ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ต ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด นำคณะเยือนรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เชื่อมความสัมพันธ์การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว พร้อมร่วมรำลึกถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ในโอกาสถึงแก่อสัญกรรมครบ 100 ปี

นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยภายหลังนำตัวแทนภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.) หอการค้า สภาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต สมาคมเพอรานากันภูเก็ต เยือนรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 10-12 พ.ค.2556 ตามโครงการอบรมเพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร รวมทั้งเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ และเพื่อร่วมรำลึกถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ในโอกาสถึงแก่อสัญกรรมครบ 100 ปี ว่า ในระหว่างวันที่ 10-12 พ.ค. จังหวัดภูเก็ต ร่วมองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดโครงการพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดภูเก็ต และรัฐปีนังขึ้น นอกจากนั้น ยังร่วมรำลึกถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ในโอกาสถึงแก่อสัญกรรมครบ 100 ปี โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม รวมทั้งทายาทของตระกูล ณ ระนอง ทั้งที่ปีนัง และกรุงเทพฯ มาร่วมงานกันประมาณ 100 คน

โดยได้รับเกียรติจาก นายกิติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธาน พร้อมด้วยกงสุล และทูตประจำรัฐปีนัง หลังจากนั้น รองนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) ต่อด้วยการประชุมของภาคเอกชนในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการค้า การลงทุน ร่วมถึงด้านอาหารฮาลาล และการท่องเที่ยว
นายไมตรี กล่าวต่อไปว่า สำหรับเมืองปีนัง และเมืองภูเก็ต มีความเกี่ยวโยงทางประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า 100 ปี สิ่งที่เหมือนกันคือ เรื่องของวัฒนธรรม เช่น เรื่องเพอรานากัน และเรื่องการตามรอยพระยารัษฎาฯ ด้วยกัน การเดินทางมาในครั้งนี้เดิมทางจังหวัดภูเก็ตมีความตั้งใจที่จะมาเชื่อมความสัมพันธ์กันในด้านการท่องเที่ยว การค้า อุตสาหกรรม เรื่องอาหาร และวัฒนาธรรม ซึ่งในการประชุมกันในครั้งนี้ก็ได้มีนักธุรกิจจากกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย หลายคนที่ให้ความสนใจเดินทางมาร่วมพบปะพูดคุย ร่วมถึงนักธุรกิจจากกรุงเทพฯ และภูเก็ต

“โดยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกรอบความร่วมมือ 3 ฝ่าย (IMP-GT) มีอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย เกี่ยวกับเรื่องอาหารฮาลาล การท่องเที่ยว เรื่องอุตสาหกรรมท่าเรือ เรื่องเกี่ยวกับการผ่านแดน กระบวนการเรื่องภาษีอากร เรื่องเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างกัน และจะมีการประชุมครั้งต่อไปที่จังหวัดภูเก็ต โดยจังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพ”
นายธนูศักดิ์ พึ่งเดช รองประธานหอการค้าฯ กล่าวว่า ในการมาร่วมงานครั้งนี้ เพื่อร่วมสัมมนาทั้งด้านวัฒนธรรมที่ข้องเกี่ยวระหว่างปีนังกับภูเก็ต รวมทั้งมีการหารือด้านอุตสาหกรรม การค้า ที่จะมาดำเนินธุรกิจในจังหวัดภูเก็ตร่วมกัน และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ 2 เมืองระหว่างปีนัง และภูเก็ตมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งความชัดเจนนั้นจะต้องมาคุยกันอีกครั้งที่จังหวัดภูเก็ต โดยทางปีนังขอให้ทางทางภูเก็ตเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมพบปะกันอีกครั้ง ทางหอการค้าจังหวัดภูเก็ตก็จะได้เป็นองค์กรหนึ่งที่จะร่วมผลักดันให้โครงการนี้ได้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้ปีนัง และภูเก็ตเป็นบ้านพี่เมืองน้องอีกเมืองหนึ่ง เชื่อว่าหลายหน่วยงานที่เดินทางร่วมไปในครั้งนี้จะร่วมกันผลักดัน

