ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา ม.หาดใหญ่ สรุปผลสำรวจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองช่วงเปิดเทอมใหม่พบว่า เจอปัญหาค่าครองชีพสูง ทำรายได้ไม่เพียงพอ สินค้าอุปโภคบริโภคขึ้นราคา ผลกระทบช่วงเปิดเทอมคือ ค่าหนังสือ และค่าอุปกรณ์การเรียนราคาสูงขึ้น
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้ เป็นประชาชนในจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 1,002 คน โดยใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 6-9 พฤษภาคม 2556 สรุปผลการสำรวจดังนี้
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57.7) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 43.5) รองลงมา อายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 24.4) และอายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 23.1) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพพนักงานบริษัท/รับจ้าง (ร้อยละ 32.0) รองลงมา อาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 20.1) ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย(ร้อยละ 19.5) และข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 15.9) ตามลำดับ
ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 20,710 บาทต่อเดือน และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เป็นเงินประมาณ 1,938 บาทต่อเดือน คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.35 ของรายได้ต่อเดือน ทั้งนี้ ประชาชนเห็นว่าปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายโดยรวมของครอบครัวในระดับปานกลาง (ร้อยละ 46.3) รองลงมา ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของครอบครัวในระดับมาก (ร้อยละ 40.9 ) และส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของครอบครัวในระดับน้อย (ร้อยละ 12.8)
นอกจากนี้ ค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้รายได้ของประชาชนไม่เพียงพอ (ร้อยละ 66.8) ทั้งนี้ ประชาชนเห็นว่าปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็นปัญหาที่กระทบต่อค่าครองชีพมากที่สุด (ร้อยละ 68.2) รองลงมา เป็นปัญหาราคาน้ำมันแพง (ร้อยละ 21.8) ปัญหาราคาข้าวที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 6.9) และปัญหาค่าใช้จ่ายในการศึกษา (ร้อยละ 3.1)
ประชาชนส่วนใหญ่มีสมาชิกในครัวเรือนอย่างน้อย 1 คน ที่อยู่ในวัยเรียน (ร้อยละ 63.1) โดยที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากการเปิดเทอมของบุตรหลาน (ร้อยละ 55.0) เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าหนังสือ และอุปกรณ์การเรียนเพิ่มสูงขึ้น มากที่สุด (ร้อยละ 71.6) รองลงมา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา (ร้อยละ 71.5) และค่าอาหาร (ร้อยละ 71.1)
ประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สินต่อครัวเรือน (ร้อยละ 73.9 ) และประชาชนไม่มีหนี้สินต่อครัวเรือน (ร้อยละ 28.3) ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึงแหล่งที่มาของเงินกู้ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่กู้เงินผ่านธนาคารมากที่สุด (ร้อยละ 64.5) รองลงมา คือ ยืมหรือกู้ผ่านญาติ/เพื่อนและคนรู้จัก (ร้อยละ 35.5) กู้ผ่านบัตรเครดิต/อิออน/เฟิร์สช้อยส์ (ร้อยละ 32.5) และสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) (ร้อยละ 12.8)
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้ เป็นประชาชนในจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 1,002 คน โดยใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 6-9 พฤษภาคม 2556 สรุปผลการสำรวจดังนี้
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57.7) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 43.5) รองลงมา อายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 24.4) และอายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 23.1) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพพนักงานบริษัท/รับจ้าง (ร้อยละ 32.0) รองลงมา อาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 20.1) ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย(ร้อยละ 19.5) และข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 15.9) ตามลำดับ
ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 20,710 บาทต่อเดือน และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เป็นเงินประมาณ 1,938 บาทต่อเดือน คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.35 ของรายได้ต่อเดือน ทั้งนี้ ประชาชนเห็นว่าปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายโดยรวมของครอบครัวในระดับปานกลาง (ร้อยละ 46.3) รองลงมา ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของครอบครัวในระดับมาก (ร้อยละ 40.9 ) และส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของครอบครัวในระดับน้อย (ร้อยละ 12.8)
นอกจากนี้ ค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้รายได้ของประชาชนไม่เพียงพอ (ร้อยละ 66.8) ทั้งนี้ ประชาชนเห็นว่าปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็นปัญหาที่กระทบต่อค่าครองชีพมากที่สุด (ร้อยละ 68.2) รองลงมา เป็นปัญหาราคาน้ำมันแพง (ร้อยละ 21.8) ปัญหาราคาข้าวที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 6.9) และปัญหาค่าใช้จ่ายในการศึกษา (ร้อยละ 3.1)
ประชาชนส่วนใหญ่มีสมาชิกในครัวเรือนอย่างน้อย 1 คน ที่อยู่ในวัยเรียน (ร้อยละ 63.1) โดยที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากการเปิดเทอมของบุตรหลาน (ร้อยละ 55.0) เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าหนังสือ และอุปกรณ์การเรียนเพิ่มสูงขึ้น มากที่สุด (ร้อยละ 71.6) รองลงมา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา (ร้อยละ 71.5) และค่าอาหาร (ร้อยละ 71.1)
ประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สินต่อครัวเรือน (ร้อยละ 73.9 ) และประชาชนไม่มีหนี้สินต่อครัวเรือน (ร้อยละ 28.3) ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึงแหล่งที่มาของเงินกู้ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่กู้เงินผ่านธนาคารมากที่สุด (ร้อยละ 64.5) รองลงมา คือ ยืมหรือกู้ผ่านญาติ/เพื่อนและคนรู้จัก (ร้อยละ 35.5) กู้ผ่านบัตรเครดิต/อิออน/เฟิร์สช้อยส์ (ร้อยละ 32.5) และสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) (ร้อยละ 12.8)