ปัตตานี - ผบ.ทบ.ลงพื้นที่ให้ขวัญ และกำลังใจกำลังพลในพื้นที่ เผยการหยุดก่อเหตุในเดือนรอมฎอนจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้กระทำ ต้องคอยดูว่าทำได้หรือไม่ หากไม่ได้ครั้งหน้าต้องคุยเรื่องอื่น
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.กล่าวว่า การมาในวันนี้ (19 มิ.ย.) ก็เพื่อมาให้ขวัญและกำลังใจกำลังพลในพื้นที่ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้สั่งการแล้วว่าให้ทางตนเฝ้าติดตามผลการดำเนินงานการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือเป็นที่น่ายินดีว่าที่ผ่านมาได้ใช้กำลังทหาร และตำรวจดำเนินการทำให้ในพื้นที่มีความปลอดภัยพอสมควร เพื่อให้ฝ่ายพัฒนาได้ลงพื้นที่ทำงานได้ ก็คงต้องใช้เวลา เนื่องจากให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา อย่างนั้นคงต้องใช้เวลาอย่างแน่นอน
ส่วนในเดือนรอมฎอนที่จะมาถึงนั้น การที่จะลดการก่อเหตุนั้นทางเราไม่ใช่ผู้ก่อเหตุ เพราะฉะนั้นฝ่ายใดที่เป็นผู้ก่อเหตุจะต้องลดการก่อเหตุให้ได้ การพูดคุยอย่าไปเป็นกังวล เพราะอย่างไรก็ต้องมีการพุดคุย เมื่อไหร่ที่ไหนก็ว่ากันไป แต่มันไม่ใช่เป็นการตอบรับ อย่าคิดว่าการพูดคุยเป็นการตอบรับมันไม่ใช่การตอบรับ คือ การเอาปัญหาทั้งสองฝ่ายมาพูดคุยกัน แล้วนำปัญหาให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเป็นผู้ตัดสินใจ และเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศด้วยที่จะร่วมกันตัดสินใจว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งถือเป็นกระบวนการประชาธิปไตย และก็เริ่มต้นว่าจะทำอะไรกัน และใช้เวลาเท่าไหร่ เช่น จะลดการก่อเหตุในเดือนรอมนฎอน เดือนหน้าตั่งแต่วันที่ 19 ก.ค.56 ค่อยดูว่าเขาจะทำได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้คราวหน้าก็คุยเรื่องอื่น
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.กล่าวว่า การมาในวันนี้ (19 มิ.ย.) ก็เพื่อมาให้ขวัญและกำลังใจกำลังพลในพื้นที่ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้สั่งการแล้วว่าให้ทางตนเฝ้าติดตามผลการดำเนินงานการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือเป็นที่น่ายินดีว่าที่ผ่านมาได้ใช้กำลังทหาร และตำรวจดำเนินการทำให้ในพื้นที่มีความปลอดภัยพอสมควร เพื่อให้ฝ่ายพัฒนาได้ลงพื้นที่ทำงานได้ ก็คงต้องใช้เวลา เนื่องจากให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา อย่างนั้นคงต้องใช้เวลาอย่างแน่นอน
ส่วนในเดือนรอมฎอนที่จะมาถึงนั้น การที่จะลดการก่อเหตุนั้นทางเราไม่ใช่ผู้ก่อเหตุ เพราะฉะนั้นฝ่ายใดที่เป็นผู้ก่อเหตุจะต้องลดการก่อเหตุให้ได้ การพูดคุยอย่าไปเป็นกังวล เพราะอย่างไรก็ต้องมีการพุดคุย เมื่อไหร่ที่ไหนก็ว่ากันไป แต่มันไม่ใช่เป็นการตอบรับ อย่าคิดว่าการพูดคุยเป็นการตอบรับมันไม่ใช่การตอบรับ คือ การเอาปัญหาทั้งสองฝ่ายมาพูดคุยกัน แล้วนำปัญหาให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเป็นผู้ตัดสินใจ และเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศด้วยที่จะร่วมกันตัดสินใจว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งถือเป็นกระบวนการประชาธิปไตย และก็เริ่มต้นว่าจะทำอะไรกัน และใช้เวลาเท่าไหร่ เช่น จะลดการก่อเหตุในเดือนรอมนฎอน เดือนหน้าตั่งแต่วันที่ 19 ก.ค.56 ค่อยดูว่าเขาจะทำได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้คราวหน้าก็คุยเรื่องอื่น