ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศาลอุทธรณ์ ภาค 8 จัดสัมมนา “การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (1.พ.ย.) ที่ห้องจามจุรี โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จังหวัดภูเก็ต นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 8 เป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนา “การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” โดยมี นางวรางคณา สุจริตกุล เลขานุการศาลอุทธรณ์ ภาค 8 คณะผู้พิพากษา ภาค 8 และภาค 9 ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ในจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วม
นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 8 กล่าวว่า สำหรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหนึ่งในเสาหลักของประชาคมอาเซียนจะทำให้อาเซียนมีตลาด และฐานการผลิตร่วมกัน เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือโดยการพัฒนากฎเกณฑ์ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ และมีการสร้างมาตรฐานอาเซียนการเกิดขึ้นของ AEC มีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และเอกชนในภูมิภาคนี้ เป็นทั้งโอกาส และความท้าทายของไทย และก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐ และเอกชนต้องจับมือกันเพื่อใช้ระยะเวลาอีก 2 ปีข้างหน้าในการเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทย เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
“ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในฐานะหน่วยงานสำคัญของภูมิภาคได้เล็งเห็นให้ทุกภาคส่วนสามารถขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยง มีผลได้จริงในทางปฏิบัติ เพื่อลดปัญหาการทับซ้อน และความไม่สอดคล้องของนโยบายที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือ สร้างความตระหนัก และสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป”
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (1.พ.ย.) ที่ห้องจามจุรี โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จังหวัดภูเก็ต นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 8 เป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนา “การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” โดยมี นางวรางคณา สุจริตกุล เลขานุการศาลอุทธรณ์ ภาค 8 คณะผู้พิพากษา ภาค 8 และภาค 9 ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ในจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วม
นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 8 กล่าวว่า สำหรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหนึ่งในเสาหลักของประชาคมอาเซียนจะทำให้อาเซียนมีตลาด และฐานการผลิตร่วมกัน เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือโดยการพัฒนากฎเกณฑ์ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ และมีการสร้างมาตรฐานอาเซียนการเกิดขึ้นของ AEC มีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และเอกชนในภูมิภาคนี้ เป็นทั้งโอกาส และความท้าทายของไทย และก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐ และเอกชนต้องจับมือกันเพื่อใช้ระยะเวลาอีก 2 ปีข้างหน้าในการเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทย เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
“ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในฐานะหน่วยงานสำคัญของภูมิภาคได้เล็งเห็นให้ทุกภาคส่วนสามารถขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยง มีผลได้จริงในทางปฏิบัติ เพื่อลดปัญหาการทับซ้อน และความไม่สอดคล้องของนโยบายที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือ สร้างความตระหนัก และสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป”