การดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่ามกลางเหตุความรุนแรงมาร่วมจะ 10 ปี จนกลายเป็นเรื่องที่คนทั่วไปเคยชินกับข่าวความรุนแรงที่ออกจากพื้นที่เป็นประจำทุกวัน จนเรียกได้ว่าสถานการณ์รุนแรงปกติ วันไหนไม่มีเหตุ วันนั้นล่ะไม่ปกติ ชีวิตของคนในพื้นที่ เมื่อคนนอกพื้นที่มองลงไป ต่างก็มีความคิดไปต่างๆ นานา ว่าคนเหล่านั้นเขาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองแห่งการก่อวินาศกรรมก่อสงครามได้อย่างไร แต่เท่าที่รู้ทุกชีวิตยังต้องดำเนินไป จะรอมฎอน(เดือนถือศีลอด) หรือจะเข้าพรรษา หรือจะตรุษจีน ถือศีล กินเจ การปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนาของทุกศาสนาก็ยังคงดำเนินการต่อไป ด้วยความเป็นอัตลักษณ์ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังคงมีเสน่ห์ไม่จางหาย แม้จะถูกกลืนกินไปบ้างในสภาวะสงคราม
อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายยังเชื่อว่าสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ประชาชนในพื้นที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ และหลายครั้งที่รัฐบาลพยายามใช้วิธีการเจรจากับฝ่ายตรงข้าม เพื่อขอสงบศึกแต่ไม่เป็นผล จนกระทั่งปีนี้ได้มีการพูดคุยเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ซึ่งดูเหมือนจะได้ผลในตอนแรก แต่สุดท้ายเหตุความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็กลับมาเข้าสู่ภาวะปกติ คือ มีการก่อเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกวัน เหมือนดั่งเช่น 9 ปีที่ผ่านมา
ต่อกรณีการพูดคุยเจรจาระหว่างรัฐไทยกับกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น ตลอดปีที่ผ่านมานั้น พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. มีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า การแก้ปัญหาภาคใต้สิ่งที่สำคัญขณะนี้ที่ต้องทำคือ ต้องทำให้ทั้งรัฐ และประชาชนมีความคิดร่วมกันว่า จะต้องเร่งนำสันติสุข ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินกลับมาสู่ภาคใต้ ดังนั้น วิธีการที่จะนำสู่ความสำเร็จ ทุกคนก็เชื่อว่าคนทางจังหวัดชายแดนใต้ทุกคนเป็นคนไทยหมด การที่คนไทยมีความขัดแย้งกัน การจะแก้ปัญหาความขัดแย้ง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องอุดมการณ์ ความเชื่อ ความคิด ไม่มีอะไรดีกว่าการพูดคุย
วันนี้เป็นเพียงแต่เปิดพื้นที่ทางการพูดคุย ต้องยอมรับว่า วงรอบของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มันเป็นวงรอบของศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งมีความหลากหลายกิจกรรมทางพุทธก็เยอะมาก กิจกรรมทางศาสนาอิสลามก็เยอะ กิจกรรมที่เป็นวัฒนธรรมของจีน หรือศาสนิกอื่นก็เยอะ ดังนั้น ในครั้งนี้ ผมไม่อยากให้มองว่า ใช้แค่รอมฎอนมาเป็นตัวชี้วัด ขณะที่ความขัดแย้งยังขัดแย้งอยู่ ถ้าจะไปหาความเห็นอื่นมันอาจจะยาก เราก็เลยใช้มิติศาสนา เพราะว่าศาสนาสอนให้คนทำดี ส่วนที่เป็นตัวชี้วัด ในส่วนของ ศอ.บต นี้ ถ้าจะให้ประเมิน เรามีคณะทำงานอยู่คณะหนึ่ง ที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล เราจะเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีความเข้าใจความแตกต่างมากขึ้น
“โดยเฉพาะอย่ายิ่งเสียงสะท้อนที่ ศอ.บต. ได้รับคือ พี่น้องที่นับถือศาสนาอิสลาม บอกว่าได้ปฏิบัติกิจได้สะดวกและได้รับการส่งเสริมมากขึ้น อันนี้คือเรามีบัณฑิตอาสาที่อยู่ทุกหมู่บ้านจะรายงานเข้ามา พี่น้องชาวพุทธก็บอกว่าได้ไปร่วมกิจกรรมวันเข้าพรรษา และกิจกรรมในวัดมากขึ้น แล้วสิ่งที่สำคัญคือบอกว่า มีความสุขมากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม สังคมขณะนี้หลายปีมันมีความซับซ้อน มิติความไม่สงบบางครั้งก็บั่นทอนความรู้สึกทางจิตใจ เราจึงจำเป็นต้องฟันฝ่า ถ้าจะให้ประเมินสำหรับรอมฎอนปีนี้ เสียงตอบรับทุกภาคส่วนบอกว่าพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกคนมีความรู้สึกดีขึ้น แต่บางส่วนก็อาจจะมีความรู้สึกที่กังวลกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ปัญหานี้ต้องทำความเข้าใจต้องสื่อสารทำความเข้าใจเพราะว่าในพื้นที่ ประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ หรือเชื้อสายสายจีนที่ผ่านมาก็มีความรู้สึกเป็นเป้าหมายอ่อนแอ หวาดระแวง แล้วก็มีภัยเกิดขึ้น
ส่วนประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม บางครั้งก็รู้สึกว่าถูกปฏิบัติที่ไม่เข้าใจอัตลักษณ์ ไม่เข้าใจประเพณี วันนี้เราก็พยายามยึดว่า ถ้าศาสนาอิสลามให้ยึดท่านจุฬาราชมนตรี ตามแนวทางไว้ ซึ่งทุกคนได้ปฏิบัติตามสิ่งสำคัญของศาสนา ดังนั้น ประเมินเหตุการณ์รอมฎอนปีนี้ ถ้าความร่วมมือ และความมั่นใจของประชาชนทุกศาสนิกมีสูงมาก ได้สัมผัส และรู้สึกว่าทุกคนมีความพอใจ
เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การพูดคุยเจรจาเพื่อสันติภาพ คือนโยบายของรัฐบาล การแก้ปัญหาภาคใต้ เราจะต้องลดความขัดแย้งโดยส่งเสริมในกระบวนการพูดคุย ดังนั้น คงต้องมีต่อ เชื่อว่าการพูดคุยเท่านั้นที่ทำให้คนโกรธกัน หรือไม่พอใจกันถ้าได้คุยกัน จะเข้าใจกัน แต่มาตรการที่จะดูแลประชาชนให้มีความปลอดภัย ต้องเพิ่มขึ้นมาอีก คือวันนี้เราก็ทุ่มเททั้งคน ทั้งวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐไปคุ้มครองประชาชน วันนี้อาจจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทดูแลตัวเอง โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนบ้าง เช่น เปิดโอกาสให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ได้มีภารกิจในการคุ้มครอง นอกจากพัฒนาเอาความสุขในตำบลแล้วก็จะดูแลความสงบด้วย อันนี้ก็จะมาเสริมพร้อมกัน
“วันนี้ส่วนหนึ่งก็เริ่มทำความเข้าใจระหว่างประชาชนกับรัฐดีขึ้น แต่ต้องให้มากกว่านี้ คือการจะให้เข้าใจก็ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ควรจะไปกำหนดชะตาชีวิตให้แก่ประชาชนทุกศาสนิก เราอย่าไปคิดแทนเขา จะพัฒนาตัวเองก็ต้องให้เขาเข้ามา ซึ่งวันนี้นโยบายหนึ่งของ ศอ.บต. คือ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม และบูรณาการ อาจร่วมกันใช้ทรัพยากรในการร่วมกันบริหารทั้งหมด ทั้งคน ทั้งงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ มาร่วมกัน โดยให้ประชาชนเข้ามาร่วมด้วย ต้องมีเป้าหมายแลกเอาสันติสุข ความสงบก็จะตามมา แล้วเมื่อทุกคนเข้าใจก็จะรู้ว่าปัญหานี้ทุกคนร่วมแก้กัน รับรู้ด้วยกัน จะทำให้ปัญหาอยู่ในมือของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นส่วนเสริม เรื่องของภาคใต้ อย่าคิดว่าคนใดคนหนึ่งเป็นพระเอก คนที่เป็นหลักคือต้องส่งเสริม สนับสนุนให้คนชายแดนภาคใต้ให้เขาแก้ปัญหาโดยตัวเองด้วย”
อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายยังเชื่อว่าสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ประชาชนในพื้นที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ และหลายครั้งที่รัฐบาลพยายามใช้วิธีการเจรจากับฝ่ายตรงข้าม เพื่อขอสงบศึกแต่ไม่เป็นผล จนกระทั่งปีนี้ได้มีการพูดคุยเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ซึ่งดูเหมือนจะได้ผลในตอนแรก แต่สุดท้ายเหตุความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็กลับมาเข้าสู่ภาวะปกติ คือ มีการก่อเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกวัน เหมือนดั่งเช่น 9 ปีที่ผ่านมา
ต่อกรณีการพูดคุยเจรจาระหว่างรัฐไทยกับกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น ตลอดปีที่ผ่านมานั้น พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. มีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า การแก้ปัญหาภาคใต้สิ่งที่สำคัญขณะนี้ที่ต้องทำคือ ต้องทำให้ทั้งรัฐ และประชาชนมีความคิดร่วมกันว่า จะต้องเร่งนำสันติสุข ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินกลับมาสู่ภาคใต้ ดังนั้น วิธีการที่จะนำสู่ความสำเร็จ ทุกคนก็เชื่อว่าคนทางจังหวัดชายแดนใต้ทุกคนเป็นคนไทยหมด การที่คนไทยมีความขัดแย้งกัน การจะแก้ปัญหาความขัดแย้ง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องอุดมการณ์ ความเชื่อ ความคิด ไม่มีอะไรดีกว่าการพูดคุย
วันนี้เป็นเพียงแต่เปิดพื้นที่ทางการพูดคุย ต้องยอมรับว่า วงรอบของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มันเป็นวงรอบของศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งมีความหลากหลายกิจกรรมทางพุทธก็เยอะมาก กิจกรรมทางศาสนาอิสลามก็เยอะ กิจกรรมที่เป็นวัฒนธรรมของจีน หรือศาสนิกอื่นก็เยอะ ดังนั้น ในครั้งนี้ ผมไม่อยากให้มองว่า ใช้แค่รอมฎอนมาเป็นตัวชี้วัด ขณะที่ความขัดแย้งยังขัดแย้งอยู่ ถ้าจะไปหาความเห็นอื่นมันอาจจะยาก เราก็เลยใช้มิติศาสนา เพราะว่าศาสนาสอนให้คนทำดี ส่วนที่เป็นตัวชี้วัด ในส่วนของ ศอ.บต นี้ ถ้าจะให้ประเมิน เรามีคณะทำงานอยู่คณะหนึ่ง ที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล เราจะเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีความเข้าใจความแตกต่างมากขึ้น
