ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศาลจังหวัดภูเก็ต-ศาลแรงงานภาค 8 เปิดโครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์” มั่นใจลดคดีขึ้นสู่ศาล เผยเฉพาะศาลจังหวัดภูเก็ตมีคดีเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย และประนีประนอมข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งมีมากกว่า 1,400 คดี ไกล่เกลี่ยสำเร็จกว่า 80% มูลค่าทุนทรัพย์ที่ไกล่เกลี่ยสำเร็จกว่า 920 ล้านบาท
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (1 ก.ค.) ที่ศาลจังหวัดภูเก็ต นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นประธานเปิดโครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์” ซึ่งศาลจังหวัดภูเก็ต จัดขึ้น มีนายปริญญา เชาวลิตถวิล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต นายณัฐพงศ์ จริตงาม ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชน และครอบครัวจังหวัดภูเก็ต คณะผู้ประนีประนอมประจำศาล รวมถึงแขกผู้มีเกียรติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ซึ่งนายปริญญา เชาวลิตถวิล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การจัดโครงการดังกล่าวนั้นจัดขึ้นทั่วประเทศ เพื่อเป็นการสอดรับนโยบายสำนักงานศาลยุติธรรม ในการส่งเสริมสนับสนุนการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยเฉพาะด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการสมานฉันท์และสันติวิธี เพื่อให้คู่ความได้มีโอกาสเลือกใช้ควบคู่กับการพิจารณาคดีของศาลในการยุติคดี หรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
ศาลจังหวัดภูเก็ต จึงได้จัดโครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์” ขึ้นในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ความในการยุติข้อพิพาท โดยการระงับข้อพิพาททางเลือก เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในสังคม ก่อให้เกิดความปรองดอง และสมานฉันท์ รู้รักสามัคคี และมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ให้ประชาชนผู้มีอรรถคดีในศาลได้มีทางเลือกในการยุติข้อพิพาทด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่ศาล หรือเข้าสู่การพิจารณาสืบพยาน และตัดสินคดี
ด้านนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8 กล่าวว่า ด้วยศาลมีบุคลากรรองรับไม่เพียงพอที่จะรองรับคดีที่เข้าสู่ศาล และด้วยปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งมีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทำให้มีคดีเข้าสู่ศาลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การจัดไกล่เกลี่ยให้แก่คู่กรณีที่พิพาทกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างมากแก่ชุมชน สามารถทำได้รวดเร็ว ช่วยลด หรือยุติความขัดแย้งทำให้คู่กรณีสามารถเจรจายุติความขัดแย้งซึ่งกันและกัน ไม่มีใครแพ้ ไม่มีใครชนะ ลดคำว่าศักดิ์ศรีลงไปได้มาก นี่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถ้าเราทำให้คู่พิพาทเข้าสู่การไกล่เกลี่ยได้มากเท่าไหร่ ประโยชน์ต่อประชาชนก็จะมีมาก
โดยในปี 2556 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน 2556 มีคดีแพ่งเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย 1,449 คดี สามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ 418 คดี ซึ่งคิดเป็น 81.8% มูลค่าทุนทรัพย์กว่า 920 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนคดีดังกล่าว มีการจำหน่ายคดีก่อนที่จะเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย จำนวน 778 คดี สำหรับการดำเนินโครงการไกล่เกลี่ยในส่วนของจังหวัดภูเก็ตถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการจัดโครงการไกล่เกลี่ยคดีก่อนที่จะนำสู่ศาล เพราะการเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยทำให้คดีความต่างๆ ที่จะขึ้นสู่ศาลมีจำนวนลดลง
อย่างไรก็ตาม สำหรับคดีที่เข้าสู่ศาลปัจจุบันขณะนี้มีกว่า 10,000 คดี ด้วยภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว เมืองเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางธุรกิจจึงมีสูง คดีที่เข้าสู่ศาลมากที่สุดเป็นคดีแพ่ง เกี่ยวกับที่ดิน โดยเฉพาะคดีบุกรุกที่สาธารณะ ประมาณ 50% และเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติดอีกประมาณ 50% และปัจจุบันพบว่า แนวโน้มของคดีที่จะขึ้นสู่ศาลมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดโครงการไกล่เกลี่ยจึงเป็นส่วนหนึ่งในการเข้ามาเป็นตัวเสริมทำให้คดีที่เกิดขึ้นจบเร็วขึ้น และลดจำนวนคดีที่จะขึ้นสู่ศาลจังหวัดภูเก็ต
