ของโลก โดยปี พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนประมาณ 296,625 ตัน คิดเป็นมูลค่า 14,532 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของไทยทั้งหมดมูลค่า 264,775 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน มีการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน 423,601 ตัน คิดเป็นมูลค่า 17,294 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบสัตว์น้ำจากอินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นร้อยละ 12 ของปริมาณสินค้าสัตว์น้ำที่ไทยนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่มีความสำคัญ และมีศักยภาพสูง แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าประมงของประเทศไทยไปขายยังต่างประเทศก็ยังคงประสบกับปัญหานานัปการ เช่น การคมนาคมขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน ระบบลอจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่พร้อมทำให้ไม่สะดวกในการขนส่ง การนำมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีมาใช้ กฎระเบียบในบางประเทศที่กำหนด โดยหน่วยงานกำกับดูแลในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นอาจจะแตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศทั้งสิ้น
จากสถานการณ์ดังกล่าว กรมประมงซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยมีเป้าหมายหลักที่จะสนับสนุนให้สินค้า และผลิตภัณฑ์ประมง รวมถึงภาคการผลิตทุกระดับได้รับมาตรฐาน และคุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความเป็นเลิศเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขัน จึงได้จัดทำ “โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาความร่วมมือการประมง และการค้าสินค้าประมงของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” ขึ้น เพื่อระดมความเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขการค้าสินค้าประมงของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนความร่วมมือต่างๆ ทางด้านการประมง และด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการเตรียมความพร้อม และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคการประมง ภาคเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันทางด้านการค้าของประเทศในการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน
วันนี้ (22 ส.ค.) ที่โรงแรมไอเฟลอินน์ระนอง นายพงศ์พัฒน์ บุญชูวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการประมง เป็นประธานพิธีเปิดโครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาความร่วมมือการประมง และสินค้าประมงของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีศุลกากรระนอง หอการค้าจังหวัดระนอง พาณิชย์จังหวัดระนอง ผู้ประกอบการ นำเข้าส่งออกสินค้าประมง และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับภาคประมง เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 70 คน
นายพงศ์พัฒน์ บุญชูวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการประมง กรมประมง เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมประมง เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศ โดยในแต่ละปีสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 200,000 ล้านบาท ปัจจุบัน อุตสาหกรรมประมงมีการเจริญเติบโตที่ลดลง ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ ทั้งอินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา และเวียดนาม อีกทั้งวัตถุดิบที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้ผลิต และส่งออกสินค้าสัตว์น้ำรายใหญ่ของโลก โดยปี พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนประมาณ 296,625 ตัน คิดเป็นมูลค่า 14,532 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของไทยทั้งหมดมูลค่า 264,775 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน มีการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน 423,601 ตัน คิดเป็นมูลค่า 17,294 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบสัตว์น้ำจากอินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นร้อยละ 12 ของปริมาณสินค้าสัตว์น้ำที่ไทยนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่มีความสำคัญ และมีศักยภาพสูง แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าประมงของประเทศไทยไปขายยังต่างประเทศก็ยังคงประสบกับปัญหานานัปการ เช่น การคมนาคมขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน ระบบลอจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่พร้อมทำให้ไม่สะดวกในการขนส่ง การนำมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีมาใช้ กฎระเบียบในบางประเทศที่กำหนด โดยหน่วยงานกำกับดูแลในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นอาจจะแตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศทั้งสิ้น
จากสถานการณ์ดังกล่าว กรมประมงซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยมีเป้าหมายหลักที่จะสนับสนุนให้สินค้า และผลิตภัณฑ์ประมง รวมถึงภาคการผลิตทุกระดับได้รับมาตรฐาน และคุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความเป็นเลิศเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขัน จึงได้จัดทำ “โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาความร่วมมือการประมง และการค้าสินค้าประมงของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน” ขึ้น เพื่อระดมความเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขการค้าสินค้าประมงของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนความร่วมมือต่างๆ ทางด้านการประมง และด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการเตรียมความพร้อม และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคการประมง ภาคเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันทางด้านการค้าของประเทศในการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน