ศูนย์ข่าวภูเก็ต - วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต จับมือ แรงงานจังหวัดภูเก็ต เร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล จังหวัดภูเก็ต
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (4 ก.พ. ) ที่ศาลาอเนกประสงค์ ชุมชนบ้านแหลมหลา ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการพัฒนาทักษะฝีมือชาวไทยใหม่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ หลักสูตรเพนต์ผ้าปาเต๊ะ และปักเหลื่อม ประจำปี 2556 โดยมี นายสุทธิพงศ์ สายสาคเรศ แรงงานจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนชาวไทยใหม่เข้าร่วม
นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2555 เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาการฟื้นฟูวิถีชาวเลจังหวัดภูเก็ต ตามประเด็นต่างๆ ได้แก่ การสร้างความมั่นคงด้านที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน การสร้างความมั่นคงในอาชีพ เป็นต้น ชาวเล หรือชาวไทยใหม่ หรือชาวมอแกน หรือชาวอูรักลาโว้ย ส่วนใหญ่มีอาชีพทำประมงในท้องทะเลอันดามัน โดยผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัวออกทะเลหาปลา ฝ่ายผู้หญิงก็อยู่บ้านเลี้ยงลูก และทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น สานเสื่อใบเตย ตับใบมะพร้าว ตับใบจากสำหรับมุงหลังคา เป็นต้น
ซึ่งในปัจจุบัน ชาวเลมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ประกอบกับแหล่งที่พักอาศัยของชาวเลเป็นแหล่งท่องเที่ยว หากได้รับการส่งเสริมให้กลุ่มสตรีชาวเล หรือผู้สนใจชาวเลมีอาชีพด้านการขายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว จะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลภูเก็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยในระยะแรกจะฝึกอบรม 2 รุ่น รุ่นแรก ในวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ชุมชนบ้านแหลมหลา ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และรุ่นสอง วันที่ 11-15 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ชุมชนชาวไทยใหม่บ้านราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต รุ่นละ 16 คน
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (4 ก.พ. ) ที่ศาลาอเนกประสงค์ ชุมชนบ้านแหลมหลา ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการพัฒนาทักษะฝีมือชาวไทยใหม่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ หลักสูตรเพนต์ผ้าปาเต๊ะ และปักเหลื่อม ประจำปี 2556 โดยมี นายสุทธิพงศ์ สายสาคเรศ แรงงานจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนชาวไทยใหม่เข้าร่วม
นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2555 เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาการฟื้นฟูวิถีชาวเลจังหวัดภูเก็ต ตามประเด็นต่างๆ ได้แก่ การสร้างความมั่นคงด้านที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน การสร้างความมั่นคงในอาชีพ เป็นต้น ชาวเล หรือชาวไทยใหม่ หรือชาวมอแกน หรือชาวอูรักลาโว้ย ส่วนใหญ่มีอาชีพทำประมงในท้องทะเลอันดามัน โดยผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัวออกทะเลหาปลา ฝ่ายผู้หญิงก็อยู่บ้านเลี้ยงลูก และทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น สานเสื่อใบเตย ตับใบมะพร้าว ตับใบจากสำหรับมุงหลังคา เป็นต้น
ซึ่งในปัจจุบัน ชาวเลมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ประกอบกับแหล่งที่พักอาศัยของชาวเลเป็นแหล่งท่องเที่ยว หากได้รับการส่งเสริมให้กลุ่มสตรีชาวเล หรือผู้สนใจชาวเลมีอาชีพด้านการขายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว จะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลภูเก็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยในระยะแรกจะฝึกอบรม 2 รุ่น รุ่นแรก ในวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ชุมชนบ้านแหลมหลา ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และรุ่นสอง วันที่ 11-15 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ชุมชนชาวไทยใหม่บ้านราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต รุ่นละ 16 คน