ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ปิดฉากประชุมวิชาการงานประชุมระดับผู้นำด้านน้ำฯ ประธานอนุกรรมการฯ แจงวันสุดท้ายสรุป 3 หัวข้อ “ระบบน้ำเสีย-สุขาภิบาล-เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ชี้ต้องทำงานให้เป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และเหมาะกับสังคมเศรษฐกิจ แจงเตรียมสรุปการประชุมทั้งหมด รวมถึงเวทีเยาวชน ก่อนส่งต่อ “ปลอดประสพ” นำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ต่อไป
วันนี้ (18 พ.ค.) รศ.ดร.อภิชาติ อนุกูลอำไพ ประธานคณะอนุกรรมการจัดการประชุมระดับผู้นำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 ด้านสารัตถะ เปิดเผยถึงภาพรวมของการจัดการประชุมทางวิชาการ หรือ Technical Workshop ในวันนี้ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมวิชาการว่า ช่วงเช้าที่ผ่านมา มีการประชุมกลุ่มย่อยในหลายหัวข้อสำคัญ เบื้องต้นสามารถสรุปผลการประชุมได้เพียง 3 หัวข้อ เนื่องจากหน่วยงานที่เหลือยังอยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล เพื่อสรุปภาพรวมของการประชุมทั้งหมดให้แก่ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี สำหรับใช้ในนำเสนอต่อผู้นำที่เข้าร่วมการประชุมในวันที่ 20 พ.ค. ที่จะถึงนี้
สำหรับหัวข้อสำคัญที่มีการสรุปผลแล้วได้แก่ 1.การจัดการระบบน้ำเสีย ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าจะต้องมีการดำเนินการจัดหาวิธีในการกำจัดน้ำเสียงอย่างเป็นระบบ โดยวิธีการจะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่จะเกิดกับภาคประชาชนในพื้นที่ชนบทเป็นหลัก
ขณะที่หัวข้อที่ 2.เรื่องสุขาภิบาล ที่ประชุมได้สรุปในเรื่องของการจัดทำแผนสำหรับการสุขาภิบาลที่ชัดเจน โดยจะต้องกำหนดนโยบายในระดับชาติ รวมทั้งต้องมีงบประมาณสนับสนุน เพื่อให้การสุขาภิบาลสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งจะต้องมีวางแผนให้ชัดเจน และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ส่วนหัวข้อที่ 3.การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สรุปว่าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ควรมีการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยจำเป็นจะต้องลงทุนในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้น้ำ ทั้งในด้านเกษตรและการประมง รวมถึงความจำเป็นของการพัฒนาน้ำในภาพรวม และในขณะเดียวกัน จะต้องไขปัญหาเรื่องความยากจนที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะตั้งเป้าขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไปภายในปี 2030 หรืออีก 17 ปี
รศ.ดร.อภิชาต กล่าวว่า การประชุมตลอดทั้ง 3 วัน ในทั้ง 7 ประเด็นจะมีการรวมข้อมูลทั้งหมด และทำการสรุป ซึ่งจะรวมถึงการประชุมของกลุ่มเยาวชนด้วย ก่อนจะส่งมอบบทสรุปให้แก่รองนายกรัฐมนตรีเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับเตรียมเสนอในที่ประชุมต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงงานทางด้านวิชาการไปยังผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในแต่ละหัวข้อ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นต่อไป
วันนี้ (18 พ.ค.) รศ.ดร.อภิชาติ อนุกูลอำไพ ประธานคณะอนุกรรมการจัดการประชุมระดับผู้นำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 ด้านสารัตถะ เปิดเผยถึงภาพรวมของการจัดการประชุมทางวิชาการ หรือ Technical Workshop ในวันนี้ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมวิชาการว่า ช่วงเช้าที่ผ่านมา มีการประชุมกลุ่มย่อยในหลายหัวข้อสำคัญ เบื้องต้นสามารถสรุปผลการประชุมได้เพียง 3 หัวข้อ เนื่องจากหน่วยงานที่เหลือยังอยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล เพื่อสรุปภาพรวมของการประชุมทั้งหมดให้แก่ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี สำหรับใช้ในนำเสนอต่อผู้นำที่เข้าร่วมการประชุมในวันที่ 20 พ.ค. ที่จะถึงนี้
สำหรับหัวข้อสำคัญที่มีการสรุปผลแล้วได้แก่ 1.การจัดการระบบน้ำเสีย ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าจะต้องมีการดำเนินการจัดหาวิธีในการกำจัดน้ำเสียงอย่างเป็นระบบ โดยวิธีการจะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่จะเกิดกับภาคประชาชนในพื้นที่ชนบทเป็นหลัก
ขณะที่หัวข้อที่ 2.เรื่องสุขาภิบาล ที่ประชุมได้สรุปในเรื่องของการจัดทำแผนสำหรับการสุขาภิบาลที่ชัดเจน โดยจะต้องกำหนดนโยบายในระดับชาติ รวมทั้งต้องมีงบประมาณสนับสนุน เพื่อให้การสุขาภิบาลสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งจะต้องมีวางแผนให้ชัดเจน และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ส่วนหัวข้อที่ 3.การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สรุปว่าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ควรมีการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยจำเป็นจะต้องลงทุนในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้น้ำ ทั้งในด้านเกษตรและการประมง รวมถึงความจำเป็นของการพัฒนาน้ำในภาพรวม และในขณะเดียวกัน จะต้องไขปัญหาเรื่องความยากจนที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะตั้งเป้าขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไปภายในปี 2030 หรืออีก 17 ปี
รศ.ดร.อภิชาต กล่าวว่า การประชุมตลอดทั้ง 3 วัน ในทั้ง 7 ประเด็นจะมีการรวมข้อมูลทั้งหมด และทำการสรุป ซึ่งจะรวมถึงการประชุมของกลุ่มเยาวชนด้วย ก่อนจะส่งมอบบทสรุปให้แก่รองนายกรัฐมนตรีเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับเตรียมเสนอในที่ประชุมต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงงานทางด้านวิชาการไปยังผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในแต่ละหัวข้อ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นต่อไป