ตรัง - จ.ตรัง ปลูกหญ้าทะเลชะเงาใบยาว 2,000 ต้น ร่วมอนุรักษ์สัตว์น้ำในท้องทะเล เพิ่มแหล่งอาหารให้แก่พะยูน รวมทั้งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และขยายพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติ
วันนี้ (26 ก.พ.) ที่บริเวณอ่าวบุญคง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง นายประจวบ โมฆรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 จ.ตรัง พร้อมด้วย นายบรรจง นฤพรเมธี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ และผู้ริเริ่มกิจกรรมท่องเที่ยว “บ่อหินฟาร์มสเตย์” ได้นำนักท่องเที่ยว รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จำนวนกว่า 200 คน เดินทางไปร่วมกันปลูกหญ้าทะเล ชนิดชะเงาใบยาว จำนวนกว่า 2,000 ต้น
ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มแหล่งอาหารให้แก่พะยูน สัตว์อนุรักษ์ชื่อดังของ จ.ตรัง รวมทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเพื่อการเจริญเติบโตของกุ้ง หอย ปู ปลา สัตว์น้ำนานาชนิด ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และฟื้นฟูธรรมชาติสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเล จ.ตรัง ด้วยการปลูกหญ้าทะเลทดแทนให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำ และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ท้องทะเล รวมทั้งเป็นกำแพงช่วยชะลอความรุนแรงของกระแสน้ำที่พัดเข้าสู่ฝั่ง
สำหรับอ่าวบุญคง ในปีนี้ได้มีการปลูกหญ้าทะเลเป็นครั้งที่ 2 แล้ว หลังจากนั้นจะขยายโครงการไปปลูกที่อ่าวหลอหลอเพิ่มเติม เนื่องจากที่อ่าวบุญคงเริ่มมีหญ้าทะเลขึ้นหนาแน่นพอสมควร และได้มีการปลูกมาแล้วกว่า 3 ปี โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี ซึ่งมีอัตราการรอดของหญ้าทะเลเกิน 60 เปอร์เซ็นต์ จนทำให้ชาวบ้านเริ่มพบเห็นพะยูนเข้ามากินหญ้าทะเลในบริเวณนี้อยู่บ่อยครั้ง
วันนี้ (26 ก.พ.) ที่บริเวณอ่าวบุญคง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง นายประจวบ โมฆรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 จ.ตรัง พร้อมด้วย นายบรรจง นฤพรเมธี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ และผู้ริเริ่มกิจกรรมท่องเที่ยว “บ่อหินฟาร์มสเตย์” ได้นำนักท่องเที่ยว รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จำนวนกว่า 200 คน เดินทางไปร่วมกันปลูกหญ้าทะเล ชนิดชะเงาใบยาว จำนวนกว่า 2,000 ต้น
ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มแหล่งอาหารให้แก่พะยูน สัตว์อนุรักษ์ชื่อดังของ จ.ตรัง รวมทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเพื่อการเจริญเติบโตของกุ้ง หอย ปู ปลา สัตว์น้ำนานาชนิด ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และฟื้นฟูธรรมชาติสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเล จ.ตรัง ด้วยการปลูกหญ้าทะเลทดแทนให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำ และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ท้องทะเล รวมทั้งเป็นกำแพงช่วยชะลอความรุนแรงของกระแสน้ำที่พัดเข้าสู่ฝั่ง
สำหรับอ่าวบุญคง ในปีนี้ได้มีการปลูกหญ้าทะเลเป็นครั้งที่ 2 แล้ว หลังจากนั้นจะขยายโครงการไปปลูกที่อ่าวหลอหลอเพิ่มเติม เนื่องจากที่อ่าวบุญคงเริ่มมีหญ้าทะเลขึ้นหนาแน่นพอสมควร และได้มีการปลูกมาแล้วกว่า 3 ปี โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี ซึ่งมีอัตราการรอดของหญ้าทะเลเกิน 60 เปอร์เซ็นต์ จนทำให้ชาวบ้านเริ่มพบเห็นพะยูนเข้ามากินหญ้าทะเลในบริเวณนี้อยู่บ่อยครั้ง