(หมายเหตุ : หรินทร์ สุขวัจน์ ที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว รับมอบหมายจากมูลนิธิเด็ก เชื้อเชิญศิลปินไทยบริจาคผลงานให้มูลนิธิแซนโทส ประเทศอิตาลี เพื่อจัดนิทรรศการศิลปะ ณ กรุงโรม ระหว่างวันที่ 19-27 มิถุนายน 2555 เงินรายได้มอบให้แก่มูลนิธิเด็กเพื่อโครงการสร้างโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก 2 จังหวัดกาญจนบุรี)

สำหรับผู้หลงใหลงานศิลปะ โรมเหมือนหลายเมืองเก่าแก่ในยุโรป มีสิ่งสวยงามของศิลปกรรมชูใจทั่วทุกหนแห่ง (ดังชื่อนิทรรศการภาพถ่ายยุโรปของเพื่อนชาวเดนมาร์ก Niels Damsgaard Hansen แสดงที่ภูเก็ตเมื่อปี 2550 “Beauty is Everywhere”)

แม้จะรู้สึกขรึมขลังด้วยอาคารสถาปัตยกรรมประติมากรรมคลาสสิกสลับโบราณสถานพันปี แต่แทบทุกผนังว่างระหว่างซอกหลืบตึกของเมืองนี้ก็สอดแทรกสิ่งใหม่ด้วย Graffiti หรืองานวาดผนังศิลปะจรยุทธ์ กระทั่งยังพบเห็นได้บนตัวถังรถตู้รับจ้างที่คงจะจอดค้างคืนในสถานที่ๆ ศิลปินจรยุทธ์มีเวลาพอจะ (แอบ) สร้างงานได้

ผลงานของศิลปินไทย 23 คนที่นำไปจัดแสดง ณ กรุงโรมครั้งนี้ ประกอบด้วยภาพวาด 28 ชิ้น ภาพ mezzotint 1 ชิ้น ภาพถ่าย 7 ชิ้น Monoprint 2 ชิ้น Silk screen 2 ชิ้น และภาพพิมพ์ซ้ำ 3 ชิ้น

โดยที่ 7 คนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร 4 คนผ่านการศึกษาจากยุโรป และออสเตรเลีย 2 คนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยด้านศิลปะ 2 คนเรียนรู้ศิลปะด้วยตัวเอง และเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากรัฐบาลให้เป็นศิลปินแห่งชาติ

อายุน้อยที่สุด 32 ปีคือ อนุพงษ์ จันทร อาจารย์ประจำภาควิชาวิจิตรศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาด กระบัง เจ้าของรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทองประเภทจิตรกรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ปี 2550 จากผลงาน “ภิกษุสันดานกา” ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างของสังคมเวลานั้น มอบภาพขาวดำ 1 ภาพ

อายุมากที่สุดคือ จิตต์ จงมั่นคง ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ) ซึ่งท่านเสียชีวิตในวัย 86 ปีไปเมื่อปี 2552 โดยครอบครัวของท่านนอกจากจะมอบผลงานภาพถ่ายขาวดำ 5 ภาพ (ทำ digital print โดย เดือน จงมั่นคง ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศิลปากรหลานปู่ของจิตต์) แล้ว ยังมอบหนังสือ รวมภาพถ่ายเอกรงค์ 5 ทศวรรษจากมุมกล้องและห้องมืด ให้อีก 5 เล่มด้วย

ในการเชื้อเชิญมาร่วมกิจกรรมการกุศลครั้งนี้ นอกจากศิลปินที่ผมพอรู้จักเป็นส่วนตัวแล้ว ก็ได้รับคำแนะนำจาก ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร เพื่อนนักวิจารณ์ศิลปะ และจิตรกรแนวเซอเรียลิสม์กลุ่ม “กังหัน” ในอดีตซึ่งมอบภาพดรอว์อิ้งขาวดำยุคปี 2539-40 ให้ 2 ภาพด้วย

และ จิตต์เมตต์ จงมั่นคง ลูกของจิตต์ จงมั่นคง รวมทั้งเพื่อนศิลปินบางคนช่วยแนะนำศิลปินเพิ่มเติม

นอกจากนั้น ยังมีผลงานของ ชัญญา มงคลพจนานันท์ จิตรกรสมัครเล่นชาวจังหวัดตรัง คู่ชีวิตของ อกาติโน ร่วมหารายได้ให้แก่โรงเรียนหมู่บ้านเด็กในครั้งนี้อีก 1 ภาพ

นิทรรศการจัดขึ้น ณ อาคารที่ทำการหน่วยงานตำรวจด้านแรงงานกลางกรุงโรม โดยในห้องกลางที่ใช้เป็นห้องประชุม ซึ่งจะมีการเสวนาเป็นเวลา 3 วันด้วยนั้น มีชื่อว่า Emanuele Petri เพื่อรำลึกถึงนายตำรวจที่ถูกผู้ก่อการร้ายสังหาร




(อ่านตอนที่ 1 ได้ที่ http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9550000102495&#Vote)
สำหรับผู้หลงใหลงานศิลปะ โรมเหมือนหลายเมืองเก่าแก่ในยุโรป มีสิ่งสวยงามของศิลปกรรมชูใจทั่วทุกหนแห่ง (ดังชื่อนิทรรศการภาพถ่ายยุโรปของเพื่อนชาวเดนมาร์ก Niels Damsgaard Hansen แสดงที่ภูเก็ตเมื่อปี 2550 “Beauty is Everywhere”)
แม้จะรู้สึกขรึมขลังด้วยอาคารสถาปัตยกรรมประติมากรรมคลาสสิกสลับโบราณสถานพันปี แต่แทบทุกผนังว่างระหว่างซอกหลืบตึกของเมืองนี้ก็สอดแทรกสิ่งใหม่ด้วย Graffiti หรืองานวาดผนังศิลปะจรยุทธ์ กระทั่งยังพบเห็นได้บนตัวถังรถตู้รับจ้างที่คงจะจอดค้างคืนในสถานที่ๆ ศิลปินจรยุทธ์มีเวลาพอจะ (แอบ) สร้างงานได้
ผลงานของศิลปินไทย 23 คนที่นำไปจัดแสดง ณ กรุงโรมครั้งนี้ ประกอบด้วยภาพวาด 28 ชิ้น ภาพ mezzotint 1 ชิ้น ภาพถ่าย 7 ชิ้น Monoprint 2 ชิ้น Silk screen 2 ชิ้น และภาพพิมพ์ซ้ำ 3 ชิ้น
โดยที่ 7 คนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร 4 คนผ่านการศึกษาจากยุโรป และออสเตรเลีย 2 คนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยด้านศิลปะ 2 คนเรียนรู้ศิลปะด้วยตัวเอง และเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากรัฐบาลให้เป็นศิลปินแห่งชาติ
อายุน้อยที่สุด 32 ปีคือ อนุพงษ์ จันทร อาจารย์ประจำภาควิชาวิจิตรศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาด กระบัง เจ้าของรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทองประเภทจิตรกรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ปี 2550 จากผลงาน “ภิกษุสันดานกา” ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างของสังคมเวลานั้น มอบภาพขาวดำ 1 ภาพ
อายุมากที่สุดคือ จิตต์ จงมั่นคง ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ) ซึ่งท่านเสียชีวิตในวัย 86 ปีไปเมื่อปี 2552 โดยครอบครัวของท่านนอกจากจะมอบผลงานภาพถ่ายขาวดำ 5 ภาพ (ทำ digital print โดย เดือน จงมั่นคง ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศิลปากรหลานปู่ของจิตต์) แล้ว ยังมอบหนังสือ รวมภาพถ่ายเอกรงค์ 5 ทศวรรษจากมุมกล้องและห้องมืด ให้อีก 5 เล่มด้วย
ในการเชื้อเชิญมาร่วมกิจกรรมการกุศลครั้งนี้ นอกจากศิลปินที่ผมพอรู้จักเป็นส่วนตัวแล้ว ก็ได้รับคำแนะนำจาก ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร เพื่อนนักวิจารณ์ศิลปะ และจิตรกรแนวเซอเรียลิสม์กลุ่ม “กังหัน” ในอดีตซึ่งมอบภาพดรอว์อิ้งขาวดำยุคปี 2539-40 ให้ 2 ภาพด้วย
และ จิตต์เมตต์ จงมั่นคง ลูกของจิตต์ จงมั่นคง รวมทั้งเพื่อนศิลปินบางคนช่วยแนะนำศิลปินเพิ่มเติม
นอกจากนั้น ยังมีผลงานของ ชัญญา มงคลพจนานันท์ จิตรกรสมัครเล่นชาวจังหวัดตรัง คู่ชีวิตของ อกาติโน ร่วมหารายได้ให้แก่โรงเรียนหมู่บ้านเด็กในครั้งนี้อีก 1 ภาพ
นิทรรศการจัดขึ้น ณ อาคารที่ทำการหน่วยงานตำรวจด้านแรงงานกลางกรุงโรม โดยในห้องกลางที่ใช้เป็นห้องประชุม ซึ่งจะมีการเสวนาเป็นเวลา 3 วันด้วยนั้น มีชื่อว่า Emanuele Petri เพื่อรำลึกถึงนายตำรวจที่ถูกผู้ก่อการร้ายสังหาร
(อ่านตอนที่ 1 ได้ที่ http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9550000102495&#Vote)