ตรัง - พบซากโลมาลอยตายอยู่ทางทิศเหนือของเกาะกล้วย จังหวัดตรัง คาดสาเหตุเกิดมาจากติดอวนปลากระเบนของชาวประมงแล้วจมน้ำตาย เป็นตัวที่ 9 ของปี 2555
วันนี้ (5 พ.ย.) นายประจวบ โมฆะรัตน์ ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 จังหวัดตรัง ได้นำเจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจสอบซากโลมา ซึ่งชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่อำเภอหาดสำราญ ไปพบลอยตายอยู่ทางทิศเหนือของเกาะกล้วย ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างอ่าวปะเหลียน จังหวัดตรัง กับอ่าวทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ก่อนนำซากโลมาที่พบมาขึ้นฝั่งที่ท่าเทียบเรือหมู่ที่ 4 บ้านตะเสะ ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ
จากการตรวจสอบพบว่า เป็นโลมาชนิดหลังโหนก อายุ 2 ปี วัดรอบลำตัว 60 ซม. ยาว 150 ซม. และหนัก 90 กก. โดยมีบาดแผลที่ลำคอ และบริเวณหาง จำนวน 2 แผล ทำให้มีเลือดไหลออกมาอยู่ตลอดเวลา โดยน่าจะเกิดจากรอยบาดแผลของอวนปลากระเบน และน่าจะตายมาแล้วก่อนหน้านี้ประมาณ 1 วัน เบื้องต้นคาดว่าโลมาตัวดังกล่าวน่าจะติดอวนปลากระเบนของชาวประมงแล้วจมน้ำตาย
ทั้งนี้ ในปี 2555 มีการพบโลมาตายในทะเลตรังแล้ว 9 ตัว จากจำนวนที่มีเหลืออยู่ทั้งหมดประมาณ 190-200 ตัว เบื้องต้น เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 จังหวัดตรัง จึงนำซากไปแช่แข็งและรอการตรวจสอบอีกครั้ง นอกจากนั้น ยังมีการกระแสข่าวกลุ่มอนุรักษ์หลายองค์กรเตรียมจะเดินทางเข้าพบกับ นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อหาแนวทางการดูแลโลมาอย่างจริงจัง และเด็ดขาดต่อไป
วันนี้ (5 พ.ย.) นายประจวบ โมฆะรัตน์ ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 จังหวัดตรัง ได้นำเจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจสอบซากโลมา ซึ่งชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่อำเภอหาดสำราญ ไปพบลอยตายอยู่ทางทิศเหนือของเกาะกล้วย ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างอ่าวปะเหลียน จังหวัดตรัง กับอ่าวทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ก่อนนำซากโลมาที่พบมาขึ้นฝั่งที่ท่าเทียบเรือหมู่ที่ 4 บ้านตะเสะ ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ
จากการตรวจสอบพบว่า เป็นโลมาชนิดหลังโหนก อายุ 2 ปี วัดรอบลำตัว 60 ซม. ยาว 150 ซม. และหนัก 90 กก. โดยมีบาดแผลที่ลำคอ และบริเวณหาง จำนวน 2 แผล ทำให้มีเลือดไหลออกมาอยู่ตลอดเวลา โดยน่าจะเกิดจากรอยบาดแผลของอวนปลากระเบน และน่าจะตายมาแล้วก่อนหน้านี้ประมาณ 1 วัน เบื้องต้นคาดว่าโลมาตัวดังกล่าวน่าจะติดอวนปลากระเบนของชาวประมงแล้วจมน้ำตาย
ทั้งนี้ ในปี 2555 มีการพบโลมาตายในทะเลตรังแล้ว 9 ตัว จากจำนวนที่มีเหลืออยู่ทั้งหมดประมาณ 190-200 ตัว เบื้องต้น เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 จังหวัดตรัง จึงนำซากไปแช่แข็งและรอการตรวจสอบอีกครั้ง นอกจากนั้น ยังมีการกระแสข่าวกลุ่มอนุรักษ์หลายองค์กรเตรียมจะเดินทางเข้าพบกับ นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อหาแนวทางการดูแลโลมาอย่างจริงจัง และเด็ดขาดต่อไป