“โดยเฉพาะอย่ายิ่งเสียงสะท้อนที่ ศอ.บต. ได้รับคือ พี่น้องที่นับถือศาสนาอิสลาม บอกว่าได้ปฏิบัติกิจได้สะดวกและได้รับการส่งเสริมมากขึ้น อันนี้คือเรามีบัณฑิตอาสาที่อยู่ทุกหมู่บ้านจะรายงานเข้ามา พี่น้องชาวพุทธก็บอกว่าได้ไปร่วมกิจกรรมวันเข้าพรรษา และกิจกรรมในวัดมากขึ้น แล้วสิ่งที่สำคัญคือบอกว่า มีความสุขมากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม สังคมขณะนี้หลายปีมันมีความซับซ้อน มิติความไม่สงบบางครั้งก็บั่นทอนความรู้สึกทางจิตใจ เราจึงจำเป็นต้องฟันฝ่า ถ้าจะให้ประเมินสำหรับรอมฎอนปีนี้ เสียงตอบรับทุกภาคส่วนบอกว่าพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกคนมีความรู้สึกดีขึ้น แต่บางส่วนก็อาจจะมีความรู้สึกที่กังวลกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ปัญหานี้ต้องทำความเข้าใจต้องสื่อสารทำความเข้าใจเพราะว่าในพื้นที่ ประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ หรือเชื้อสายสายจีนที่ผ่านมาก็มีความรู้สึกเป็นเป้าหมายอ่อนแอ หวาดระแวง แล้วก็มีภัยเกิดขึ้น
ส่วนประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม บางครั้งก็รู้สึกว่าถูกปฏิบัติที่ไม่เข้าใจอัตลักษณ์ ไม่เข้าใจประเพณี วันนี้เราก็พยายามยึดว่า ถ้าศาสนาอิสลามให้ยึดท่านจุฬาราชมนตรี ตามแนวทางไว้ ซึ่งทุกคนได้ปฏิบัติตามสิ่งสำคัญของศาสนา ดังนั้น ประเมินเหตุการณ์รอมฎอนปีนี้ ถ้าความร่วมมือ และความมั่นใจของประชาชนทุกศาสนิกมีสูงมาก ได้สัมผัส และรู้สึกว่าทุกคนมีความพอใจ
เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การพูดคุยเจรจาเพื่อสันติภาพ คือนโยบายของรัฐบาล การแก้ปัญหาภาคใต้ เราจะต้องลดความขัดแย้งโดยส่งเสริมในกระบวนการพูดคุย ดังนั้น คงต้องมีต่อ เชื่อว่าการพูดคุยเท่านั้นที่ทำให้คนโกรธกัน หรือไม่พอใจกันถ้าได้คุยกัน จะเข้าใจกัน แต่มาตรการที่จะดูแลประชาชนให้มีความปลอดภัย ต้องเพิ่มขึ้นมาอีก คือวันนี้เราก็ทุ่มเททั้งคน ทั้งวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐไปคุ้มครองประชาชน วันนี้อาจจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทดูแลตัวเอง โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนบ้าง เช่น เปิดโอกาสให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ได้มีภารกิจในการคุ้มครอง นอกจากพัฒนาเอาความสุขในตำบลแล้วก็จะดูแลความสงบด้วย อันนี้ก็จะมาเสริมพร้อมกัน
“วันนี้ส่วนหนึ่งก็เริ่มทำความเข้าใจระหว่างประชาชนกับรัฐดีขึ้น แต่ต้องให้มากกว่านี้ คือการจะให้เข้าใจก็ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ควรจะไปกำหนดชะตาชีวิตให้แก่ประชาชนทุกศาสนิก เราอย่าไปคิดแทนเขา จะพัฒนาตัวเองก็ต้องให้เขาเข้ามา ซึ่งวันนี้นโยบายหนึ่งของ ศอ.บต. คือ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม และบูรณาการ อาจร่วมกันใช้ทรัพยากรในการร่วมกันบริหารทั้งหมด ทั้งคน ทั้งงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ มาร่วมกัน โดยให้ประชาชนเข้ามาร่วมด้วย ต้องมีเป้าหมายแลกเอาสันติสุข ความสงบก็จะตามมา แล้วเมื่อทุกคนเข้าใจก็จะรู้ว่าปัญหานี้ทุกคนร่วมแก้กัน รับรู้ด้วยกัน จะทำให้ปัญหาอยู่ในมือของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นส่วนเสริม เรื่องของภาคใต้ อย่าคิดว่าคนใดคนหนึ่งเป็นพระเอก คนที่เป็นหลักคือต้องส่งเสริม สนับสนุนให้คนชายแดนภาคใต้ให้เขาแก้ปัญหาโดยตัวเองด้วย”