(หมายเหตุ : หรินทร์ สุขวัจน์ ที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว รับมอบหมายจากมูลนิธิเด็ก เชื้อเชิญศิลปินไทยบริจาคผลงานให้มูลนิธิแซนโทส ประเทศอิตาลี เพื่อจัดนิทรรศการศิลปะ ณ กรุงโรม ระหว่างวันที่ 19-27 มิถุนายน 2555 เงินรายได้มอบให้แก่มูลนิธิเด็กเพื่อโครงการสร้างโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก 2 จังหวัดกาญจนบุรี)
ในหมู่ 23 ศิลปินที่ผลงานไปโรมครั้งนี้ มีพวกที่ผมขอเรียกว่าเป็นผู้ที่ทำงานแบบ “ศิลปะเพื่อชีวิต” อยู่ 7 คน
ผมหมายถึงศิลปินที่ต้องการสื่อถึงความจริงในสังคมที่มักไม่น่าอภิรมย์ ที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์ กระทั่งต้องการสื่อสาร หรือเรียกร้องถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือสังคมในอนาคตที่ดีกว่า ซึ่งเริ่มเกิดประกายแห่งจิตสำนึกของศิลปินไทยจำนวนหนึ่งขึ้นอย่างเด่นชัดเป็นครั้งแรกในยุค “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516” (หรือ “วันมหาวิปโยค” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษา และประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการ จอมพลถนอม กิตติขจร มีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยราย บาดเจ็บนับพันคน และสูญหายอีกจำนวนมาก) และได้ส่งผ่านอิทธิพลทางความคิดต่อวงการศิลปะไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ไล่ตามอายุ และยุคสมัยได้ดังนี้
พิทักษ์ ปิยะพงษ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง “แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย” ทัพหน้าทางวัฒนธรรมของขบวนการ 14 ตุลา ซึ่งทำหน้าที่ออกแบบสร้างงานจิตรกรรมเพื่อปลุกใจปลุกความคิด จิตสำนึกและโฆษณาทางการเมืองตามแนวทางของขบวนการอย่างคึกคักแหลมคมในช่วงเวลานั้น ผลงานที่ศิลปินเพื่อชีวิตผู้อาวุโสท่านนี้มอบให้แก่มูลนิธิเด็กครั้งนี้ “Can not think” ซึ่งแม้จะวาดขึ้นในปี 2552 แต่ก็ยังคงกลิ่นอายแห่งการต่อสู้ทางการเมืองไว้อย่างเต็มเปี่ยม
จิระศักดิ์ พัฒนพงศ์ ศิลปินแนวเซอเรียลิสม์ อดีตสมาชิกกลุ่มศิลปิน “กังหัน” (2520-2526) ที่มีชื่อเสียงยุคหลัง “6 ตุลาวันมหารัฐประหาร” (2519) ได้รับการคัดเลือกผลงานร่วมนิทรรศการครั้งนี้ 2 ภาพ โดยกลุ่มเพื่อนผู้ดูแลกองทุนจิระศักดิ์ พัฒนพงศ์ (กองทุนจากเงินขายผลงานหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปในปี 2544 ด้วยอุบัติเหตุที่ภูเก็ต) ร่วมกันพิจารณามอบให้ “Bride and Groom” และ “Outline and Mind” เป็นผลงานในสไตล์สบายๆ ตามประสาชาวเกาะ ชุดก่อนเขาเสียชีวิตไม่นาน
ศิลปินอดีตสมาชิกกลุ่มศิลปิน “กังหัน” อีกคนในนิทรรศการครั้งนี้ก็คือ ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร ศิลปินแนวเซอเรียลิสม์ ซึ่งผลงานที่ตั้งประเด็นวิพากษ์สังคมโดดเด่นที่สุดในกลุ่ม ซึ่งได้กล่าวถึงในตอนที่ 2 ของบทความชุดนี้ไปแล้ว
