ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ชาวบ้านในพื้นบ้านม่วงก็อง อ.สะเดา จ.สงขลา หันมาเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังในคลองอู่ตะเภา เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ทดแทนยางพาราที่ราคาตกต่ำ จนมีชื่อเสียงตลาดต้องการมีเท่าไหร่ไม่พอขาย เนื่องจากเลี้ยงในคลองน้ำธรรมชาติไร้มลพิษ ขายได้สูงถึงกิโลกรัมละ 160 บาท
วันนี้ (3 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านม่วงก็อง หมู่ 7 อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก แต่ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ทดแทนยางพาราที่ราคาตกต่ำ โดยใช้คลองอู่ตะเภา ซึ่งเป็นคลองธรรมชาติที่ไหลผ่านหมู่บ้านเป็นสถานที่เลี้ยง เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ มลพิษมีน้อยจึงได้ผลดี
น.ส.สว่างจิต ปันยุทโท หรือพี่จิต อายุ 50 ปี หนึ่งในชาวบ้านบ้านม่วงก็องที่หันมาเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังเป็นอาชีพเสริมมากว่า 10 ปี บอกว่า ขณะนี้มีชาวบ้านเริ่มหันมาเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังประมาณ 10 เจ้า กว่า 150 กระชัง และทุกรายได้ขออนุญาต และขึ้นทะเบียนต่อประมงจังหวัดถูกต้อง เนื่องจากปลากดเหลืองเป็นที่ต้องการของตลาดขายได้สูงถึงกิโลกรัมละ 160 บาท ยิ่งถ้ารู้ว่าเป็นปลากดเหลืองบ้านม่วงก็องแล้ว ลูกค้าต่างแย่งกันซื้อ เพราะจะมีสีสวย รสชาติดี เนื้อนุ่ม หวาน ที่สำคัญคือ จะไม่มีกลิ่นสาบดิน เพราะเลี้ยงในลำคลองธรรมชาติที่มีน้ำไหลทั้งปี ไม่มีการหมักหมมของเศษอาหาร หรือขี้ปลา
สำหรับวิธีเลี้ยงชาวบ้านจะสร้างกระชังโดยใช้ไม้ไผ่ และเหล็กเป็นโครงสร้างขนาด 4x4x2 และขนาด 5x5x2 ใช้ตาข่ายความถี่ 2-3 เซนติเมตร ใช้ถัง 200 ลิตรทำเป็นทุ่น เพื่อให้กระชังลอยได้ตามระดับน้ำ ส่วนพันธุ์ลูกปลากดเหลืองจะซื้อมาจากประมงจังหวัดสงขลา และตามฟาร์มที่เพาะเลี้ยงโดยตรงใน จ.พัทลุง ราคาตัวละ 75 สตางค์ จนถึง 2 บาท ปล่อยลูกปลากระชังละ 800-1,000 ตัว โดยการปล่อยลูกปลาแต่ละกระชังต้องให้อายุห่างกันซึ่งจะทำให้สามารถจับปลาขายได้ตลอดทั้งปี
ในช่วงลูกปลาเล็ก หรืออนุบาล จะให้อาหารเดียวกันกับที่ใช้เลี้ยงลูกกบ เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะให้อาหารชนิดเม็ดซึ่งมีอยู่ 3 สูตร ตามการเจริญเติบโต และอายุของปลา ให้ไส้ไก่สดเป็นอาหารเสริม ใช้เวลาเลี้ยงราว 6-9 เดือน ก็สามารถจับขายได้ โดยขนาดที่ตลาดต้องการมากที่สุด คือ ตัวละ 8 ขีด-1 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยชาวบ้านแต่ละรายจะมีรายได้กระชังละ 5-6 หมื่นบาทต่อรุ่น
