ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ภูเก็ตจัดเสวนา “ภูเก็ตกับการเรียนรู้ของคนทั้งมวล” เปิดมุมมองการศึกษา ทุกภาคส่วนต้องร่วมพัฒนา ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาย้ำ ผู้ปกครองเป็นครูคนแรกที่จะทำให้เด็กนักเรียนเป็นคนดี เตรียมดึงผู้ปกครองเข้าร่วมเพื่อเปลี่ยนแนวคิดการดูแลบุตรหลาน
วันนี้ (25 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 3 เทศบาลนครภูเก็ต นางปุณยวีร์ ทองศิริเศรษฐ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนา “ภูเก็ตกับการเรียนรู้ของคนทั้งมวล” ซึ่งทางสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต จัดขึ้น โดยมีนายบัณฑูร ทองตัน ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และนางจุรี โก้สกุล ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล ร่วมเวทีเสวนา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน ประชาสังคม นักเรียน และสื่อมวลชนเข้าร่วมจำนวนมาก
ทั้งนี้ การจัดเสวนาดังกล่าว สืบเนื่องจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)ได้คัดเลือกให้จังหวัดภูเก็ต เป็น 1 ใน 10 จังหวัดดีเด่นในโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูให้ศิษย์เชิดชู ยกย่องครูสอนดีภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกครูสอนดี และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจังหวัด และท้องถิ่นภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ได้ตั้งเป้าหมายการขับเคลื่อนการศึกษาของจังหวัดให้เป็นสภาการศึกษาจังหวัด โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม
นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต กล่าวตอนหนึ่งในเวทีเสวนาฯ ดังกล่าวว่า การมีส่วนร่วมเป็นจุดอ่อนของการศึกษา ซึ่งกฎหมายเขียนไว้ชัดเจน ว่า หลักของการจัดการศึกษาต้องให้สังคมทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วมจัดการศึกษา แต่เอาเข้าจริงแล้ว ส่วนนี้ถูกละเลยมาโดยตลอด โดยการศึกษาถูกมองว่าเป็นโรงเรียนที่จะต้องรับผิดชอบ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะการพัฒนาคนไม่ได้พัฒนาองค์ความรู้อย่างเดียว แต่ต้องพัฒนาองค์รวมในทุกๆ ด้าน และผู้ที่สำคัญ เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ลูกหลานได้รับการพัฒนาทางการศึกษา จนนำไปสู่การประสบความสำเร็จในทุกๆ เรื่อง มาจากพ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นสำคัญ
สิ่งหนึ่งที่ทางสำนักงานเขตพื้นที่ฯ กำลังทำคือ การแสวงหาความร่วมมือและสร้างความเข้าใจกับภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะผู้ปกครองที่จะต้องเข้ามีส่วนร่วม เพราะผู้ปกครองเป็นครูคนแรกของบุตรหลาน ของนักเรียน และเด็กมีโอกาสที่จะอยู่กับผู้ปกครองมากกว่าครูที่โรงเรียน เพราะฉะนั้น การจะสอนให้เด็กเป็นคนดีของสังคมก็ต้องเริ่มจากการสั่งสอนของผู้ปกครองให้รู้จักรับผิดชอบ ขณะนี้ก็กำลังระดมทีมผู้บริหารทั้งจังหวัดภูเก็ต ในส่วนที่รับผิดชอบทั้ง 49 โรงเรียน เพื่อที่จะเปลี่ยนแนวคิดของผู้ปกครองที่ยังมีความคิดว่าถ้าเด็กไม่ดีก็ต้องเกิดโรงเรียนเท่านั้น ก็ได้มีการทดลองนำร่องไปแล้วครั้งหนึ่ง ที่โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงศ์ โดยเชิญผู้ปกครองมาสร้างความเข้าใจ ให้ผู้ปกครองรู้ว่าตัวเองคือ บุคคลสำคัญที่สุดที่จะทำให้เด็กมีคุณภาพ
ขณะที่นายบัณฑูร ทองตัน ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังการเสวนาฯ ว่า สภาพปัญหาอุปสรรคของจังหวัดภูเก็ต ตนได้นำเสนอ สสค.ว่าจริงๆ แล้วเรายังมีปัญหา แม้ว่าการศึกษาของเด็กภูเก็ตจะมีค่าโอเน็ตดีกว่ามาตรฐานทั่วไป รวมถึงการเรียนต่อจะสูงกว่าชาวบ้านเขา แต่เราก็ยังมีปัญหา เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยเรียน เด็กติดยาเสพติด เด็กติดเกม เป็นต้น ก็เป็นสภาพปัญหาของสังคม แต่ว่าภูเก็ตมีไม่น้อย ในส่วนของสภาการศึกษาก็ทำโครงการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
นายบัณฑูร ยังได้กล่าวถึงการสะท้อนปัญหาของผู้ร่วมเวทีเสวนาด้วย ว่า จากเวทีเสวนามีปัญหาเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันของการศึกษา เช่น ขณะนี้โรงเรียนในเทศบาลนครภูเก็ต มีคนจากนอกพื้นที่เข้ามาเรียนเยอะ และในพื้นที่เองคนก็หายไป ตนได้นำเสนอว่าความจริงแล้วในการที่จะทำตรงนี้ น่าเป็นเรื่องของการที่มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในผู้บริหารท้องถิ่น ว่า เพราะเหตุใดโรงเรียนบางโรงเรียนถึงได้รับความนิยมมาก อาจจะเป็นเพราะความคิดเห็นทางด้านการศึกษาของผู้บริหารท้องถิ่นมองไม่เหมือนกัน แต่ถ้าได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แล้วก็ทำโมเดลที่ได้ผล ทำให้คนพอใจก็น่าจะประสบความสำเร็จ นี่เป็นจุดหนึ่งในการแก้ไขปัญหาว่าทำไมต้องมีการย้ายโรงเรียนมาอยู่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ตมากขึ้น
