ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงสรุปคดี 16 ศพ เหตุปะทะที่ฐานนาวิกโยธิน ชี้เจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำเกินกว่าเหตุ และเห็นชอบให้ดูแลช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตแทนการเยียวยา โดยเน้นการฟื้นฟูจิตใจ
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้การช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพจิตใจและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้แก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิต กรณีเหตุปะทะกันบริเวณฐานปฏิบัติการปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน 32 อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 ก.พ.2556 ซึ่งทำให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบถูกวิสามัญ จำนวน 16 ราย ได้ร่วมประชุมที่ห้องประชุมโออาร์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธิ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต.เป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจาก กอ.รมน., ศชต., ผวจ., ประธานกรรมการอิสลาม, ภาคประชาสังคม, นักวิชาการ, ดีเอสไอ และสื่อมวลชน โดยมีประเด็นที่นำมาพิจารณาคือ การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่นาวิกโยธิน เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุหรือไม่ ซึ่งในที่ประชุมได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ตัวแทนสื่อมวลชน และสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีความเห็นว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 16 ศพ เกิดจากการปฏิบัติการบุกเข้าโจมตีฐานของนาวิกโยธิน แต่นาวิกโยธินรู้ก่อนจึงได้ทำการตั้งรับและยิงตอบโต้ จนทำให้แนวร่วมเสียชีวิต 16 ศพ ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสม ไม่ได้เกินกว่าเหตุ ส่วนที่มีผู้นำศาสนาตั้งข้อสังเกตในเรื่องของบาดแผลที่เกิดที่ศีรษะของทุกศพนั้น เป็นเพราะนาวิกโยธินรู้ล่วงหน้าว่ามีการบุกโจมตีฐาน จึงมีการตั้งรับโดยหน่วยซีลจึงทำให้มีการยิงที่ศีรษะ
นายไชยยงค์ กล่าวด้วยว่า หลังการปะทะกับแนวร่วมชุดแรก นาวิกโยธินก็ไม่ได้ติดตามแนวร่วมที่เหลืออีกหลายสิบคน รวมทั้งมีการรู้ข่าวล่วงหน้า แต่ไม่มีการวางกำลังปิดล้อมเส้นทางหลบหนีของแนวร่วมแต่อย่างใด แนวร่วมอีกกว่า 40 คน จึงสามารถหลบหนีไปได้ ปฏิบัติการของนาวิกโยธินฐานปืนเล็กที่ 2 จึงเป็นการป้องกันฐาน และต่อสู้กับผู้ที่บุกเข้าโจมตีเท่านั้น
ปรากฏว่า คณะกรรมการทั้งตัวแทน ศชต. ดีเอสไอ และภาคประชาชนต่างเห็นด้วยว่า การกระทำของนาวิกโยธินไม่ได้กระทำเกินเหตุ และที่ไม่สามารถประกาศจับเป็นเพราะทำได้ยาก
ส่วนการให้การช่วยเหลือครอบครัวทั้ง 16 ครอบครัว เจ้าหน้าที่จาก ศอ.บต.ได้ลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยือนครอบครัวทั้ง 16 ครอบครัว เพื่อดูความเป็นอยู่ ขอทราบข้อเท็จจริงของผู้เสียชีวิต ซึ่งครอบครัวผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และขอให้รัฐช่วยเหลือในเรื่องการประกอบวิชาชีพ เช่น ขอจักรเย็บผ้า จักรแซะริม ขอให้ซ่อมแซมบ้าน และขอให้พ่อ-แม่ของผู้เสียชีวิตได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ มีเพียงบางครอบครัวที่ปฏิเสธการช่วยเหลือจากรัฐ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีความเห็นว่า ในกรณี 16 ศพที่เกิดขึ้นไม่อยู่ในเงื่อนไขของการเยียวยา แต่ให้ ศอ.บต.ดำเนินการช่วยเหลือตามหลักข้อเท็จจริงของแต่ละครอบครัวที่ต้องการไม่เหมือนกัน ให้ดูแลเรื่องการศึกษาของเยาวชน และที่สำคัญ คือ ให้มีการเยียวยาทางด้านจิตใจ และให้เยียวยาชุมชนที่เกิดเหตุ โดยเน้นให้เข้าใจในข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้คลี่คลายความเจ็บแค้น หรืออคติที่มีต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งในประเด็นการช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตนั้น หลังเกิดเหตุหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินเองก็ได้ดำเนินการไปแล้วในหลายๆ ส่วนด้วยกัน
