สุราษฎร์ธานี - สุราษฎร์ธานีจัดมหกรรมปาล์มน้ำมันไทยแลนด์เพื่อให้เกษตกรชาวสวนปาล์มตื่นตัวรับสถานการณ์ราคาตกต่ำ และปรับปรุงผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มมูลค่า รับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (23 เม.ย.) ที่สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด (CI–OP) ดร.กนก คติการ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทนนายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานมหกรรมปาล์มน้ำมันไทยแลนด์สุราษฎร์ธานี 2556 โดยมีเกษตรกรณ์ชาวสวนปาล์มจากภาคใต้ตอนบนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ดร.กนก ได้กล่าวในการประชุมว่า กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยได้ให้ความสำคัญกับนโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรี และนำมาเป็นกรอบแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิต และเพิ่มผลผลิตต่อไรของปาล์มน้ำมัน ภายใต้โกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามหลัก 5 ดี พร้อมกันนี้ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจำเป็นต้องเชื่อมโยงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในระดับนโยบายกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค และภูมิภาคอาเซียนในปี 2558
ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกรผู้ผลิตทุกสาขา องค์กรวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าเกษตรหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคเกษตร จำเป็นต้องปรับตัวรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน และในการปรับตัว การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผลผลิต ต้นทุนต่ำ กำไรสูง เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้ ในยุคการค้าเสรี หรือ AEC โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดงานมหกรรมปาล์มน้ำมันไทยแลนด์สุราษฎร์ธานี 2556 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเรียนรู้ในเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่อไป
ด้านนายชะลอศักดิ์ วาณิชย์เจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า จากนโยบายและมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง โดยมีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด ได้นำมาเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษกิจด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคการเกษตร โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ซึ่งมีฐานการผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยปาล์มน้ำมันมีพื้นที่ปลูกรวม 2,064,813 ไร่ ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงานทดแทนในสถานการณ์ราคาน้ำมันมีแนวโน้มการเคลื่อนไหวสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกัน สถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมันของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้รับผลกระทบจากสภาวะราคาผลผลิตตกต่ำอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าทางจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้ดำเนินแก้ไขปัญหามาโดยตลอด โดยการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตทั้งระบบ เป้าหมายสูงสุดคือ การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ และยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้นเพื่อสร้างรายได้เพิ่มแก่เกษตรกร
และเพื่อให้ยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภายใต้นโยบายรัฐบาล เกิดการขับเคลื่อน สู่การปฎิบัติ สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และกระจายโอกาสการรับรู้ในเทคโนโลยี การผลิตสมัยใหม่แก่เกษตรกร โดยใช้ 5 ดี พื้นที่ดี พันธุ์ดี การดูแลรักษาดี การเก็บเกี่ยวดี และสิ่งแวดล้อมดี โดยกำหนดจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 เมษายน 2556 ณ บริเวณสหกรณ์สุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยภายในงานประกอบด้วย กิจกรรมการจัดนิทรรศการทั้งภายนอก ภายในอาคารตลาดเกษตร การสัมมนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ โอกาสและความท้าทายในการพัฒนาปาล์มน้ำมันไทยในเวทีอาเซียน การจัดสวนปาล์มอย่างไรจึงจะรวย พันธุ์ปาล์มน้ำมันเมืองไทยมาตรฐานเทียบเท่าสากลจริงหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะมีเกษตรกรเข้าเยี่ยมชมงานประมาณ 25,000 คน
เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (23 เม.ย.) ที่สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด (CI–OP) ดร.กนก คติการ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทนนายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานมหกรรมปาล์มน้ำมันไทยแลนด์สุราษฎร์ธานี 2556 โดยมีเกษตรกรณ์ชาวสวนปาล์มจากภาคใต้ตอนบนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ดร.กนก ได้กล่าวในการประชุมว่า กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยได้ให้ความสำคัญกับนโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรี และนำมาเป็นกรอบแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิต และเพิ่มผลผลิตต่อไรของปาล์มน้ำมัน ภายใต้โกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามหลัก 5 ดี พร้อมกันนี้ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจำเป็นต้องเชื่อมโยงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในระดับนโยบายกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค และภูมิภาคอาเซียนในปี 2558
ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกรผู้ผลิตทุกสาขา องค์กรวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าเกษตรหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคเกษตร จำเป็นต้องปรับตัวรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน และในการปรับตัว การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผลผลิต ต้นทุนต่ำ กำไรสูง เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้ ในยุคการค้าเสรี หรือ AEC โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดงานมหกรรมปาล์มน้ำมันไทยแลนด์สุราษฎร์ธานี 2556 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเรียนรู้ในเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่อไป
ด้านนายชะลอศักดิ์ วาณิชย์เจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า จากนโยบายและมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง โดยมีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด ได้นำมาเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษกิจด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคการเกษตร โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ซึ่งมีฐานการผลิตหลักอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยปาล์มน้ำมันมีพื้นที่ปลูกรวม 2,064,813 ไร่ ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงานทดแทนในสถานการณ์ราคาน้ำมันมีแนวโน้มการเคลื่อนไหวสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกัน สถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมันของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้รับผลกระทบจากสภาวะราคาผลผลิตตกต่ำอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าทางจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้ดำเนินแก้ไขปัญหามาโดยตลอด โดยการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตทั้งระบบ เป้าหมายสูงสุดคือ การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ และยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้นเพื่อสร้างรายได้เพิ่มแก่เกษตรกร
และเพื่อให้ยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภายใต้นโยบายรัฐบาล เกิดการขับเคลื่อน สู่การปฎิบัติ สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และกระจายโอกาสการรับรู้ในเทคโนโลยี การผลิตสมัยใหม่แก่เกษตรกร โดยใช้ 5 ดี พื้นที่ดี พันธุ์ดี การดูแลรักษาดี การเก็บเกี่ยวดี และสิ่งแวดล้อมดี โดยกำหนดจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 เมษายน 2556 ณ บริเวณสหกรณ์สุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยภายในงานประกอบด้วย กิจกรรมการจัดนิทรรศการทั้งภายนอก ภายในอาคารตลาดเกษตร การสัมมนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ โอกาสและความท้าทายในการพัฒนาปาล์มน้ำมันไทยในเวทีอาเซียน การจัดสวนปาล์มอย่างไรจึงจะรวย พันธุ์ปาล์มน้ำมันเมืองไทยมาตรฐานเทียบเท่าสากลจริงหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะมีเกษตรกรเข้าเยี่ยมชมงานประมาณ 25,000 คน