ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 จัดรับฟังความเห็นคน 6 จังหวัดอันดามัน เตรียมพัฒนาท่าเทียบเรือ เน้นทันสมัย ปลอดภัย พร้อมเชื่อมต่อระบบการเดินทางสู่ประเทศเพื่อนบ้าน สานฝันรัฐบาลใช้เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท นำมาใช้ลงทุนกับแผนงานโครงการพื้นฐานขนาดใหญ่ทั่วทั้งประเทศ
เมื่อเวลา 13.30 น. วันนี้ (20 มี.ค.) ที่ห้องใบเรือ โรงแรมโบ๊ท ลากูน รีสอร์ท ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายวิชัย คำคง ผู้อำนวยการเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 เป็นประธานเปิดงานประชุมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะตามโครงการ “การศึกษาความต้องการเพื่อการพัฒนาท่าเทียบเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว” โดยมี นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งข้าราชการ หน่วยงานเอกชน และผู้ประกอบการ เข้าร่วมรับฟัง และเสนอแนวความคิดกันอย่างพร้อมเพรียง
นายวิชัย กล่าวว่า การจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามันเพื่อเปิดรับฟังข้อเสนอแนะของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้ร่วมกันพัฒนาปรับปรุงบริเวณท่าเทียบเรือที่อยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน ซึ่งที่ผ่านมา ได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ มาแล้ว 5 จังหวัด สำหรับพื้นที่จังหวัดภูเก็ตนั้น เป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 6 ซึ่งเป็นจังหวัดสุดท้าย เพื่อรับความคิดเห็นของคนภูเก็ตเกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาท่าเทียบเรือในพื้นที่ เพื่อที่ทางกรมเจ้าท่าจะนำไปทำแผนพัฒนา เพื่อรองรับกรณีรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้มีมติเห็นชอบในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินกู้จำนวน 2.2 ล้านล้านบาท เป็นเงินงบประมาณที่จะนำมาใช้ลงทุนกับแผนงานโครงการพื้นฐานขนาดใหญ่ทั่วทั้งประเทศ ทั้งนี้ หากแผนการศึกษาท่าเทียบเรือแล้วเสร็จ ก็จะนำงบประมาณดังกล่าวมาปรับปรุง และพัฒนาท่าเรือที่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ตามนโยบายของภาครัฐ
“ชายฝั่งอันดามันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นสถานที่โด่งดังไปทั่วโลก ดังนั้น ภายในปี พ.ศ.2557 ถึง พ.ศ.2560 ควรจะมีการพัฒนาท่าเทียบเรือให้ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างเช่น ห้องน้ำ จุดรับส่งผู้โดยสาร สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ความปลอดภัย กล้องวงจรปิด สิ่งเหล่านี้ต้องมีทันที ที่สำคัญยังเป็นกลไกในการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวทะเลฝั่งอันดามัน เพื่อผลักดันเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อีกทาง” ผอ.เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 กล่าวและว่า
ภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีท่าเทียบเรือประมาณ 86 แห่ง มีหลายพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุง โดยต้องเชิญหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบ คือ กรมเจ้าท่า องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการภาคเอกชน ประชาชนในพื้นที่ เข้ามาแผนยุทธศาสตร์และบูรณาการอย่างเป็นระบบ อีกทั้งต้องไม่สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อชุมชนในพื้นที่ เพื่อผลักดันการท่องเที่ยวทางน้ำให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยว หลังจากที่รัฐบาลตั้งเป้าให้ชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย จำนวนปีละกว่า 26 ล้านคน ซึ่งจังหวัดภูเก็ตก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างประเทศนิยมมาพักผ่อนตลอดทั้งปี
นายวิชัย กล่าวต่อไปว่า หลังจากการประชุมในวันนี้เสร็จสิ้น ทางคณะกรรมการจะรวบรวมข้อมูล และนำงบประมาณที่ได้รับมาปรับปรุงท่าเทียบเรือภาคใต้ฝั่งอันดามัน ที่สำคัญในแต่ละจังหวัด ควรจะมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ และเป็นสถานที่หลัก เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ เพราะปัจจุบัน ยังมีท่าเทียบเรือบางจังหวัดใช้ปะปนระหว่างเรือขนส่งกับเรือให้บริการนักท่องเที่ยว หลังจากนี้ไปคงต้องแยกกันอย่างชัดเจน
เมื่อเวลา 13.30 น. วันนี้ (20 มี.ค.) ที่ห้องใบเรือ โรงแรมโบ๊ท ลากูน รีสอร์ท ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายวิชัย คำคง ผู้อำนวยการเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 เป็นประธานเปิดงานประชุมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะตามโครงการ “การศึกษาความต้องการเพื่อการพัฒนาท่าเทียบเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว” โดยมี นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งข้าราชการ หน่วยงานเอกชน และผู้ประกอบการ เข้าร่วมรับฟัง และเสนอแนวความคิดกันอย่างพร้อมเพรียง
นายวิชัย กล่าวว่า การจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามันเพื่อเปิดรับฟังข้อเสนอแนะของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้ร่วมกันพัฒนาปรับปรุงบริเวณท่าเทียบเรือที่อยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน ซึ่งที่ผ่านมา ได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ มาแล้ว 5 จังหวัด สำหรับพื้นที่จังหวัดภูเก็ตนั้น เป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 6 ซึ่งเป็นจังหวัดสุดท้าย เพื่อรับความคิดเห็นของคนภูเก็ตเกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาท่าเทียบเรือในพื้นที่ เพื่อที่ทางกรมเจ้าท่าจะนำไปทำแผนพัฒนา เพื่อรองรับกรณีรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้มีมติเห็นชอบในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินกู้จำนวน 2.2 ล้านล้านบาท เป็นเงินงบประมาณที่จะนำมาใช้ลงทุนกับแผนงานโครงการพื้นฐานขนาดใหญ่ทั่วทั้งประเทศ ทั้งนี้ หากแผนการศึกษาท่าเทียบเรือแล้วเสร็จ ก็จะนำงบประมาณดังกล่าวมาปรับปรุง และพัฒนาท่าเรือที่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ตามนโยบายของภาครัฐ
“ชายฝั่งอันดามันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นสถานที่โด่งดังไปทั่วโลก ดังนั้น ภายในปี พ.ศ.2557 ถึง พ.ศ.2560 ควรจะมีการพัฒนาท่าเทียบเรือให้ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างเช่น ห้องน้ำ จุดรับส่งผู้โดยสาร สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ความปลอดภัย กล้องวงจรปิด สิ่งเหล่านี้ต้องมีทันที ที่สำคัญยังเป็นกลไกในการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวทะเลฝั่งอันดามัน เพื่อผลักดันเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อีกทาง” ผอ.เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 กล่าวและว่า
ภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีท่าเทียบเรือประมาณ 86 แห่ง มีหลายพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุง โดยต้องเชิญหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบ คือ กรมเจ้าท่า องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการภาคเอกชน ประชาชนในพื้นที่ เข้ามาแผนยุทธศาสตร์และบูรณาการอย่างเป็นระบบ อีกทั้งต้องไม่สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อชุมชนในพื้นที่ เพื่อผลักดันการท่องเที่ยวทางน้ำให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยว หลังจากที่รัฐบาลตั้งเป้าให้ชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย จำนวนปีละกว่า 26 ล้านคน ซึ่งจังหวัดภูเก็ตก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างประเทศนิยมมาพักผ่อนตลอดทั้งปี
นายวิชัย กล่าวต่อไปว่า หลังจากการประชุมในวันนี้เสร็จสิ้น ทางคณะกรรมการจะรวบรวมข้อมูล และนำงบประมาณที่ได้รับมาปรับปรุงท่าเทียบเรือภาคใต้ฝั่งอันดามัน ที่สำคัญในแต่ละจังหวัด ควรจะมีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ และเป็นสถานที่หลัก เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ เพราะปัจจุบัน ยังมีท่าเทียบเรือบางจังหวัดใช้ปะปนระหว่างเรือขนส่งกับเรือให้บริการนักท่องเที่ยว หลังจากนี้ไปคงต้องแยกกันอย่างชัดเจน