นครศรีธรรมราช - ICT จัดโครงการสร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายเตือนภัยพิบัติภาคประชาชน เพื่อป้องกันและบรรเทาภัย พร้อมฝึกซ้อมการปฏิบัติด้านการเตือนภัยและการสื่อสาร ที่นครศรีธรรมราช
นายจำนง แก้วชะฎา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยถึงโครงการสร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประจำปี 2556 ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ซึ่งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจัดขึ้น เพื่อให้ความรู้ และทำความเข้าใจแก่ประชาชน และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติภาคประชาชน ในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติอย่างบูรณาการ
เพื่อสัมฤทธิผลในการป้องกัน หรือลดอันตราย หรือความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนว 25 ลุ่มน้ำหลัก ลุ่มน้ำสาขา และผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครต่างๆ จากทุกอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าร่วมโครงการประมาณ 300 คน และยังมีการฝึกซ้อมแผนเตรียมความพร้อมในการจัดการกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ขณะเกิดภาวะวิกฤต ณ สำนักงานเทศบาลตำบลพิปูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราชด้วย
นายจำนง แก้วชะฎา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร กล่าวว่า กระทรวง ICT โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมีหน้าที่ในการสื่อสาร และสร้างเครือข่ายในการรับมือภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ ซึ่งเครือข่ายบุคคลดังกล่าวจะสามารถแจ้งข่าวสารสถานการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ เช่น ฝนตกหนักบนภูเขาเป็นเวลานาน คลื่นลมแรง น้ำป่าไหลหลาก เป็นต้น ไปยังศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วแจ้งเตือนภัยผ่านเครือข่ายดังกล่าว และสื่อมวลชน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รับทราบอย่างทันต่อเหตุการณ์
ขณะที่ พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ รองประธานคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า การให้ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเฝ้าระวัง การสื่อสาร และวิธีป้องกันตนเองแก่เครือข่ายภาคประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะสามารถขยายผลความรู้ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชนของตนเองและชุมชนใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี โดยผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าวในพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งมีครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่แล้ว ปัจจุบัน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นมีความแปรปรวนไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม บางครั้งถึงฤดูฝนแล้วฝนไม่ตก แต่กลับไปตกหนักช่วงฤดูแล้ง ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติต่างๆ อยู่ตลอดเวลา
นายจำนง แก้วชะฎา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยถึงโครงการสร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประจำปี 2556 ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ซึ่งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจัดขึ้น เพื่อให้ความรู้ และทำความเข้าใจแก่ประชาชน และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติภาคประชาชน ในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติอย่างบูรณาการ
เพื่อสัมฤทธิผลในการป้องกัน หรือลดอันตราย หรือความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนว 25 ลุ่มน้ำหลัก ลุ่มน้ำสาขา และผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครต่างๆ จากทุกอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าร่วมโครงการประมาณ 300 คน และยังมีการฝึกซ้อมแผนเตรียมความพร้อมในการจัดการกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ขณะเกิดภาวะวิกฤต ณ สำนักงานเทศบาลตำบลพิปูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราชด้วย
นายจำนง แก้วชะฎา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร กล่าวว่า กระทรวง ICT โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมีหน้าที่ในการสื่อสาร และสร้างเครือข่ายในการรับมือภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ ซึ่งเครือข่ายบุคคลดังกล่าวจะสามารถแจ้งข่าวสารสถานการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ เช่น ฝนตกหนักบนภูเขาเป็นเวลานาน คลื่นลมแรง น้ำป่าไหลหลาก เป็นต้น ไปยังศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วแจ้งเตือนภัยผ่านเครือข่ายดังกล่าว และสื่อมวลชน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รับทราบอย่างทันต่อเหตุการณ์
ขณะที่ พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ รองประธานคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า การให้ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเฝ้าระวัง การสื่อสาร และวิธีป้องกันตนเองแก่เครือข่ายภาคประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะสามารถขยายผลความรู้ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชนของตนเองและชุมชนใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี โดยผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าวในพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งมีครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่แล้ว ปัจจุบัน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นมีความแปรปรวนไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม บางครั้งถึงฤดูฝนแล้วฝนไม่ตก แต่กลับไปตกหนักช่วงฤดูแล้ง ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติต่างๆ อยู่ตลอดเวลา