ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศาลแรงงานภาค 8 จัดอบรมพัฒนางานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้แก่ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ไกล่เกลี่ย เพื่อให้สามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่คู่ความ และประชาชนอย่างสูงสุด
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (20 ส.ค.) ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายทนงศักดิ์ เที่ยงสุทธิกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานภาค 8 เป็นประธานในพิธีเปิดอบรมโครงการการพัฒนางานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทศาลแรงงานภาค 8 ซึ่งศาลแรงงานภาค 8 จัดขึ้น มีนายนพพร โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยตรง เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม ซึ่งเป็นผู้พิพากษาสมทบ และผู้ไกล่เกลี่ยประจำศาล รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
นายสุนาวิน สุรียพรรณ เลขานุการศาลแรงงานภาค 8 กล่าวว่า สำหรับการจัดอบรมโครงการการพัฒนางานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทศาลแรงงานภาค 8 ในวันนี้ สืบเนื่องจากศาลแรงงานภาค 8 เป็นศาลชำนาญพิเศษ ที่มีลักษณะการพิจารณาคดีแตกต่างไปจากคดีแพ่งทั่วไป และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อโจทก์ และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ให้ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกัน ด้วยเหตุที่คดีแรงงานมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์กันต่อไป” ดังนั้น ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบ และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยประจำศาลแรงงานภาค 8 ซึ่งทำหน้าที่ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ควรได้รับการพัฒนา และเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ทางด้านการพัฒนางานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อสามารถนำความรู้ และเทคนิคต่างๆ ที่ได้รับนำไปปฏิบัติหน้าที่อันจะส่งผลให้การพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
ด้านนายทนงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลถือเป็นนโยบายของศาลยุติธรรมที่เปิดโอกาสให้คู่ความได้มีโอกาสเจรจายุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ความให้สามารถยุติข้อพิพาท ก่อให้เกิดความพึงพอใจของคู่ความทั้งสองฝ่าย อันเป็นการลดการขัดแย้งของคู่ความและสังคม โดยเฉพาะศาลแรงงานเป็นศาลชำนาญพิเศษที่คุ้มครองสิทธิ และหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง องค์กรของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง เพื่อให้การจ้างงาน การใช้แรงงาน การประกอบกิจการ และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สังคมและประเทศชาติ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผู้ที่เข้ารับการอบรมในวันนี้จะสามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อก่อประโยชน์แก่คู่ความ และประชาชนอย่างสูงสุด
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (20 ส.ค.) ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายทนงศักดิ์ เที่ยงสุทธิกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานภาค 8 เป็นประธานในพิธีเปิดอบรมโครงการการพัฒนางานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทศาลแรงงานภาค 8 ซึ่งศาลแรงงานภาค 8 จัดขึ้น มีนายนพพร โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยตรง เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม ซึ่งเป็นผู้พิพากษาสมทบ และผู้ไกล่เกลี่ยประจำศาล รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
นายสุนาวิน สุรียพรรณ เลขานุการศาลแรงงานภาค 8 กล่าวว่า สำหรับการจัดอบรมโครงการการพัฒนางานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทศาลแรงงานภาค 8 ในวันนี้ สืบเนื่องจากศาลแรงงานภาค 8 เป็นศาลชำนาญพิเศษ ที่มีลักษณะการพิจารณาคดีแตกต่างไปจากคดีแพ่งทั่วไป และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อโจทก์ และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ให้ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกัน ด้วยเหตุที่คดีแรงงานมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์กันต่อไป” ดังนั้น ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบ และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยประจำศาลแรงงานภาค 8 ซึ่งทำหน้าที่ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ควรได้รับการพัฒนา และเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ทางด้านการพัฒนางานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อสามารถนำความรู้ และเทคนิคต่างๆ ที่ได้รับนำไปปฏิบัติหน้าที่อันจะส่งผลให้การพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
ด้านนายทนงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลถือเป็นนโยบายของศาลยุติธรรมที่เปิดโอกาสให้คู่ความได้มีโอกาสเจรจายุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ความให้สามารถยุติข้อพิพาท ก่อให้เกิดความพึงพอใจของคู่ความทั้งสองฝ่าย อันเป็นการลดการขัดแย้งของคู่ความและสังคม โดยเฉพาะศาลแรงงานเป็นศาลชำนาญพิเศษที่คุ้มครองสิทธิ และหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง องค์กรของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง เพื่อให้การจ้างงาน การใช้แรงงาน การประกอบกิจการ และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สังคมและประเทศชาติ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผู้ที่เข้ารับการอบรมในวันนี้จะสามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อก่อประโยชน์แก่คู่ความ และประชาชนอย่างสูงสุด