วสันต์ สิทธิเขตต์ ศิลปิน expressionism หนึ่งในผู้ก่อตั้ง “พรรคศิลปิน” (ร่วมกับกลุ่มศิลปินน้อยใหญ่ 17 คน ตั้งเป็นพรรคการเมืองปี 2550 เลิกราปี 2552) ได้มอบภาพวาดจิตรกรรมแนวการเมืองที่แสนถนัดให้ 2 ภาพ “How many stones can free Palestine” และ “Kleptocracy!!!” ซึ่งเขาวาดขึ้นใหม่เพื่อการนี้หมาดๆ หลายคนคุ้นตาผลงานจิตรกรรมในการประท้วงทางการเมืองของเขาดีกับผลงานฉากต่างๆ บนเวทีพันธมิตรฯ ในความขัดแย้งทางการเมืองไทยช่วงปี 2548-2553
มานิต ศรีวานิชภูมิ ช่างภาพ นักเขียน ศิลปินอิสระแนว Conceptual Art นักเคลื่อนไหวทางสังคม ผลงานที่เป็นที่รู้จักคือ ชุดภาพถ่าย “Pink Man” ที่เสียดสีการเมือง และสังคมไทยได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 ช่างภาพที่ดีที่สุดในโลก จากการคัดเลือกของสำนักพิมพ์ไพดอน เมื่อปี 2550 มานิตได้มอบภาพถ่ายขาวดำให้คือ “Statue in front of highrise, Bangkok” และ “Under Taksin Bridge”ซึ่งภาพหลังนี้ถูกจองในวันแรกๆ ของนิทรรศการที่ราคา 18,000 บาท
สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์มหาวิทยาลัย (ศิลปากร) ศิลปิน นักวิชาการ และคอลัมนิสต์ เจ้าของรางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ครั้งที่ 2 ประจำปีพุทธศักราช 2549 ซึ่งประกาศว่า สุธีเป็นผู้ที่สามารถนำเอารูปแบบ เทคนิควิธีการมารับใช้เนื้อหาสาระทางการเมืองได้อย่างสอดประสานกลมกลืน ทำให้ผู้เสพได้ตระหนักถึงคุณค่าที่ไม่แยกออกจากกันระหว่างงานศิลปะกับคำว่า สันติภาพ ประชาธิปไตย และการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม “Moonlighting” ภาพพิมพ์ซิลก์สกรีน 1 ใน 2 ภาพของเขามีผู้จองในวันแรกไปในราคา 30,000 บาท
อนุพงษ์ จันทร อาจารย์มหาวิทยาลัย (พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) และศิลปินที่อายุน้อยที่สุดในครั้งนี้ เจ้าของผลงานรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรมในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 53 จากผลงาน “ภิกษุสันดานกา” ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงกันในวงกว้างของสังคมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ครั้งนี้อนุพงศ์มอบภาพ “The Thief” มาให้
การแบ่งเป็น “ศิลปะเพื่อศิลปะ” (art for art’s sake) และ “ศิลปะเพื่อชีวิต” (art for life’s sake) มีที่มาจากทางฝรั่งเศสในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แบ่งแนวทางของศิลปะออกเป็นสองขั้วตรงข้าม คือ ศิลปะที่กล่าวอ้างว่ากว้างไกล ไม่ยึดติดกับผู้คน หรือสิ่งใดๆ นอกจากความซาบซึ้งใจในความสวยงาม กับศิลปะที่แนบแน่นกับสัจจะทางสังคมและการเมือง เข้าสู่สังคมไทยอย่างเข้มข้นผ่านการเสนอความคิดที่ชี้ชัดลงไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนจากหนังสือ ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน โดยศิลปินนักประวัติศาสตร์นักปฏิวัติ จิตร ภูมิศักดิ์ ช่วงปี 2516
อ่านเรื่องประกอบ
- เรื่องชุด “จิตรกรรมไทยไปโรม ห้าห้า” ว่าด้วย...วันเปิด (3) / หรินทร์ สุขวัจน์
- เรื่องชุด “จิตรกรรมไทยไปโรม ห้าห้า” ว่าด้วย...ศิลปินไทย (2) / หรินทร์ สุขวัจน์
- เรื่องชุด “จิตรกรรมไทยไปโรม ห้าห้า” ว่าด้วย...เหตุ (1) / หรินทร์ สุขวัจน์
ในหมู่ 23 ศิลปินที่ผลงานไปโรมครั้งนี้ มีพวกที่ผมขอเรียกว่าเป็นผู้ที่ทำงานแบบ “ศิลปะเพื่อชีวิต” อยู่ 7 คน
ผมหมายถึงศิลปินที่ต้องการสื่อถึงความจริงในสังคมที่มักไม่น่าอภิรมย์ ที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์ กระทั่งต้องการสื่อสาร หรือเรียกร้องถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือสังคมในอนาคตที่ดีกว่า ซึ่งเริ่มเกิดประกายแห่งจิตสำนึกของศิลปินไทยจำนวนหนึ่งขึ้นอย่างเด่นชัดเป็นครั้งแรกในยุค “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516” (หรือ “วันมหาวิปโยค” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษา และประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการ จอมพลถนอม กิตติขจร มีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยราย บาดเจ็บนับพันคน และสูญหายอีกจำนวนมาก) และได้ส่งผ่านอิทธิพลทางความคิดต่อวงการศิลปะไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ไล่ตามอายุ และยุคสมัยได้ดังนี้
พิทักษ์ ปิยะพงษ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง “แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย” ทัพหน้าทางวัฒนธรรมของขบวนการ 14 ตุลา ซึ่งทำหน้าที่ออกแบบสร้างงานจิตรกรรมเพื่อปลุกใจปลุกความคิด จิตสำนึกและโฆษณาทางการเมืองตามแนวทางของขบวนการอย่างคึกคักแหลมคมในช่วงเวลานั้น ผลงานที่ศิลปินเพื่อชีวิตผู้อาวุโสท่านนี้มอบให้แก่มูลนิธิเด็กครั้งนี้ “Can not think” ซึ่งแม้จะวาดขึ้นในปี 2552 แต่ก็ยังคงกลิ่นอายแห่งการต่อสู้ทางการเมืองไว้อย่างเต็มเปี่ยม
จิระศักดิ์ พัฒนพงศ์ ศิลปินแนวเซอเรียลิสม์ อดีตสมาชิกกลุ่มศิลปิน “กังหัน” (2520-2526) ที่มีชื่อเสียงยุคหลัง “6 ตุลาวันมหารัฐประหาร” (2519) ได้รับการคัดเลือกผลงานร่วมนิทรรศการครั้งนี้ 2 ภาพ โดยกลุ่มเพื่อนผู้ดูแลกองทุนจิระศักดิ์ พัฒนพงศ์ (กองทุนจากเงินขายผลงานหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปในปี 2544 ด้วยอุบัติเหตุที่ภูเก็ต) ร่วมกันพิจารณามอบให้ “Bride and Groom” และ “Outline and Mind” เป็นผลงานในสไตล์สบายๆ ตามประสาชาวเกาะ ชุดก่อนเขาเสียชีวิตไม่นาน
ศิลปินอดีตสมาชิกกลุ่มศิลปิน “กังหัน” อีกคนในนิทรรศการครั้งนี้ก็คือ ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร ศิลปินแนวเซอเรียลิสม์ ซึ่งผลงานที่ตั้งประเด็นวิพากษ์สังคมโดดเด่นที่สุดในกลุ่ม ซึ่งได้กล่าวถึงในตอนที่ 2 ของบทความชุดนี้ไปแล้ว
วสันต์ สิทธิเขตต์ ศิลปิน expressionism หนึ่งในผู้ก่อตั้ง “พรรคศิลปิน” (ร่วมกับกลุ่มศิลปินน้อยใหญ่ 17 คน ตั้งเป็นพรรคการเมืองปี 2550 เลิกราปี 2552) ได้มอบภาพวาดจิตรกรรมแนวการเมืองที่แสนถนัดให้ 2 ภาพ “How many stones can free Palestine” และ “Kleptocracy!!!” ซึ่งเขาวาดขึ้นใหม่เพื่อการนี้หมาดๆ หลายคนคุ้นตาผลงานจิตรกรรมในการประท้วงทางการเมืองของเขาดีกับผลงานฉากต่างๆ บนเวทีพันธมิตรฯ ในความขัดแย้งทางการเมืองไทยช่วงปี 2548-2553
มานิต ศรีวานิชภูมิ ช่างภาพ นักเขียน ศิลปินอิสระแนว Conceptual Art นักเคลื่อนไหวทางสังคม ผลงานที่เป็นที่รู้จักคือ ชุดภาพถ่าย “Pink Man” ที่เสียดสีการเมือง และสังคมไทยได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 ช่างภาพที่ดีที่สุดในโลก จากการคัดเลือกของสำนักพิมพ์ไพดอน เมื่อปี 2550 มานิตได้มอบภาพถ่ายขาวดำให้คือ “Statue in front of highrise, Bangkok” และ “Under Taksin Bridge”ซึ่งภาพหลังนี้ถูกจองในวันแรกๆ ของนิทรรศการที่ราคา 18,000 บาท
สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์มหาวิทยาลัย (ศิลปากร) ศิลปิน นักวิชาการ และคอลัมนิสต์ เจ้าของรางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ครั้งที่ 2 ประจำปีพุทธศักราช 2549 ซึ่งประกาศว่า สุธีเป็นผู้ที่สามารถนำเอารูปแบบ เทคนิควิธีการมารับใช้เนื้อหาสาระทางการเมืองได้อย่างสอดประสานกลมกลืน ทำให้ผู้เสพได้ตระหนักถึงคุณค่าที่ไม่แยกออกจากกันระหว่างงานศิลปะกับคำว่า สันติภาพ ประชาธิปไตย และการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม “Moonlighting” ภาพพิมพ์ซิลก์สกรีน 1 ใน 2 ภาพของเขามีผู้จองในวันแรกไปในราคา 30,000 บาท
อนุพงษ์ จันทร อาจารย์มหาวิทยาลัย (พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) และศิลปินที่อายุน้อยที่สุดในครั้งนี้ เจ้าของผลงานรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรมในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 53 จากผลงาน “ภิกษุสันดานกา” ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงกันในวงกว้างของสังคมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ครั้งนี้อนุพงศ์มอบภาพ “The Thief” มาให้
การแบ่งเป็น “ศิลปะเพื่อศิลปะ” (art for art’s sake) และ “ศิลปะเพื่อชีวิต” (art for life’s sake) มีที่มาจากทางฝรั่งเศสในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แบ่งแนวทางของศิลปะออกเป็นสองขั้วตรงข้าม คือ ศิลปะที่กล่าวอ้างว่ากว้างไกล ไม่ยึดติดกับผู้คน หรือสิ่งใดๆ นอกจากความซาบซึ้งใจในความสวยงาม กับศิลปะที่แนบแน่นกับสัจจะทางสังคมและการเมือง เข้าสู่สังคมไทยอย่างเข้มข้นผ่านการเสนอความคิดที่ชี้ชัดลงไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนจากหนังสือ ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน โดยศิลปินนักประวัติศาสตร์นักปฏิวัติ จิตร ภูมิศักดิ์ ช่วงปี 2516
อ่านเรื่องประกอบ
- เรื่องชุด “จิตรกรรมไทยไปโรม ห้าห้า” ว่าด้วย...วันเปิด (3) / หรินทร์ สุขวัจน์
- เรื่องชุด “จิตรกรรมไทยไปโรม ห้าห้า” ว่าด้วย...ศิลปินไทย (2) / หรินทร์ สุขวัจน์
- เรื่องชุด “จิตรกรรมไทยไปโรม ห้าห้า” ว่าด้วย...เหตุ (1) / หรินทร์ สุขวัจน์