ระนอง - ข้าราชการไทย ทุ่มเงินผุด “ศูนย์เรียนรู้ควายไทยพื้นบ้านระนอง” พร้อมเปิดต้อนรับผู้สนใจร่วมชมวิถีชีวิตของควายไทยพื้นเมือง เผยมีควายจิ๋วเผือกซึ่งหาดูยากอยู่ในศูนย์ด้วย เชื่อมีเพียงแห่งเดียวในระนอง
นายอัฏฐวัฒน์ ไชยณรงค์ ข้าราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรม จ.ระนอง กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ควายไทย จ.ระนอง ว่า ศูนย์เรียนรู้ควายไทยแห่งนี้เกิดจากความรัก และความผูกพันของตัวเองที่เกิดจากท้องไร่ท้องนา แม้ว่าหลังจบการศึกษา และสอบเข้ารับราชการได้ แต่ก็ยังไม่ลืมวิถีชีวิตของชาวไร่ชาวนาที่ขณะนี้เริ่มจะหายไปจากสังคมชนบท จึงมีแนวคิดที่จะจัดทำศูนย์อนุรักษ์ควายไทยพื้นบ้านขึ้นที่ท้องทุ่งบ้านหงาว ม.3 ต.หงาว อ.เมือง จ.ระนอง เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของควายไทยพื้นบ้าน
ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้เจียดเงินเดือนส่วนหนึ่งไถ่ชีวิตควายจากโรงฆ่าสัตว์ มาเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เยาวชน และชาวจังหวัดระนองที่สนใจในเรื่องชีวิตของควายไทยพื้นบ้าน ซึ่งต่อมา มีคนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ควายไทย และความตั้งใจจริง จึงร่วมบริจาคและช่วยไถ่ชีวิตควายมาให้ ปัจจุบันที่ศูนย์มีควายไทยพื้นบ้านสีดำ จำนวน 10 ตัว ควายเผือก 7 ตัว และควายจิ๋วอีก 3 ตัว
นายอัฏฐวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ต้องการจะทำให้พื้นที่เลี้ยงควายแห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ควายไทยแบบครบวงจร ซึ่งต่อไปก็จะพยายามหาอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นคันไถ เกวียน และหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวนา และควายไทยมารวมไว้ในที่แห่งนี้ เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้เด็ก เยาวชนได้ใช้เป็นพื้นที่เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ซึ่งขณะนี้ตนเองได้ไถ่ชีวิตควายจิ๋วเผือกเข้ามาอยู่ในพื้นที่แห่งนี้เพิ่ม และคาดว่าน่าจะเป็นแห่งเดียวในจังหวัดระนอง ที่มีควายจิ๋วเผือก จึงอยากจะให้ผู้ที่อยากจะเรียนรู้เรื่องควายเข้ามาเรียนรู้ของจริง การเข้าชมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างที่ทำเพื่อต้องการอนุรักษ์ และเพื่อต้องการให้เยาวชนรุ่นหลังได้มีความเข้าใจในชีวิตกระบือ เพื่อจะได้ร่วมกันอนุรักษ์ให้จังหวัดระนอง หรือประเทศไทยยังคงมีกระบือให้คนรุ่นต่อไปได้เห็น
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด มีคณะครูจากโรงเรียนอนุบาลดวงกมล จังหวัดระนอง นำเด็กนักเรียนเตรียมชั้นอนุบาล จำนวน 35 คน เข้าชมการเลี้ยงดูควายไทย ที่ศูนย์ดังกล่าวด้วย โดย น.ส.ดวงกมล จงเจริญ หนึ่งในคณะครูกล่าวว่า การนำเยาวชนมาดูกระบือของจริงในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดในเรื่องการเรียนการสอนในห้องเรียน ที่นักเรียนกำลังเรียนเรื่องการปลูกข้าว โดยชาวนาในอดีตจะใช้ควายในการไถนา ซึ่งนักเรียนจะเห็นจากสื่อการเรียนการสอนเท่านั้น การนำนักเรียนมาสัมผัสของจริงจึงสร้างความตื่นเต้น ความอยากรู้อยากเห็นให้เด็กเป็นอย่างมาก เป็นการกระตุ้น และเพิ่มศักยภาพเด็กในเรื่องของการเรียนรู้อีกด้วย
นายอัฏฐวัฒน์ ไชยณรงค์ ข้าราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรม จ.ระนอง กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ควายไทย จ.ระนอง ว่า ศูนย์เรียนรู้ควายไทยแห่งนี้เกิดจากความรัก และความผูกพันของตัวเองที่เกิดจากท้องไร่ท้องนา แม้ว่าหลังจบการศึกษา และสอบเข้ารับราชการได้ แต่ก็ยังไม่ลืมวิถีชีวิตของชาวไร่ชาวนาที่ขณะนี้เริ่มจะหายไปจากสังคมชนบท จึงมีแนวคิดที่จะจัดทำศูนย์อนุรักษ์ควายไทยพื้นบ้านขึ้นที่ท้องทุ่งบ้านหงาว ม.3 ต.หงาว อ.เมือง จ.ระนอง เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของควายไทยพื้นบ้าน
ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้เจียดเงินเดือนส่วนหนึ่งไถ่ชีวิตควายจากโรงฆ่าสัตว์ มาเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เยาวชน และชาวจังหวัดระนองที่สนใจในเรื่องชีวิตของควายไทยพื้นบ้าน ซึ่งต่อมา มีคนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ควายไทย และความตั้งใจจริง จึงร่วมบริจาคและช่วยไถ่ชีวิตควายมาให้ ปัจจุบันที่ศูนย์มีควายไทยพื้นบ้านสีดำ จำนวน 10 ตัว ควายเผือก 7 ตัว และควายจิ๋วอีก 3 ตัว
นายอัฏฐวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ต้องการจะทำให้พื้นที่เลี้ยงควายแห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ควายไทยแบบครบวงจร ซึ่งต่อไปก็จะพยายามหาอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นคันไถ เกวียน และหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวนา และควายไทยมารวมไว้ในที่แห่งนี้ เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้เด็ก เยาวชนได้ใช้เป็นพื้นที่เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ซึ่งขณะนี้ตนเองได้ไถ่ชีวิตควายจิ๋วเผือกเข้ามาอยู่ในพื้นที่แห่งนี้เพิ่ม และคาดว่าน่าจะเป็นแห่งเดียวในจังหวัดระนอง ที่มีควายจิ๋วเผือก จึงอยากจะให้ผู้ที่อยากจะเรียนรู้เรื่องควายเข้ามาเรียนรู้ของจริง การเข้าชมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างที่ทำเพื่อต้องการอนุรักษ์ และเพื่อต้องการให้เยาวชนรุ่นหลังได้มีความเข้าใจในชีวิตกระบือ เพื่อจะได้ร่วมกันอนุรักษ์ให้จังหวัดระนอง หรือประเทศไทยยังคงมีกระบือให้คนรุ่นต่อไปได้เห็น
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด มีคณะครูจากโรงเรียนอนุบาลดวงกมล จังหวัดระนอง นำเด็กนักเรียนเตรียมชั้นอนุบาล จำนวน 35 คน เข้าชมการเลี้ยงดูควายไทย ที่ศูนย์ดังกล่าวด้วย โดย น.ส.ดวงกมล จงเจริญ หนึ่งในคณะครูกล่าวว่า การนำเยาวชนมาดูกระบือของจริงในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดในเรื่องการเรียนการสอนในห้องเรียน ที่นักเรียนกำลังเรียนเรื่องการปลูกข้าว โดยชาวนาในอดีตจะใช้ควายในการไถนา ซึ่งนักเรียนจะเห็นจากสื่อการเรียนการสอนเท่านั้น การนำนักเรียนมาสัมผัสของจริงจึงสร้างความตื่นเต้น ความอยากรู้อยากเห็นให้เด็กเป็นอย่างมาก เป็นการกระตุ้น และเพิ่มศักยภาพเด็กในเรื่องของการเรียนรู้อีกด้วย