อย่างไรก็ตาม นอกจากศาลจังหวัดภูเก็ตจะจัดโครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์” แล้ว วันเดียวกัน ศาลแรงงานภาค 8 ได้จัดให้มีโครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ย ประจำปี 2556” ขึ้นด้วยเช่นกัน ที่บริเวณศาลแรงงานภาค 8 โดยมีนายสมศักดิ์ ขวัญแก้ว อธิบดีศาลแรงงานภาค 8 เป็นประธานเปิดโครงการ และมีนายสุนาวิน สุรียพรรณ เลขานุการศาลแรงงานภาค 8 และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพื่อระงับข้อพิพาททางเลือก โดยเฉพาะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการสมานฉันท์และสันติวิธี เพื่อให้คู่ความได้มีโอกาสเจรจายุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง เป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ความให้สามารถยุติข้อพิพาท ก่อให้เกิดความพึงพอใจของคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (1 ก.ค.) ที่ศาลจังหวัดภูเก็ต นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นประธานเปิดโครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์” ซึ่งศาลจังหวัดภูเก็ต จัดขึ้น มีนายปริญญา เชาวลิตถวิล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต นายณัฐพงศ์ จริตงาม ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชน และครอบครัวจังหวัดภูเก็ต คณะผู้ประนีประนอมประจำศาล รวมถึงแขกผู้มีเกียรติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ซึ่งนายปริญญา เชาวลิตถวิล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การจัดโครงการดังกล่าวนั้นจัดขึ้นทั่วประเทศ เพื่อเป็นการสอดรับนโยบายสำนักงานศาลยุติธรรม ในการส่งเสริมสนับสนุนการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยเฉพาะด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการสมานฉันท์และสันติวิธี เพื่อให้คู่ความได้มีโอกาสเลือกใช้ควบคู่กับการพิจารณาคดีของศาลในการยุติคดี หรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
ศาลจังหวัดภูเก็ต จึงได้จัดโครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์” ขึ้นในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ความในการยุติข้อพิพาท โดยการระงับข้อพิพาททางเลือก เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในสังคม ก่อให้เกิดความปรองดอง และสมานฉันท์ รู้รักสามัคคี และมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ให้ประชาชนผู้มีอรรถคดีในศาลได้มีทางเลือกในการยุติข้อพิพาทด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่ศาล หรือเข้าสู่การพิจารณาสืบพยาน และตัดสินคดี
ด้านนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8 กล่าวว่า ด้วยศาลมีบุคลากรรองรับไม่เพียงพอที่จะรองรับคดีที่เข้าสู่ศาล และด้วยปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งมีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทำให้มีคดีเข้าสู่ศาลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การจัดไกล่เกลี่ยให้แก่คู่กรณีที่พิพาทกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างมากแก่ชุมชน สามารถทำได้รวดเร็ว ช่วยลด หรือยุติความขัดแย้งทำให้คู่กรณีสามารถเจรจายุติความขัดแย้งซึ่งกันและกัน ไม่มีใครแพ้ ไม่มีใครชนะ ลดคำว่าศักดิ์ศรีลงไปได้มาก นี่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถ้าเราทำให้คู่พิพาทเข้าสู่การไกล่เกลี่ยได้มากเท่าไหร่ ประโยชน์ต่อประชาชนก็จะมีมาก
โดยในปี 2556 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน 2556 มีคดีแพ่งเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย 1,449 คดี สามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ 418 คดี ซึ่งคิดเป็น 81.8% มูลค่าทุนทรัพย์กว่า 920 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนคดีดังกล่าว มีการจำหน่ายคดีก่อนที่จะเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย จำนวน 778 คดี สำหรับการดำเนินโครงการไกล่เกลี่ยในส่วนของจังหวัดภูเก็ตถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการจัดโครงการไกล่เกลี่ยคดีก่อนที่จะนำสู่ศาล เพราะการเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยทำให้คดีความต่างๆ ที่จะขึ้นสู่ศาลมีจำนวนลดลง
อย่างไรก็ตาม สำหรับคดีที่เข้าสู่ศาลปัจจุบันขณะนี้มีกว่า 10,000 คดี ด้วยภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว เมืองเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางธุรกิจจึงมีสูง คดีที่เข้าสู่ศาลมากที่สุดเป็นคดีแพ่ง เกี่ยวกับที่ดิน โดยเฉพาะคดีบุกรุกที่สาธารณะ ประมาณ 50% และเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติดอีกประมาณ 50% และปัจจุบันพบว่า แนวโน้มของคดีที่จะขึ้นสู่ศาลมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดโครงการไกล่เกลี่ยจึงเป็นส่วนหนึ่งในการเข้ามาเป็นตัวเสริมทำให้คดีที่เกิดขึ้นจบเร็วขึ้น และลดจำนวนคดีที่จะขึ้นสู่ศาลจังหวัดภูเก็ต
อย่างไรก็ตาม นอกจากศาลจังหวัดภูเก็ตจะจัดโครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ยและสมานฉันท์” แล้ว วันเดียวกัน ศาลแรงงานภาค 8 ได้จัดให้มีโครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ย ประจำปี 2556” ขึ้นด้วยเช่นกัน ที่บริเวณศาลแรงงานภาค 8 โดยมีนายสมศักดิ์ ขวัญแก้ว อธิบดีศาลแรงงานภาค 8 เป็นประธานเปิดโครงการ และมีนายสุนาวิน สุรียพรรณ เลขานุการศาลแรงงานภาค 8 และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพื่อระงับข้อพิพาททางเลือก โดยเฉพาะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการสมานฉันท์และสันติวิธี เพื่อให้คู่ความได้มีโอกาสเจรจายุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง เป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ความให้สามารถยุติข้อพิพาท ก่อให้เกิดความพึงพอใจของคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย