ชาวสวนยางพาราใน อ.ตะโหมด และ อ.กงหรา จ.พัทลุง จำนวนมาก เริ่มเปลี่ยนแนวทางจากการนำยางสดขายมาผลิตเป็นยางแผ่นดิบ ซึ่งได้ราคาดีกว่ากิโลกรัมละ 3-5 บาท โดยหากราคาน้ำยางสดอยู่ที่กิโลกรัมละ 61 บาท ราคายางแผ่นดิบจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 66 บาท และยังแก้ปัญหาการถูกหักค่าเปอร์เซ็นต์น้ำยางสดจากพ่อค้าด้วย
นายนิรันดร์ เทพรัตน์ หัวหน้าศูนย์เรียนรู้ยางพารา สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.พัทลุง กล่าวว่า การทำยางแผ่นดิบยังสามารถเก็บไว้ได้หลายวัน รอขายในจังหวะที่ราคาดี แต่หากราคาต่างกันไม่ถึง 3 บาทต่อกิโลกรัมจะไม่คุ้มทุน
ส่วนที่ จ.บุรีรัมย์ คณะทำงานเพื่อหาแนวทาง และมาตรการยกระดับและรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ประชุมร่วมกับกลุ่มเครือข่ายชาวสวนยาง จ.บุรีรัมย์ เพื่อเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ปัจจุบันเหลือเพียง 70-80 บาทต่อกิโลกรัม โดยขอให้ช่วยพยุงราคาให้ถึง 120 บาท
ทั้งนี้ จ.บุรีรัมย์ มีพื้นที่เพาะปลูกยางพารากว่า 2 แสนไร่ มีผลผลิตกว่า 29,500 ตัน อย่างไรก็ตาม การประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเพียงแต่มีข้อเสนอให้ขยาย หรือ เพิ่มจุดรับซื้อสร้างสถานที่เก็บให้เพียงพอ และจัดฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราให้สูงขึ้น
นายนิรันดร์ เทพรัตน์ หัวหน้าศูนย์เรียนรู้ยางพารา สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.พัทลุง กล่าวว่า การทำยางแผ่นดิบยังสามารถเก็บไว้ได้หลายวัน รอขายในจังหวะที่ราคาดี แต่หากราคาต่างกันไม่ถึง 3 บาทต่อกิโลกรัมจะไม่คุ้มทุน
ส่วนที่ จ.บุรีรัมย์ คณะทำงานเพื่อหาแนวทาง และมาตรการยกระดับและรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ประชุมร่วมกับกลุ่มเครือข่ายชาวสวนยาง จ.บุรีรัมย์ เพื่อเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ปัจจุบันเหลือเพียง 70-80 บาทต่อกิโลกรัม โดยขอให้ช่วยพยุงราคาให้ถึง 120 บาท
ทั้งนี้ จ.บุรีรัมย์ มีพื้นที่เพาะปลูกยางพารากว่า 2 แสนไร่ มีผลผลิตกว่า 29,500 ตัน อย่างไรก็ตาม การประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเพียงแต่มีข้อเสนอให้ขยาย หรือ เพิ่มจุดรับซื้อสร้างสถานที่เก็บให้เพียงพอ และจัดฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราให้สูงขึ้น