ระนอง - นักวิชาการชี้เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พม่าน่าจับตามอง ขณะที่ระนองเป็นทำเลที่ได้เปรียบ จากนโยบาย AEC และ BEMSTEC (บีมส์เทค)
วันนี้ (8 พ.ค.) จังหวัดระนอง ได้จัดให้มีการบรรยายตามโครงการเพิ่มศักยภาพบุคลากรภาครัฐในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจังหวัดระนอง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ โหราชัยกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรบรรยาย ที่เฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น อ.เมือง จังหวัดระนอง เป็นผู้บรรยายพิเศษ โดยใจความส่วนหนึ่งของการบรรยาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ ได้วิเคราะห์ว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ทั้ง 3 เสาหลัก ความมั่นคง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เสาด้านเศรษฐกิจถือเป็นเสาหลักที่ประเทศไทยต้องเตรียมตั้งรับผลกระทบที่จะตามมาอย่างเป็นระบบ
ปัญหาของประเทศไทย คือ การหาเจ้าภาพในการประเมินผลกระทบก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การรองรับการเคลื่อนไหวของทุนเสรีที่จะเข้าในประเทศไทย สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ภาคเกษตรกรรม เพราะประเทศไทยมีศักยภาพ และพื้นที่ในการทำเกษตร ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์ เพราะในอนาคตบรรษัทข้ามชาติจะเน้นเรือง GMO เป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านแรงงานต่างด้าว เราไม่ควรรังเกียจแรงงานต่างด้าว แต่ควรมีการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบมากกว่า
สิ่งที่น่าจับตามองอีกอย่าง คือ โครงการท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย และเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับพม่า เป็นอภิมหาโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า คาดการณ์กันว่า หากโครงการนี้แล้วเสร็จจะเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gate Way) แห่งใหม่ของโลกตะวันตก และตะวันออก
โครงการนี้ถือเป็นศูนย์กลางระบบลอจิสติกส์ และการค้าขนาดใหญ่ของภูมิภาค เชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศในแถบทะเลจีนใต้ ผ่านทะเลอันดามัน ไปสู่มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถส่งสินค้าทั้งไปและกลับทางน้ำผ่านไปสู่กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุน และระยะเวลาในการขนส่งได้อย่างมีนัยสำคัญ ช่วยพัฒนาการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เจริญเติบโตในระยะยาวต่อไป
จังหวัดระนอง ถือเป็นทำเลยุทธศาสตร์ที่ตั้งสำคัญของประเทศไทย เพราะมีชายแดนติดกับพม่า หากมีการตั้งรับ และเตรียมความพร้อมที่ดี เช่น มีการกำหนดโซนนิ่งพื้นที่อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อวางตำแหน่งที่เหมาะสมให้แก่จังหวัดระนอง เพื่อรองรับ AEC และความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC มีจุดเด่น คือ เป็นเวทีเชื่อมประสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียใต้ในอนาคต
วันนี้ (8 พ.ค.) จังหวัดระนอง ได้จัดให้มีการบรรยายตามโครงการเพิ่มศักยภาพบุคลากรภาครัฐในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจังหวัดระนอง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ โหราชัยกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรบรรยาย ที่เฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น อ.เมือง จังหวัดระนอง เป็นผู้บรรยายพิเศษ โดยใจความส่วนหนึ่งของการบรรยาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ ได้วิเคราะห์ว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ทั้ง 3 เสาหลัก ความมั่นคง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เสาด้านเศรษฐกิจถือเป็นเสาหลักที่ประเทศไทยต้องเตรียมตั้งรับผลกระทบที่จะตามมาอย่างเป็นระบบ
ปัญหาของประเทศไทย คือ การหาเจ้าภาพในการประเมินผลกระทบก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การรองรับการเคลื่อนไหวของทุนเสรีที่จะเข้าในประเทศไทย สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ภาคเกษตรกรรม เพราะประเทศไทยมีศักยภาพ และพื้นที่ในการทำเกษตร ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์ เพราะในอนาคตบรรษัทข้ามชาติจะเน้นเรือง GMO เป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านแรงงานต่างด้าว เราไม่ควรรังเกียจแรงงานต่างด้าว แต่ควรมีการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบมากกว่า
สิ่งที่น่าจับตามองอีกอย่าง คือ โครงการท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย และเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับพม่า เป็นอภิมหาโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า คาดการณ์กันว่า หากโครงการนี้แล้วเสร็จจะเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gate Way) แห่งใหม่ของโลกตะวันตก และตะวันออก
โครงการนี้ถือเป็นศูนย์กลางระบบลอจิสติกส์ และการค้าขนาดใหญ่ของภูมิภาค เชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศในแถบทะเลจีนใต้ ผ่านทะเลอันดามัน ไปสู่มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถส่งสินค้าทั้งไปและกลับทางน้ำผ่านไปสู่กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุน และระยะเวลาในการขนส่งได้อย่างมีนัยสำคัญ ช่วยพัฒนาการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เจริญเติบโตในระยะยาวต่อไป
จังหวัดระนอง ถือเป็นทำเลยุทธศาสตร์ที่ตั้งสำคัญของประเทศไทย เพราะมีชายแดนติดกับพม่า หากมีการตั้งรับ และเตรียมความพร้อมที่ดี เช่น มีการกำหนดโซนนิ่งพื้นที่อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อวางตำแหน่งที่เหมาะสมให้แก่จังหวัดระนอง เพื่อรองรับ AEC และความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC มีจุดเด่น คือ เป็นเวทีเชื่อมประสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียใต้ในอนาคต