นราธิวาส - เกษตรจังหวัดนราธิวาส แนะเกษตรกรใช้วัสดุธรรมชาติคลุมดินเพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งสารเคมีเหล่านี้หาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร
วันนี้ (1 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเสรี แป้นคง เกษตร จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า ในช่วงหน้าแล้งของทุกปี เกษตรกรชาว จ.นราธิวาส จะมีการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตร เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพด และพืชผักต่างๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่มีความพร้อมในการป้องกัน และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรจากสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น เบื้องต้น เกษตรกรสามารถใช้วิธีคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นของหน้าดิน โดยเลือกใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น ฟางข้าว ซากพืชตระกูลถั่ว หญ้าแห้ง แกลบ ใบไม้แห้ง ปุ๋ยหมัก ขี้เลื่อย ซึ่งเกษตรกรบางรายอาจจะมองข้าม และนำไปเผาทิ้งจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะวิธีการดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดการระเหยของน้ำจากหน้าดินลงประมาณ 10-50% แล้ว วัสดุดังกล่าวบางชนิดเมื่อใช้คลุมดินแล้วยังย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยที่สามารถบำรุงพืชได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ในช่วงหน้าแล้งยังมีการแพร่ระบาดของศัตรูพืช เช่น แมลงศัตรูข้าว แมลงศัตรูข้าวโพด แมลงศัตรูพืชตระกูลถั่ว ซึ่งจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย จนกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี และต่อเนื่อง โดยแมลงศัตรูข้าวหากมีการระบาด ในกรณีมีแหล่งน้ำ หรือบ่อน้ำที่สามารถสูบน้ำขึ้นมาได้ ควรใช้วิธีปล่อยน้ำให้ไหลท่วมต้นกล้าข้าว หากมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงก็จำเป็นต้องใช้เคมีบำบัด หากเป็นแมลงศัตรูข้าวโพดการป้องกันทำได้โดยฉีดพ่นสารเคมี ไดเมธเอท 30% อัตรา 15 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ส่วนแมลงศัตรูพืชตระกูลถั่วป้องกันโดยใช้สารเคมี เช่น คาร์โบซัลแฟน และไตรอะโซฟอส หากเป็นแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำ ป้องกันด้วยฉีดพ่นสารเคมี ไดเมธโธเอธ 30% อัตรา 15 ซีซี/น้ำ20 ลิตร ส่วนแมลงศัตรูพืชมันสำปะหลัง ป้องกันทำได้โดยให้ตัดยอดที่หงิกเป็นกระจุกใส่ถุงดำแล้วนำไปทำลาย แล้วฉีดพ่นด้วยสารเคมีไทอะมิโท ซึ่งสารเคมีเหล่านี้หาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร
วันนี้ (1 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเสรี แป้นคง เกษตร จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า ในช่วงหน้าแล้งของทุกปี เกษตรกรชาว จ.นราธิวาส จะมีการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตร เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพด และพืชผักต่างๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่มีความพร้อมในการป้องกัน และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรจากสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น เบื้องต้น เกษตรกรสามารถใช้วิธีคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นของหน้าดิน โดยเลือกใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น ฟางข้าว ซากพืชตระกูลถั่ว หญ้าแห้ง แกลบ ใบไม้แห้ง ปุ๋ยหมัก ขี้เลื่อย ซึ่งเกษตรกรบางรายอาจจะมองข้าม และนำไปเผาทิ้งจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะวิธีการดังกล่าวนอกจากจะช่วยลดการระเหยของน้ำจากหน้าดินลงประมาณ 10-50% แล้ว วัสดุดังกล่าวบางชนิดเมื่อใช้คลุมดินแล้วยังย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยที่สามารถบำรุงพืชได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ในช่วงหน้าแล้งยังมีการแพร่ระบาดของศัตรูพืช เช่น แมลงศัตรูข้าว แมลงศัตรูข้าวโพด แมลงศัตรูพืชตระกูลถั่ว ซึ่งจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย จนกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี และต่อเนื่อง โดยแมลงศัตรูข้าวหากมีการระบาด ในกรณีมีแหล่งน้ำ หรือบ่อน้ำที่สามารถสูบน้ำขึ้นมาได้ ควรใช้วิธีปล่อยน้ำให้ไหลท่วมต้นกล้าข้าว หากมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงก็จำเป็นต้องใช้เคมีบำบัด หากเป็นแมลงศัตรูข้าวโพดการป้องกันทำได้โดยฉีดพ่นสารเคมี ไดเมธเอท 30% อัตรา 15 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ส่วนแมลงศัตรูพืชตระกูลถั่วป้องกันโดยใช้สารเคมี เช่น คาร์โบซัลแฟน และไตรอะโซฟอส หากเป็นแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำ ป้องกันด้วยฉีดพ่นสารเคมี ไดเมธโธเอธ 30% อัตรา 15 ซีซี/น้ำ20 ลิตร ส่วนแมลงศัตรูพืชมันสำปะหลัง ป้องกันทำได้โดยให้ตัดยอดที่หงิกเป็นกระจุกใส่ถุงดำแล้วนำไปทำลาย แล้วฉีดพ่นด้วยสารเคมีไทอะมิโท ซึ่งสารเคมีเหล่านี้หาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร