ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ประธานสภาอุตฯ ท่องเที่ยวสงขลาปรับแผนรับ ครม.สัญจร หลัง “ปูเปรี้ยว” กลัวม็อบรุมทึ้งเลยชิ่งไปสมุยแทน ชง 3 ประเด็นทวงถามความช่วยเหลือจากรัฐบาล ทั้งโครงการแผนป้องกันน้ำท่วมเมือง 3,000 ล้านที่ค้างเติ่ง ซอฟต์โลนผู้ประกอบการที่รับผลกระทบจากระเบิดกลางเมืองต้นปี 55 ด้านหอการค้าฯ เดินหน้าดันมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดาคู่ขนานดันฟลัดเวย์ ขณะที่เครือข่ายประชาชนเตรียมแสดงพลังมวลชนต้านแผนพัฒนาฯ ต้อนรับนายกฯ ปู
กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางมายัง จ.สุราษฎร์ธานี ตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. เพื่อลงพื้นที่ และจัดประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรสมุย ในวันที่ 22 ต.ค.นั้น นายสมชาติ พิมพ์ธนะพูนพร ประธานสภาอุตสาหกรรมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ในส่วนของภาคเอกชนนั้นเดิมทีจะเดินทางไปยื่นหนังสือทวงถามความช่วยเหลือที่รัฐบาลรับปากไว้ แต่ยังไม่ดำเนินการ
ทว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่จากเดิมที่จะมายัง อ.หาดใหญ่ ไปยังเกาะสมุย โดยคาดว่าอาจทำให้ ครม.สัญจร ไม่ราบรื่นเพราะต้องเผชิญกับกลุ่มผู้ได้รับความเดือดร้อนจากหลายเรื่อง ทั้งราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เป็นต้น จึงมีการเปลี่ยนสถานที่ในที่สุด ทำให้ตนตัดสินใจผลักดันเรื่องร้องเรียนผ่านนางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ที่ได้รับเรื่องหนังสือเพื่อนำไปประชุมนอกรอบ ในวันที่ 21 ต.ค.นี้ ซึ่งมีคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. แทน โดยมีสาระสำคัญใน 3 ประเด็นคือ
1.โครงการป้องกันน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ หลังเผชิญกับความสูญเสียนับหมื่นล้านบาทปลายปี 2553 ซึ่งรัฐบาลสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับปากว่าจะให้งบประมาณดำเนินโครงการระบบป้องกันน้ำท่วมให้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้ติดตาม และแจ้งว่า ได้อนุมัติงบแล้วจำนวน 3,000 ล้านบาท ให้กรมชลประทานดำเนินการ ทั้งการขุดขยายคลองระบายน้ำที่ 1-6 และคลองอู่ตะเภาให้ลงทะเลสาบสงขลาได้เร็วขึ้น รวมถึงการสร้างแก้มลิงเพื่อรับน้ำ เป็นต้น แต่เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล การดำเนินงานกลับสะดุด และอ้างว่าติดขัดในส่วนของงบประมาณ กระทั่งล่วงเลยมาเกือบ 2 ปีแล้ว ทำให้ภาคธุรกิจมีความเป็นกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอีก
2.เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลนจากรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิดห้างลี การ์เดนส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 31 มี.ค.55 วงเงิน 10,000 ล้านบาท ในอัตรา MLR-2.75 ระยะเวลา 2 ปี ซึ่งถือว่าแนวทางนี้เป็นมาตรฐานที่รัฐบาลเคยช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแล และ จ.สงขลา ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เคยได้รับการช่วยเหลือมาช่วงหนึ่ง กระทั่งร้างราจากเหตุระเบิดหลายปี และมีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้รัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจตัดสินโดยตรง ก่อนจะเกิดขึ้นอีกครั้ง จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการนี้กระตุ้นเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นอย่างเร่งด่วน
3.จากเหตุระเบิดครั้งล่าสุดนี้ ยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และเศรษฐกิจไม่คึกคักเท่าที่ควร ภาคเอกชนจึงเรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการเดิมกระตุ้น นั่นคือนโยบายให้ จ.สงขลา เป็นศูนย์กลางการประชุมของภาครัฐ