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้การช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพจิตใจและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้แก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิต กรณีเหตุปะทะกันบริเวณฐานปฏิบัติการปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน 32 อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 ก.พ.2556 ซึ่งทำให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบถูกวิสามัญ จำนวน 16 ราย ได้ร่วมประชุมที่ห้องประชุมโออาร์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธิ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต.เป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจาก กอ.รมน., ศชต., ผวจ., ประธานกรรมการอิสลาม, ภาคประชาสังคม, นักวิชาการ, ดีเอสไอ และสื่อมวลชน โดยมีประเด็นที่นำมาพิจารณาคือ การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่นาวิกโยธิน เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุหรือไม่ ซึ่งในที่ประชุมได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ตัวแทนสื่อมวลชน และสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีความเห็นว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 16 ศพ เกิดจากการปฏิบัติการบุกเข้าโจมตีฐานของนาวิกโยธิน แต่นาวิกโยธินรู้ก่อนจึงได้ทำการตั้งรับและยิงตอบโต้ จนทำให้แนวร่วมเสียชีวิต 16 ศพ ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสม ไม่ได้เกินกว่าเหตุ ส่วนที่มีผู้นำศาสนาตั้งข้อสังเกตในเรื่องของบาดแผลที่เกิดที่ศีรษะของทุกศพนั้น เป็นเพราะนาวิกโยธินรู้ล่วงหน้าว่ามีการบุกโจมตีฐาน จึงมีการตั้งรับโดยหน่วยซีลจึงทำให้มีการยิงที่ศีรษะ
นายไชยยงค์ กล่าวด้วยว่า หลังการปะทะกับแนวร่วมชุดแรก นาวิกโยธินก็ไม่ได้ติดตามแนวร่วมที่เหลืออีกหลายสิบคน รวมทั้งมีการรู้ข่าวล่วงหน้า แต่ไม่มีการวางกำลังปิดล้อมเส้นทางหลบหนีของแนวร่วมแต่อย่างใด แนวร่วมอีกกว่า 40 คน จึงสามารถหลบหนีไปได้ ปฏิบัติการของนาวิกโยธินฐานปืนเล็กที่ 2 จึงเป็นการป้องกันฐาน และต่อสู้กับผู้ที่บุกเข้าโจมตีเท่านั้น
ปรากฏว่า คณะกรรมการทั้งตัวแทน ศชต. ดีเอสไอ และภาคประชาชนต่างเห็นด้วยว่า การกระทำของนาวิกโยธินไม่ได้กระทำเกินเหตุ และที่ไม่สามารถประกาศจับเป็นเพราะทำได้ยาก
ส่วนการให้การช่วยเหลือครอบครัวทั้ง 16 ครอบครัว เจ้าหน้าที่จาก ศอ.บต.ได้ลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยือนครอบครัวทั้ง 16 ครอบครัว เพื่อดูความเป็นอยู่ ขอทราบข้อเท็จจริงของผู้เสียชีวิต ซึ่งครอบครัวผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และขอให้รัฐช่วยเหลือในเรื่องการประกอบวิชาชีพ เช่น ขอจักรเย็บผ้า จักรแซะริม ขอให้ซ่อมแซมบ้าน และขอให้พ่อ-แม่ของผู้เสียชีวิตได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ มีเพียงบางครอบครัวที่ปฏิเสธการช่วยเหลือจากรัฐ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีความเห็นว่า ในกรณี 16 ศพที่เกิดขึ้นไม่อยู่ในเงื่อนไขของการเยียวยา แต่ให้ ศอ.บต.ดำเนินการช่วยเหลือตามหลักข้อเท็จจริงของแต่ละครอบครัวที่ต้องการไม่เหมือนกัน ให้ดูแลเรื่องการศึกษาของเยาวชน และที่สำคัญ คือ ให้มีการเยียวยาทางด้านจิตใจ และให้เยียวยาชุมชนที่เกิดเหตุ โดยเน้นให้เข้าใจในข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้คลี่คลายความเจ็บแค้น หรืออคติที่มีต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งในประเด็นการช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตนั้น หลังเกิดเหตุหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินเองก็ได้ดำเนินการไปแล้วในหลายๆ ส่วนด้วยกัน