ด้านนายกิติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการเชื่อมภูเก็ตกับปีนัง ว่า ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวในระดับโลก ขณะที่ปีนังเป็นเมืองการพาณิชย์ ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทั้ง 2 เกาะอยู่ไม่ห่างกัน ซึ่งแต่เดิมภูเก็ตเน้นต้อนรับนักท่องเที่ยวทางอากาศ จากซีกโลกตะวันตก ปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนสามารถรับนักท่องเที่ยวในแถบเอเชีย และในการที่ชาวภูเก็ตจะทำงานและร่วมมือกับทางปีนังในด้านการพาณิชย์ การขนส่ง นับเป็นเรื่องที่ดี จึงได้จัดให้มีการปรึกษาหารือกันระหว่างภาคธุรกิจไทยของภูเก็ต และนักธุรกิจของประเทศมาเลเซียมาปรึกษาหารือกันว่าอะไรที่เป็นประโยชน์ร่วม
ปีนังมีท่าเรือที่สามารถรองรับเรือเดินสมุทรที่ขนส่งนักท่องเที่ยวที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้ ภูเก็ตเราไม่มีท่าเรือที่สามารถให้บริการและรองรับได้ ฉะนั้น จุดนี้เราก็ต้องมาดูว่าภูเก็ตควรจะมีสิ่งนี้หรือเปล่า เพื่อที่รับต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เดินทางไปแวะปีนัง และต้องการเดินทางต่อมาเที่ยวที่ภูเก็ต ซึ่งปัจจุบัน นักท่องเที่ยวมาครั้งหนึ่งก็อยากจะเห็นอะไรที่หลากหลาย การให้บริการในเรื่องของการทัศนาจรทางเรือต้องพัฒนา ซึ่งรัฐบาลก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุน

“ปัญหาของภูเก็ตที่มีก็เพราะว่าในอดีตไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า รอจนมีปัญหาถึงจะมาพูดคุยกัน ถึงขณะนี้ผมเองก็ยังไม่เห็นเลยว่ามีการพูดจากันให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร และเรื่องบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่สามารถจะพัฒนาให้เชื่อมโยงกับจุดอื่นๆ ได้ ซึ่งก็จะสามารถเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยได้ด้วย เพราะฉะนั้น สิ่งต่างๆ ที่เรียกว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ต้องรีบคิดตั้งแต่เดียวนี้ จะเอาอะไรก็พูดมาให้ชัดเจน รัฐบาลปัจจุบันถึงได้มองไปข้างหน้าที่ไกลๆ เช่น การปรับปรุงสนามบิน การปรับปรุงท่าเรือ การปรับปรุงการขนส่งทางบก และทางราง มันสำคัญทั้งนั้น ที่ทางรัฐบาลให้ความสำคัญในทุกภูมิภาคของประเทศไทย” รองนายกรัฐมนตรีกล่าวในที่สุด
นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยภายหลังนำตัวแทนภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.) หอการค้า สภาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต สมาคมเพอรานากันภูเก็ต เยือนรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 10-12 พ.ค.2556 ตามโครงการอบรมเพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร รวมทั้งเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ และเพื่อร่วมรำลึกถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ในโอกาสถึงแก่อสัญกรรมครบ 100 ปี ว่า ในระหว่างวันที่ 10-12 พ.ค. จังหวัดภูเก็ต ร่วมองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดโครงการพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากร เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัดภูเก็ต และรัฐปีนังขึ้น นอกจากนั้น ยังร่วมรำลึกถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ในโอกาสถึงแก่อสัญกรรมครบ 100 ปี โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม รวมทั้งทายาทของตระกูล ณ ระนอง ทั้งที่ปีนัง และกรุงเทพฯ มาร่วมงานกันประมาณ 100 คน
โดยได้รับเกียรติจาก นายกิติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธาน พร้อมด้วยกงสุล และทูตประจำรัฐปีนัง หลังจากนั้น รองนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้) ต่อด้วยการประชุมของภาคเอกชนในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการค้า การลงทุน ร่วมถึงด้านอาหารฮาลาล และการท่องเที่ยว
นายไมตรี กล่าวต่อไปว่า สำหรับเมืองปีนัง และเมืองภูเก็ต มีความเกี่ยวโยงทางประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า 100 ปี สิ่งที่เหมือนกันคือ เรื่องของวัฒนธรรม เช่น เรื่องเพอรานากัน และเรื่องการตามรอยพระยารัษฎาฯ ด้วยกัน การเดินทางมาในครั้งนี้เดิมทางจังหวัดภูเก็ตมีความตั้งใจที่จะมาเชื่อมความสัมพันธ์กันในด้านการท่องเที่ยว การค้า อุตสาหกรรม เรื่องอาหาร และวัฒนาธรรม ซึ่งในการประชุมกันในครั้งนี้ก็ได้มีนักธุรกิจจากกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย หลายคนที่ให้ความสนใจเดินทางมาร่วมพบปะพูดคุย ร่วมถึงนักธุรกิจจากกรุงเทพฯ และภูเก็ต
“โดยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกรอบความร่วมมือ 3 ฝ่าย (IMP-GT) มีอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย เกี่ยวกับเรื่องอาหารฮาลาล การท่องเที่ยว เรื่องอุตสาหกรรมท่าเรือ เรื่องเกี่ยวกับการผ่านแดน กระบวนการเรื่องภาษีอากร เรื่องเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างกัน และจะมีการประชุมครั้งต่อไปที่จังหวัดภูเก็ต โดยจังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพ”
นายธนูศักดิ์ พึ่งเดช รองประธานหอการค้าฯ กล่าวว่า ในการมาร่วมงานครั้งนี้ เพื่อร่วมสัมมนาทั้งด้านวัฒนธรรมที่ข้องเกี่ยวระหว่างปีนังกับภูเก็ต รวมทั้งมีการหารือด้านอุตสาหกรรม การค้า ที่จะมาดำเนินธุรกิจในจังหวัดภูเก็ตร่วมกัน และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ 2 เมืองระหว่างปีนัง และภูเก็ตมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งความชัดเจนนั้นจะต้องมาคุยกันอีกครั้งที่จังหวัดภูเก็ต โดยทางปีนังขอให้ทางทางภูเก็ตเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมพบปะกันอีกครั้ง ทางหอการค้าจังหวัดภูเก็ตก็จะได้เป็นองค์กรหนึ่งที่จะร่วมผลักดันให้โครงการนี้ได้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้ปีนัง และภูเก็ตเป็นบ้านพี่เมืองน้องอีกเมืองหนึ่ง เชื่อว่าหลายหน่วยงานที่เดินทางร่วมไปในครั้งนี้จะร่วมกันผลักดัน
ด้านนายกิติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการเชื่อมภูเก็ตกับปีนัง ว่า ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวในระดับโลก ขณะที่ปีนังเป็นเมืองการพาณิชย์ ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทั้ง 2 เกาะอยู่ไม่ห่างกัน ซึ่งแต่เดิมภูเก็ตเน้นต้อนรับนักท่องเที่ยวทางอากาศ จากซีกโลกตะวันตก ปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนสามารถรับนักท่องเที่ยวในแถบเอเชีย และในการที่ชาวภูเก็ตจะทำงานและร่วมมือกับทางปีนังในด้านการพาณิชย์ การขนส่ง นับเป็นเรื่องที่ดี จึงได้จัดให้มีการปรึกษาหารือกันระหว่างภาคธุรกิจไทยของภูเก็ต และนักธุรกิจของประเทศมาเลเซียมาปรึกษาหารือกันว่าอะไรที่เป็นประโยชน์ร่วม
ปีนังมีท่าเรือที่สามารถรองรับเรือเดินสมุทรที่ขนส่งนักท่องเที่ยวที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้ ภูเก็ตเราไม่มีท่าเรือที่สามารถให้บริการและรองรับได้ ฉะนั้น จุดนี้เราก็ต้องมาดูว่าภูเก็ตควรจะมีสิ่งนี้หรือเปล่า เพื่อที่รับต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เดินทางไปแวะปีนัง และต้องการเดินทางต่อมาเที่ยวที่ภูเก็ต ซึ่งปัจจุบัน นักท่องเที่ยวมาครั้งหนึ่งก็อยากจะเห็นอะไรที่หลากหลาย การให้บริการในเรื่องของการทัศนาจรทางเรือต้องพัฒนา ซึ่งรัฐบาลก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุน
“ปัญหาของภูเก็ตที่มีก็เพราะว่าในอดีตไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า รอจนมีปัญหาถึงจะมาพูดคุยกัน ถึงขณะนี้ผมเองก็ยังไม่เห็นเลยว่ามีการพูดจากันให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร และเรื่องบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่สามารถจะพัฒนาให้เชื่อมโยงกับจุดอื่นๆ ได้ ซึ่งก็จะสามารถเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยได้ด้วย เพราะฉะนั้น สิ่งต่างๆ ที่เรียกว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ต้องรีบคิดตั้งแต่เดียวนี้ จะเอาอะไรก็พูดมาให้ชัดเจน รัฐบาลปัจจุบันถึงได้มองไปข้างหน้าที่ไกลๆ เช่น การปรับปรุงสนามบิน การปรับปรุงท่าเรือ การปรับปรุงการขนส่งทางบก และทางราง มันสำคัญทั้งนั้น ที่ทางรัฐบาลให้ความสำคัญในทุกภูมิภาคของประเทศไทย” รองนายกรัฐมนตรีกล่าวในที่สุด