ด้าน ดร.สุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ได้เตรียมผลักดันโครงการพัฒนาจังหวัดสงขลาผ่าน ครม.สัญจรที่สมุย เช่นเดียวกัน โดยเลือกเฉพาะประเด็นสำคัญที่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐบาลเป็นหลัก นั่นคือ โครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-ด่านสะเดา ระยะทางประมาณ 50 กม. ที่มีการปัดฝุ่นใหม่เพื่อเปิดประตูการค้ารองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการนี้ต่อเนื่องกระทั่งอนุมัติงบประมาณก่อสร้างในที่สุด
นอกจากเส้นทางมอเตอร์เวย์แล้ว ยังได้ศึกษาโครงการเส้นทางระบายน้ำ หรือฟลัดเวย์สู่ทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ โดยมีแนวระบายน้ำเดียวกับเส้นทางมอเตอร์เวย์นั่นเอง ถือว่าได้ประโยชน์สองต่อ โดยกระทรวงคมนาคมได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจำนวน 25 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการนี้อยู่ และจวนเจียนจะเสร็จแล้ว
“หลังจากที่ขณะที่หอการค้าฯ สงขลา ก็ได้เปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กับประชาชนในทุกภาคส่วน และได้รับเสียงสนับสนุน และภาครัฐก็เห็นด้วยในหลักการจึงบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาระดับประเทศ แต่เราก็ไม่ได้หยุดที่จะผลักดันต่อ เพราะตอนนี้ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมเสียทีเดียว หอการค้าฯ จะพยายามใช้โอกาส ครม.สัญจรให้เป็นประโยชน์ โดยนำเสนอผ่านที่ประชุมว่าชาวจังหวัดสงขลายังสนับสนุน และต้องการมอเตอร์เวย์ และฟลัดเวย์” ดร.สุรชัยกล่าวทิ้งท้าย
อย่างไรก็ตาม นอกจากประชาชนในพื้นที่จะประสบปัญหาความเดือดร้อนจากราคายาง และปาล์มน้ำมัน จนมีการประท้วงออกมาเป็นระยะแล้ว เครือข่ายประชาชนในภาคใต้ยังเดินหน้าต่อต้านโครงการแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทั้งการเคลื่อนไหวหลักที่ จ.สตูล ที่ตั้งเป็นเครือข่ายติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูลในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา และอีกฝั่งหนึ่งที่ จ.นครศรีธรรมราช ก็ได้ยับยั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่ง ซึ่งมีรายงานว่าได้เตรียมเคลื่อนไหวในนามพลังของมวลชน โดยที่นายกรัฐมนตรีเองก็มีกำหนดการลงพื้นที่ใน จ.นครศรีธรรมราช เช่นเดียวกัน
กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางมายัง จ.สุราษฎร์ธานี ตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. เพื่อลงพื้นที่ และจัดประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรสมุย ในวันที่ 22 ต.ค.นั้น นายสมชาติ พิมพ์ธนะพูนพร ประธานสภาอุตสาหกรรมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ในส่วนของภาคเอกชนนั้นเดิมทีจะเดินทางไปยื่นหนังสือทวงถามความช่วยเหลือที่รัฐบาลรับปากไว้ แต่ยังไม่ดำเนินการ
ทว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่จากเดิมที่จะมายัง อ.หาดใหญ่ ไปยังเกาะสมุย โดยคาดว่าอาจทำให้ ครม.สัญจร ไม่ราบรื่นเพราะต้องเผชิญกับกลุ่มผู้ได้รับความเดือดร้อนจากหลายเรื่อง ทั้งราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เป็นต้น จึงมีการเปลี่ยนสถานที่ในที่สุด ทำให้ตนตัดสินใจผลักดันเรื่องร้องเรียนผ่านนางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ที่ได้รับเรื่องหนังสือเพื่อนำไปประชุมนอกรอบ ในวันที่ 21 ต.ค.นี้ ซึ่งมีคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. แทน โดยมีสาระสำคัญใน 3 ประเด็นคือ
1.โครงการป้องกันน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ หลังเผชิญกับความสูญเสียนับหมื่นล้านบาทปลายปี 2553 ซึ่งรัฐบาลสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับปากว่าจะให้งบประมาณดำเนินโครงการระบบป้องกันน้ำท่วมให้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้ติดตาม และแจ้งว่า ได้อนุมัติงบแล้วจำนวน 3,000 ล้านบาท ให้กรมชลประทานดำเนินการ ทั้งการขุดขยายคลองระบายน้ำที่ 1-6 และคลองอู่ตะเภาให้ลงทะเลสาบสงขลาได้เร็วขึ้น รวมถึงการสร้างแก้มลิงเพื่อรับน้ำ เป็นต้น แต่เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล การดำเนินงานกลับสะดุด และอ้างว่าติดขัดในส่วนของงบประมาณ กระทั่งล่วงเลยมาเกือบ 2 ปีแล้ว ทำให้ภาคธุรกิจมีความเป็นกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอีก
2.เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลนจากรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิดห้างลี การ์เดนส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 31 มี.ค.55 วงเงิน 10,000 ล้านบาท ในอัตรา MLR-2.75 ระยะเวลา 2 ปี ซึ่งถือว่าแนวทางนี้เป็นมาตรฐานที่รัฐบาลเคยช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแล และ จ.สงขลา ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เคยได้รับการช่วยเหลือมาช่วงหนึ่ง กระทั่งร้างราจากเหตุระเบิดหลายปี และมีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ให้รัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจตัดสินโดยตรง ก่อนจะเกิดขึ้นอีกครั้ง จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการนี้กระตุ้นเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นอย่างเร่งด่วน
3.จากเหตุระเบิดครั้งล่าสุดนี้ ยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และเศรษฐกิจไม่คึกคักเท่าที่ควร ภาคเอกชนจึงเรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการเดิมกระตุ้น นั่นคือนโยบายให้ จ.สงขลา เป็นศูนย์กลางการประชุมของภาครัฐ
ด้าน ดร.สุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ได้เตรียมผลักดันโครงการพัฒนาจังหวัดสงขลาผ่าน ครม.สัญจรที่สมุย เช่นเดียวกัน โดยเลือกเฉพาะประเด็นสำคัญที่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐบาลเป็นหลัก นั่นคือ โครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-ด่านสะเดา ระยะทางประมาณ 50 กม. ที่มีการปัดฝุ่นใหม่เพื่อเปิดประตูการค้ารองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการนี้ต่อเนื่องกระทั่งอนุมัติงบประมาณก่อสร้างในที่สุด
นอกจากเส้นทางมอเตอร์เวย์แล้ว ยังได้ศึกษาโครงการเส้นทางระบายน้ำ หรือฟลัดเวย์สู่ทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ โดยมีแนวระบายน้ำเดียวกับเส้นทางมอเตอร์เวย์นั่นเอง ถือว่าได้ประโยชน์สองต่อ โดยกระทรวงคมนาคมได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจำนวน 25 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการนี้อยู่ และจวนเจียนจะเสร็จแล้ว
“หลังจากที่ขณะที่หอการค้าฯ สงขลา ก็ได้เปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กับประชาชนในทุกภาคส่วน และได้รับเสียงสนับสนุน และภาครัฐก็เห็นด้วยในหลักการจึงบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาระดับประเทศ แต่เราก็ไม่ได้หยุดที่จะผลักดันต่อ เพราะตอนนี้ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมเสียทีเดียว หอการค้าฯ จะพยายามใช้โอกาส ครม.สัญจรให้เป็นประโยชน์ โดยนำเสนอผ่านที่ประชุมว่าชาวจังหวัดสงขลายังสนับสนุน และต้องการมอเตอร์เวย์ และฟลัดเวย์” ดร.สุรชัยกล่าวทิ้งท้าย
อย่างไรก็ตาม นอกจากประชาชนในพื้นที่จะประสบปัญหาความเดือดร้อนจากราคายาง และปาล์มน้ำมัน จนมีการประท้วงออกมาเป็นระยะแล้ว เครือข่ายประชาชนในภาคใต้ยังเดินหน้าต่อต้านโครงการแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทั้งการเคลื่อนไหวหลักที่ จ.สตูล ที่ตั้งเป็นเครือข่ายติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูลในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา และอีกฝั่งหนึ่งที่ จ.นครศรีธรรมราช ก็ได้ยับยั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่ง ซึ่งมีรายงานว่าได้เตรียมเคลื่อนไหวในนามพลังของมวลชน โดยที่นายกรัฐมนตรีเองก็มีกำหนดการลงพื้นที่ใน จ.นครศรีธรรมราช เช่นเดียวกัน