ที่สำคัญ ตลาดยังเปิดกว้างทั้งส่งให้พ่อค้าแม่ค้า บ่อตกปลา หรือการจัดงานเลี้ยงของชาวบ้านในหมู่บ้าน มีเท่าไหร่ก็ไม่พอ และนอกจากปลากดเหลืองที่ชาวบ้านนิยมเลี้ยงกันมากแล้ว ยังมีการเลี้ยงปลาทับทิม ปลานิล และปลาสวายควบคู่กันไปด้วย เนื่องจากระยะในเวลาการเลี้ยงสั้น 3-4 เดือน ซึ่งเป็นรายได้เสริมระหว่างที่รอปลากดเหลืองโต
วันนี้ (3 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านม่วงก็อง หมู่ 7 อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก แต่ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ทดแทนยางพาราที่ราคาตกต่ำ โดยใช้คลองอู่ตะเภา ซึ่งเป็นคลองธรรมชาติที่ไหลผ่านหมู่บ้านเป็นสถานที่เลี้ยง เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ มลพิษมีน้อยจึงได้ผลดี
น.ส.สว่างจิต ปันยุทโท หรือพี่จิต อายุ 50 ปี หนึ่งในชาวบ้านบ้านม่วงก็องที่หันมาเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังเป็นอาชีพเสริมมากว่า 10 ปี บอกว่า ขณะนี้มีชาวบ้านเริ่มหันมาเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังประมาณ 10 เจ้า กว่า 150 กระชัง และทุกรายได้ขออนุญาต และขึ้นทะเบียนต่อประมงจังหวัดถูกต้อง เนื่องจากปลากดเหลืองเป็นที่ต้องการของตลาดขายได้สูงถึงกิโลกรัมละ 160 บาท ยิ่งถ้ารู้ว่าเป็นปลากดเหลืองบ้านม่วงก็องแล้ว ลูกค้าต่างแย่งกันซื้อ เพราะจะมีสีสวย รสชาติดี เนื้อนุ่ม หวาน ที่สำคัญคือ จะไม่มีกลิ่นสาบดิน เพราะเลี้ยงในลำคลองธรรมชาติที่มีน้ำไหลทั้งปี ไม่มีการหมักหมมของเศษอาหาร หรือขี้ปลา
สำหรับวิธีเลี้ยงชาวบ้านจะสร้างกระชังโดยใช้ไม้ไผ่ และเหล็กเป็นโครงสร้างขนาด 4x4x2 และขนาด 5x5x2 ใช้ตาข่ายความถี่ 2-3 เซนติเมตร ใช้ถัง 200 ลิตรทำเป็นทุ่น เพื่อให้กระชังลอยได้ตามระดับน้ำ ส่วนพันธุ์ลูกปลากดเหลืองจะซื้อมาจากประมงจังหวัดสงขลา และตามฟาร์มที่เพาะเลี้ยงโดยตรงใน จ.พัทลุง ราคาตัวละ 75 สตางค์ จนถึง 2 บาท ปล่อยลูกปลากระชังละ 800-1,000 ตัว โดยการปล่อยลูกปลาแต่ละกระชังต้องให้อายุห่างกันซึ่งจะทำให้สามารถจับปลาขายได้ตลอดทั้งปี
ในช่วงลูกปลาเล็ก หรืออนุบาล จะให้อาหารเดียวกันกับที่ใช้เลี้ยงลูกกบ เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะให้อาหารชนิดเม็ดซึ่งมีอยู่ 3 สูตร ตามการเจริญเติบโต และอายุของปลา ให้ไส้ไก่สดเป็นอาหารเสริม ใช้เวลาเลี้ยงราว 6-9 เดือน ก็สามารถจับขายได้ โดยขนาดที่ตลาดต้องการมากที่สุด คือ ตัวละ 8 ขีด-1 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยชาวบ้านแต่ละรายจะมีรายได้กระชังละ 5-6 หมื่นบาทต่อรุ่น
ที่สำคัญ ตลาดยังเปิดกว้างทั้งส่งให้พ่อค้าแม่ค้า บ่อตกปลา หรือการจัดงานเลี้ยงของชาวบ้านในหมู่บ้าน มีเท่าไหร่ก็ไม่พอ และนอกจากปลากดเหลืองที่ชาวบ้านนิยมเลี้ยงกันมากแล้ว ยังมีการเลี้ยงปลาทับทิม ปลานิล และปลาสวายควบคู่กันไปด้วย เนื่องจากระยะในเวลาการเลี้ยงสั้น 3-4 เดือน ซึ่งเป็นรายได้เสริมระหว่างที่รอปลากดเหลืองโต