พังงา - สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นคนพังงา ต่อการประกาศให้แหล่งที่พบพลับพลึงธารเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมศรีพังงา โรงแรมคุระบุรี กรีนวิว รีสอร์ท อ.คุระบุรี จ.พังงา สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนายพิเศษ เสนาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมด้วย นางอุษารัศน์ จันทร์ภักดี นักวิชาการชำนาญการสิ่งแวดล้อม ดร.วิโรจน์ พิมมานโรจนากูร ผู้จัดการโครงการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ น.ส.สุวลักษณ์ จูสวัสดิ์ นิติกรชำนาญการ น.ส.อรนุช ศิลป์มณีพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับฟังความคิดเห็น และนายสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้เชี่ยวชาญอนุรักษ์แหล่งพลับพลึงธาร ร่วมกันจัดประชุมสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการประกาศให้แหล่งพลับพลึงธารเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจังหวัดพังงา ที่พบในพื้นที่คลองนางย่อน อ.คุระบุรี จ.พังงา โดยมี ดร.ศุภชัย เหลืองแสงทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชาวบ้านในเขต อ.คุระบุรี เข้าร่วมประชุมรับฟังเป็นจำนวนมาก
นายสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้เชี่ยวชาญอนุรักษ์แหล่งพลับพลึงธาร กล่าวว่า พลับพลึงธาร เป็นพืชน้ำเฉพาะถิ่นที่อยู่ในสถานะถูกคุกคามอย่างหนัก และใกล้สูญพันธุ์ตาม IUCN Red list และ Thailand Data red list ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถพบได้แห่งเดียวในโลก คือ บริเวณลำคลองในเขต อ.กะเปอร์ อ.สุขสำราญ จ.ระนอง และ อ.คุระบุรี อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เนื่องจากพลับพลึงธารจะสามารถเติบโตได้ในระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะตัวเท่านั้น ในปัจจุบัน พลับพลึงธารได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง
จากผลการสำรวจของสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) พบว่า จำนวนพลับพลึงธารลดลงจาก 10.73 ไร่ เหลือเพียง 3.41 ไร่ ภายในระเวลา 2 ปี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเห็นสมควรกำหนดให้แหล่งที่พบพลับพลึงธารดังกล่าวเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมคือ กระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอน ความสำคัญ ผลดี และผลเสียของการเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณา และเสนอแนะต่อ (ร่าง) ของขอบเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) ขอบเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในขั้นตอน ความสำคัญ ผลดี ผลเสีย ของการประกาศให้แหล่งที่พบพลับพลึงธารเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกฎระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการกำหนด (ร่าง) ขอบเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมซึ่งก่อนจะประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมศรีพังงา โรงแรมคุระบุรี กรีนวิว รีสอร์ท อ.คุระบุรี จ.พังงา สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนายพิเศษ เสนาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมด้วย นางอุษารัศน์ จันทร์ภักดี นักวิชาการชำนาญการสิ่งแวดล้อม ดร.วิโรจน์ พิมมานโรจนากูร ผู้จัดการโครงการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ น.ส.สุวลักษณ์ จูสวัสดิ์ นิติกรชำนาญการ น.ส.อรนุช ศิลป์มณีพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับฟังความคิดเห็น และนายสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้เชี่ยวชาญอนุรักษ์แหล่งพลับพลึงธาร ร่วมกันจัดประชุมสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการประกาศให้แหล่งพลับพลึงธารเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจังหวัดพังงา ที่พบในพื้นที่คลองนางย่อน อ.คุระบุรี จ.พังงา โดยมี ดร.ศุภชัย เหลืองแสงทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชาวบ้านในเขต อ.คุระบุรี เข้าร่วมประชุมรับฟังเป็นจำนวนมาก
นายสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้เชี่ยวชาญอนุรักษ์แหล่งพลับพลึงธาร กล่าวว่า พลับพลึงธาร เป็นพืชน้ำเฉพาะถิ่นที่อยู่ในสถานะถูกคุกคามอย่างหนัก และใกล้สูญพันธุ์ตาม IUCN Red list และ Thailand Data red list ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถพบได้แห่งเดียวในโลก คือ บริเวณลำคลองในเขต อ.กะเปอร์ อ.สุขสำราญ จ.ระนอง และ อ.คุระบุรี อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เนื่องจากพลับพลึงธารจะสามารถเติบโตได้ในระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะตัวเท่านั้น ในปัจจุบัน พลับพลึงธารได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง
จากผลการสำรวจของสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) พบว่า จำนวนพลับพลึงธารลดลงจาก 10.73 ไร่ เหลือเพียง 3.41 ไร่ ภายในระเวลา 2 ปี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเห็นสมควรกำหนดให้แหล่งที่พบพลับพลึงธารดังกล่าวเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมคือ กระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอน ความสำคัญ ผลดี และผลเสียของการเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณา และเสนอแนะต่อ (ร่าง) ของขอบเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) ขอบเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในขั้นตอน ความสำคัญ ผลดี ผลเสีย ของการประกาศให้แหล่งที่พบพลับพลึงธารเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกฎระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการกำหนด (ร่าง) ขอบเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมซึ่งก่อนจะประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมต่อไป