ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสนอให้ปัญหาโรฮิงญาเป็นปัญหาระดับภูมิภาคอาเซียน ร้องมีการข่มขู่ค้ามนุษย์เกิดขึ้นในหมู่โรฮิงญา ให้หน่วยงานของรัฐรับข้อร้องเรียน ฟันธงมีการขนย้ายชาวโรฮิงญาจริง
วันนี้ (11 ก.พ.) ที่ศาลากลาง จ.สงขลา ศ.ดร.อัมรา พงศาพิชต์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง นายไพบูลย์ วราหะไพบูลย์ กรรมการสิทธิฯ นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการ จ.สงขลา พร้อมด้วยอนุกรรมการสิทธิฯ ตัวแทนองค์การสหประชาชาติ ตัวแทนกาชาดสากล ตัวแทนโรฮิงญา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประมาณ 60 คน เพื่อรับทราบปัญหาโรฮิงญาที่หลบหนีเข้าประเทศไทย 1,752 คน กระจายอยู่ 17 จุด
นพ.นิรันดร์ กล่าวว่า คณะกรรมการและอนุกรรมการฯ ได้รับการร้องเรียนว่ามีการข่มขู่ และค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา จึงลงพื้นที่เพื่อต้องการสอบถามข้อเท็จจริงจากเด็กและสตรีชาวโรฮิงญาในเวลาจำกัดได้ข้อมูลว่า มีมูลความจริง จึงส่งเรื่องไปให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบหาข้อเท็จจริงต่อไป รายงานข่าวว่ามีตัวแทนของหน่วยงานราชการกล่าวว่า ได้ให้การช่วยเหลือไปแล้วในเบื้องต้นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย การแพทย์และพยาบาล ยังได้สะท้อนปัญหาว่า ขณะนี้ประสบปัญหาขาดแคลนล่ามสื่อภาษา ทำให้เกิดปัญหาหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องความเครียดจนมีการทะเลาะกันในหมู่ชาวโรฮิงญาและเกิดการทำลายทรัพย์สินทางราชการ
นายวิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานจุฬาราชมนตรีภาคใต้ กล่าวว่า ทางจุฬาฯ และเครือข่ายได้ให้การช่วยเหลือชาวโรฮิงญาตามหลักมนุษยธรรม และสิทธิมนุษยชน ด้วยการรวบรวมเงินบริจาคประมาณ 3 ล้านกว่าบาท และสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว ขาดการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ขอให้ทางภาครัฐและศูนย์ประสานงานจุฬาฯ ทำงานประสานร่วมมือในการช่วยเหลือชาวโรฮิงญา และเพื่อแบ่งเบาภาระทางราชการ และแก้ปัญหาโรคเครียด ให้ย้ายชาวโรฮิงญามาไว้ที่มัสยิดกลาง จ.สงขลา เพราะมีพื้นที่รองรับประมาณ 600 คน
นายไพบูลย์ วราหะไพบูลย์ กรรมการสิทธิฯ กล่าวว่า ตนต้องการให้เรื่องชาวโรฮิงญาเป็นปัญหาในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพราะเป็นปัญหาใหญ่ที่ประเทศหนึ่งประเทศใดจะรับไหว ที่จะต้องเข้ามาให้การช่วยเหลือ แต่ต้องเดินไปด้วยกันระหว่างความมั่นคง กับสิทธิมนุษยชน
นายจอน อึ๊งภากรณ์ อนุกรรมการสิทธิฯ กล่าวว่า มีการขนย้ายชาวโรฮิงญา มีการนำชาวโรฮิงญาเข้าประเทศแน่นอน แต่จะมีใครและหน่วยงานใดนั้น ขอให้ดีเอสไอ และตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) สืบหาข้อเท็จจริงด้วย เพราะหากไม่มีการขนย้ายทางเรือ และรถยนต์ ชาวโรฮิงญาไม่มีปัญญาเข้ามาอยู่ใน อ.สะเดา จ.สงขลาได้
วันนี้ (11 ก.พ.) ที่ศาลากลาง จ.สงขลา ศ.ดร.อัมรา พงศาพิชต์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง นายไพบูลย์ วราหะไพบูลย์ กรรมการสิทธิฯ นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการ จ.สงขลา พร้อมด้วยอนุกรรมการสิทธิฯ ตัวแทนองค์การสหประชาชาติ ตัวแทนกาชาดสากล ตัวแทนโรฮิงญา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประมาณ 60 คน เพื่อรับทราบปัญหาโรฮิงญาที่หลบหนีเข้าประเทศไทย 1,752 คน กระจายอยู่ 17 จุด
นพ.นิรันดร์ กล่าวว่า คณะกรรมการและอนุกรรมการฯ ได้รับการร้องเรียนว่ามีการข่มขู่ และค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา จึงลงพื้นที่เพื่อต้องการสอบถามข้อเท็จจริงจากเด็กและสตรีชาวโรฮิงญาในเวลาจำกัดได้ข้อมูลว่า มีมูลความจริง จึงส่งเรื่องไปให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบหาข้อเท็จจริงต่อไป รายงานข่าวว่ามีตัวแทนของหน่วยงานราชการกล่าวว่า ได้ให้การช่วยเหลือไปแล้วในเบื้องต้นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย การแพทย์และพยาบาล ยังได้สะท้อนปัญหาว่า ขณะนี้ประสบปัญหาขาดแคลนล่ามสื่อภาษา ทำให้เกิดปัญหาหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องความเครียดจนมีการทะเลาะกันในหมู่ชาวโรฮิงญาและเกิดการทำลายทรัพย์สินทางราชการ
นายวิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานจุฬาราชมนตรีภาคใต้ กล่าวว่า ทางจุฬาฯ และเครือข่ายได้ให้การช่วยเหลือชาวโรฮิงญาตามหลักมนุษยธรรม และสิทธิมนุษยชน ด้วยการรวบรวมเงินบริจาคประมาณ 3 ล้านกว่าบาท และสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว ขาดการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ขอให้ทางภาครัฐและศูนย์ประสานงานจุฬาฯ ทำงานประสานร่วมมือในการช่วยเหลือชาวโรฮิงญา และเพื่อแบ่งเบาภาระทางราชการ และแก้ปัญหาโรคเครียด ให้ย้ายชาวโรฮิงญามาไว้ที่มัสยิดกลาง จ.สงขลา เพราะมีพื้นที่รองรับประมาณ 600 คน
นายไพบูลย์ วราหะไพบูลย์ กรรมการสิทธิฯ กล่าวว่า ตนต้องการให้เรื่องชาวโรฮิงญาเป็นปัญหาในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพราะเป็นปัญหาใหญ่ที่ประเทศหนึ่งประเทศใดจะรับไหว ที่จะต้องเข้ามาให้การช่วยเหลือ แต่ต้องเดินไปด้วยกันระหว่างความมั่นคง กับสิทธิมนุษยชน
นายจอน อึ๊งภากรณ์ อนุกรรมการสิทธิฯ กล่าวว่า มีการขนย้ายชาวโรฮิงญา มีการนำชาวโรฮิงญาเข้าประเทศแน่นอน แต่จะมีใครและหน่วยงานใดนั้น ขอให้ดีเอสไอ และตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) สืบหาข้อเท็จจริงด้วย เพราะหากไม่มีการขนย้ายทางเรือ และรถยนต์ ชาวโรฮิงญาไม่มีปัญญาเข้ามาอยู่ใน อ.สะเดา จ.สงขลาได้