ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ปลาในขุมน้ำรอบสวนหลวง ร.9 กลางเมืองภูเก็ต ตายเป็นเบือ คาดขาดอากาศหายใจจากการขุดลอกขุมน้ำ ขณะที่เจ้าหน้าที่เทศกิจเทศบาลนครภูเก็ตเข้าดูแลพื้นที่ ห้ามประชาชนลงไปจับปลาที่กำลังลอยคอรอความตายแล้ว ด้าน ผอ.ชลประทานภูเก็ตลงพื้นที่ตรวจสอบสั่งหยุดขุดลอกทันที
เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (20 พ.ย.) ที่บริเวณขุมน้ำรอบสวนหลง ร.9 อ.เมือง จ.ภูเก็ต มีชาวบ้านจำนวนมากนำอุปกรณ์ต่างๆ ลงไปจับปลาที่กำลังลอยหัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำเพื่อหาอากาศหายใจ นอกจากนั้น ยังมีปลาอีกบางส่วนที่ลอยตายบนผิวน้ำ และบริเวณริมตลิ่งภายในขุมน้ำดังกล่าว ซึ่งเริ่มที่จะส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ โดยมีเจ้าหน้าที่บางส่วนเก็บซากปลาที่ตายใส่กระสอบเพื่อนำไปทำลายแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีซากปลาลอยอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีทั้งปลานิล ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ และเล็ก บางตัวมีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม
และจากการตรวจสอบพบว่า ภายในขุมน้ำดังกล่าวนอกจากจะมีประชาชนลงไปจับปลาแล้ว ยังมีแพเหล็กบรรทุกรถแบ็กโฮกำลังทำการขุดลอกขุมน้ำด้วย ซึ่งชาวบ้านที่ลงจับปลาต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า สาเหตุที่ปลาในขุมน้ำตาย และลอยคอขึ้นมาหาอากาศหายใจจำนวนมากในครั้งนี้น่าจะเกิดจากการขุดลอกขุมน้ำ
โดยชาวบ้านกล่าวว่า บริเวณขุมน้ำดังกล่าวมีปลาอาศัยอยู่จำนวนมาก เนื่องจากมีคนนำมาปล่อยเป็นประจำเพื่อเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์ และการขุดลอกในครั้งนี้ทำให้น้ำขุ่นข้นจนปลาไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวน่าจะมีการย้ายปลาออกไปไว้จุดอื่นก่อน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ซึ่งการขุดลอกขุมน้ำดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาประมาณ 2-3 วันแล้ว แต่วันนี้พบเห็นปลาตายลอยขึ้นมาจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการขุดลอกขุมน้ำที่บริเวณสวนหลวง ร.9 นั้นเป็นโครงการที่ชลประทานภูเก็ตได้รับงบประมาณดำเนินการ ในครั้งที่คณะรัฐมนตรีสัญจรมาจัดประชุมที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นงบประมาณสำหรับขุดลอกขุมน้ำ 2 แห่ง คือ ภายในสวนหลวง ร.9 และขุมน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้งบประมาณจำนวน 25 ล้านบาท เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการรองรับน้ำให้มากขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ขณะที่นายฤทัย พัชรานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทาน ซึ่งเพิ่งย้ายมาดำรงตำแหน่ง หลังจากทราบเรื่องได้ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นทันที พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับสั่งให้ชะลอการขุดลอกขุมน้ำบริเวณสวนหลวง ร.9 ออกไปก่อน เพื่อประสานกับทางประมงจังหวัด และเทศบาลนครภูเก็ตในการหาทางออกว่าจะดำเนินการอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ขณะที่ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่เทศกิจจากเทศบาลนครภูเก็ตจำนวนหนึ่งได้เดินทางเข้ามาดูแลบริเวณขุมน้ำที่เกิดเหตุ พร้อมกับห้ามไม่ให้ประชาชนลงไปจับปลาในขุมน้ำดังกล่าวแล้ว
เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (20 พ.ย.) ที่บริเวณขุมน้ำรอบสวนหลง ร.9 อ.เมือง จ.ภูเก็ต มีชาวบ้านจำนวนมากนำอุปกรณ์ต่างๆ ลงไปจับปลาที่กำลังลอยหัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำเพื่อหาอากาศหายใจ นอกจากนั้น ยังมีปลาอีกบางส่วนที่ลอยตายบนผิวน้ำ และบริเวณริมตลิ่งภายในขุมน้ำดังกล่าว ซึ่งเริ่มที่จะส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ โดยมีเจ้าหน้าที่บางส่วนเก็บซากปลาที่ตายใส่กระสอบเพื่อนำไปทำลายแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีซากปลาลอยอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีทั้งปลานิล ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ และเล็ก บางตัวมีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม
และจากการตรวจสอบพบว่า ภายในขุมน้ำดังกล่าวนอกจากจะมีประชาชนลงไปจับปลาแล้ว ยังมีแพเหล็กบรรทุกรถแบ็กโฮกำลังทำการขุดลอกขุมน้ำด้วย ซึ่งชาวบ้านที่ลงจับปลาต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า สาเหตุที่ปลาในขุมน้ำตาย และลอยคอขึ้นมาหาอากาศหายใจจำนวนมากในครั้งนี้น่าจะเกิดจากการขุดลอกขุมน้ำ
โดยชาวบ้านกล่าวว่า บริเวณขุมน้ำดังกล่าวมีปลาอาศัยอยู่จำนวนมาก เนื่องจากมีคนนำมาปล่อยเป็นประจำเพื่อเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์ และการขุดลอกในครั้งนี้ทำให้น้ำขุ่นข้นจนปลาไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวน่าจะมีการย้ายปลาออกไปไว้จุดอื่นก่อน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ซึ่งการขุดลอกขุมน้ำดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาประมาณ 2-3 วันแล้ว แต่วันนี้พบเห็นปลาตายลอยขึ้นมาจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการขุดลอกขุมน้ำที่บริเวณสวนหลวง ร.9 นั้นเป็นโครงการที่ชลประทานภูเก็ตได้รับงบประมาณดำเนินการ ในครั้งที่คณะรัฐมนตรีสัญจรมาจัดประชุมที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นงบประมาณสำหรับขุดลอกขุมน้ำ 2 แห่ง คือ ภายในสวนหลวง ร.9 และขุมน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้งบประมาณจำนวน 25 ล้านบาท เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการรองรับน้ำให้มากขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ขณะที่นายฤทัย พัชรานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทาน ซึ่งเพิ่งย้ายมาดำรงตำแหน่ง หลังจากทราบเรื่องได้ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นทันที พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับสั่งให้ชะลอการขุดลอกขุมน้ำบริเวณสวนหลวง ร.9 ออกไปก่อน เพื่อประสานกับทางประมงจังหวัด และเทศบาลนครภูเก็ตในการหาทางออกว่าจะดำเนินการอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ขณะที่ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่เทศกิจจากเทศบาลนครภูเก็ตจำนวนหนึ่งได้เดินทางเข้ามาดูแลบริเวณขุมน้ำที่เกิดเหตุ พร้อมกับห้ามไม่ให้ประชาชนลงไปจับปลาในขุมน้ำดังกล่าวแล้ว