วันนี้ (25 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 3 เทศบาลนครภูเก็ต นางปุณยวีร์ ทองศิริเศรษฐ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนา “ภูเก็ตกับการเรียนรู้ของคนทั้งมวล” ซึ่งทางสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต จัดขึ้น โดยมีนายบัณฑูร ทองตัน ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และนางจุรี โก้สกุล ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล ร่วมเวทีเสวนา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน ประชาสังคม นักเรียน และสื่อมวลชนเข้าร่วมจำนวนมาก
ทั้งนี้ การจัดเสวนาดังกล่าว สืบเนื่องจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)ได้คัดเลือกให้จังหวัดภูเก็ต เป็น 1 ใน 10 จังหวัดดีเด่นในโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูให้ศิษย์เชิดชู ยกย่องครูสอนดีภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกครูสอนดี และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจังหวัด และท้องถิ่นภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ได้ตั้งเป้าหมายการขับเคลื่อนการศึกษาของจังหวัดให้เป็นสภาการศึกษาจังหวัด โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม
นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต กล่าวตอนหนึ่งในเวทีเสวนาฯ ดังกล่าวว่า การมีส่วนร่วมเป็นจุดอ่อนของการศึกษา ซึ่งกฎหมายเขียนไว้ชัดเจน ว่า หลักของการจัดการศึกษาต้องให้สังคมทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วมจัดการศึกษา แต่เอาเข้าจริงแล้ว ส่วนนี้ถูกละเลยมาโดยตลอด โดยการศึกษาถูกมองว่าเป็นโรงเรียนที่จะต้องรับผิดชอบ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะการพัฒนาคนไม่ได้พัฒนาองค์ความรู้อย่างเดียว แต่ต้องพัฒนาองค์รวมในทุกๆ ด้าน และผู้ที่สำคัญ เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ลูกหลานได้รับการพัฒนาทางการศึกษา จนนำไปสู่การประสบความสำเร็จในทุกๆ เรื่อง มาจากพ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นสำคัญ
สิ่งหนึ่งที่ทางสำนักงานเขตพื้นที่ฯ กำลังทำคือ การแสวงหาความร่วมมือและสร้างความเข้าใจกับภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะผู้ปกครองที่จะต้องเข้ามีส่วนร่วม เพราะผู้ปกครองเป็นครูคนแรกของบุตรหลาน ของนักเรียน และเด็กมีโอกาสที่จะอยู่กับผู้ปกครองมากกว่าครูที่โรงเรียน เพราะฉะนั้น การจะสอนให้เด็กเป็นคนดีของสังคมก็ต้องเริ่มจากการสั่งสอนของผู้ปกครองให้รู้จักรับผิดชอบ ขณะนี้ก็กำลังระดมทีมผู้บริหารทั้งจังหวัดภูเก็ต ในส่วนที่รับผิดชอบทั้ง 49 โรงเรียน เพื่อที่จะเปลี่ยนแนวคิดของผู้ปกครองที่ยังมีความคิดว่าถ้าเด็กไม่ดีก็ต้องเกิดโรงเรียนเท่านั้น ก็ได้มีการทดลองนำร่องไปแล้วครั้งหนึ่ง ที่โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงศ์ โดยเชิญผู้ปกครองมาสร้างความเข้าใจ ให้ผู้ปกครองรู้ว่าตัวเองคือ บุคคลสำคัญที่สุดที่จะทำให้เด็กมีคุณภาพ
ขณะที่นายบัณฑูร ทองตัน ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังการเสวนาฯ ว่า สภาพปัญหาอุปสรรคของจังหวัดภูเก็ต ตนได้นำเสนอ สสค.ว่าจริงๆ แล้วเรายังมีปัญหา แม้ว่าการศึกษาของเด็กภูเก็ตจะมีค่าโอเน็ตดีกว่ามาตรฐานทั่วไป รวมถึงการเรียนต่อจะสูงกว่าชาวบ้านเขา แต่เราก็ยังมีปัญหา เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยเรียน เด็กติดยาเสพติด เด็กติดเกม เป็นต้น ก็เป็นสภาพปัญหาของสังคม แต่ว่าภูเก็ตมีไม่น้อย ในส่วนของสภาการศึกษาก็ทำโครงการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
นายบัณฑูร ยังได้กล่าวถึงการสะท้อนปัญหาของผู้ร่วมเวทีเสวนาด้วย ว่า จากเวทีเสวนามีปัญหาเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันของการศึกษา เช่น ขณะนี้โรงเรียนในเทศบาลนครภูเก็ต มีคนจากนอกพื้นที่เข้ามาเรียนเยอะ และในพื้นที่เองคนก็หายไป ตนได้นำเสนอว่าความจริงแล้วในการที่จะทำตรงนี้ น่าเป็นเรื่องของการที่มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในผู้บริหารท้องถิ่น ว่า เพราะเหตุใดโรงเรียนบางโรงเรียนถึงได้รับความนิยมมาก อาจจะเป็นเพราะความคิดเห็นทางด้านการศึกษาของผู้บริหารท้องถิ่นมองไม่เหมือนกัน แต่ถ้าได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แล้วก็ทำโมเดลที่ได้ผล ทำให้คนพอใจก็น่าจะประสบความสำเร็จ นี่เป็นจุดหนึ่งในการแก้ไขปัญหาว่าทำไมต้องมีการย้ายโรงเรียนมาอยู่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ตมากขึ้น