ตรัง - เทศกาลสงกรานต์ปี 2556 หมูย่างเมืองตรังขายดี นักเที่ยวแห่ซื้อจนขาดตลาด และย่างไม่ทัน ทำให้ยอดขายพุ่งร้อยละ 50 ผู้ประกอบการยิ้มแก้มปริ
นายประเสริฐ น้ำผุด อายุ 48 ปี เจ้าของร้านตรังหมูย่าง และอดีตประธานชมรมผู้ประกอบการหมูย่างจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ มีวันหยุดยาวหลายวัน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติได้ถือโอกาสเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยัง จ.ตรัง เป็นจำนวนมาก โดยในช่วงดังกล่าว ทางร้านได้สำรองหมูย่างเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 7-8 ตัว จากปกติย่างวันละ 3-4 ตัว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อติดมือกลับไปเป็นของฝากในช่วงวันเดินทางกลับ ซึ่งก็ขายหมดเกลี้ยงทุกวัน แม้ว่าหมูย่างจะมีราคาแพงถึง กก.ละ 400 บาทก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จนหมูย่างขาดตลาด ส่งผลให้ในช่วงดังกล่าวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่วงปกติร้อยละ 50
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วแตกต่างกันกันอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาหมูเป็นมีการปรับราคาแพง กก.ละ 88 บาท ทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้าที่จะย่างหมูขายในช่วงเทศกาลเพิ่มจากช่วงปกติ เพราะแบกรับราคาหมูแพงไม่ไหว จึงต้องย่างให้น้อยลง ประกอบกับปีที่แล้วมีวันหยุดน้อยด้วย นักท่องเที่ยวก็ไม่มากนัก ทำให้มีรายได้แค่ร้อยละ 20-30
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปีนี้หมูเป็นได้ปรับราคาเพิ่มแค่ กก.ละ 8 บาท ทำให้ราคาอยู่ที่ กก.ละ 75-78 บาท ซึ่งถือว่ายังเป็นราคาที่พอจะรับได้ ผู้ประกอบการจึงพากันสำรองย่างหมูเพิ่มขึ้นเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นอกจากนั้น การที่หน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของ จ.ตรัง ผ่านทางสื่อ และโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างแพร่หลายกันล่วงหน้า ทำให้นักท่องเที่ยวต่างแห่กันมาท่องเที่ยว จ.ตรัง กันจำนวนมาก
นอกจากนี้ เจ้าของร้านตรังหมูย่างยังกล่าวถึงกรณีที่มีการร้องเรียนว่า ชาวตรังบางคนที่ไปประกอบอาชีพขายหมูย่างที่ กทม. ได้มีการเปลี่ยนแปลงสูตรการทำหมูย่างของแท้ โดยมีการต้มหมู แล้วนำไปย่างใส่ส่วนผสม และยังมีน้ำจิ้มด้วยนั้น ในส่วนของ จ.ตรัง ยังไม่พบการกระทำดังกล่าว พร้อมยืนยันว่าหมูย่างที่ จ.ตรัง ทุกตัวมีมาตรฐาน รสชาติอร่อย และยังเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
นายประเสริฐ น้ำผุด อายุ 48 ปี เจ้าของร้านตรังหมูย่าง และอดีตประธานชมรมผู้ประกอบการหมูย่างจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ มีวันหยุดยาวหลายวัน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติได้ถือโอกาสเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยัง จ.ตรัง เป็นจำนวนมาก โดยในช่วงดังกล่าว ทางร้านได้สำรองหมูย่างเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 7-8 ตัว จากปกติย่างวันละ 3-4 ตัว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อติดมือกลับไปเป็นของฝากในช่วงวันเดินทางกลับ ซึ่งก็ขายหมดเกลี้ยงทุกวัน แม้ว่าหมูย่างจะมีราคาแพงถึง กก.ละ 400 บาทก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จนหมูย่างขาดตลาด ส่งผลให้ในช่วงดังกล่าวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่วงปกติร้อยละ 50
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วแตกต่างกันกันอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาหมูเป็นมีการปรับราคาแพง กก.ละ 88 บาท ทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้าที่จะย่างหมูขายในช่วงเทศกาลเพิ่มจากช่วงปกติ เพราะแบกรับราคาหมูแพงไม่ไหว จึงต้องย่างให้น้อยลง ประกอบกับปีที่แล้วมีวันหยุดน้อยด้วย นักท่องเที่ยวก็ไม่มากนัก ทำให้มีรายได้แค่ร้อยละ 20-30
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปีนี้หมูเป็นได้ปรับราคาเพิ่มแค่ กก.ละ 8 บาท ทำให้ราคาอยู่ที่ กก.ละ 75-78 บาท ซึ่งถือว่ายังเป็นราคาที่พอจะรับได้ ผู้ประกอบการจึงพากันสำรองย่างหมูเพิ่มขึ้นเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นอกจากนั้น การที่หน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของ จ.ตรัง ผ่านทางสื่อ และโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างแพร่หลายกันล่วงหน้า ทำให้นักท่องเที่ยวต่างแห่กันมาท่องเที่ยว จ.ตรัง กันจำนวนมาก
นอกจากนี้ เจ้าของร้านตรังหมูย่างยังกล่าวถึงกรณีที่มีการร้องเรียนว่า ชาวตรังบางคนที่ไปประกอบอาชีพขายหมูย่างที่ กทม. ได้มีการเปลี่ยนแปลงสูตรการทำหมูย่างของแท้ โดยมีการต้มหมู แล้วนำไปย่างใส่ส่วนผสม และยังมีน้ำจิ้มด้วยนั้น ในส่วนของ จ.ตรัง ยังไม่พบการกระทำดังกล่าว พร้อมยืนยันว่าหมูย่างที่ จ.ตรัง ทุกตัวมีมาตรฐาน รสชาติอร่อย และยังเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