ตรัง - ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เรียกประชุมคณะอนุกรรมการบริหารโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกร เพื่อหารือแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ หลังพบว่ายังมีชาวสวนจำนวนมากไม่เข้าร่วม
นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เรียกประชุมคณะอนุกรรมการบริหาร โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางระดับจังหวัด เพื่อหารือแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ หลังเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้มีชาวสวนยาง จ.ตรัง กว่า 500 คน ทำการชุมนุมประท้วงปิดถนนเรียกร้อง 5 ข้อ เพื่อให้จังหวัด และรัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน
ทั้งนี้ จากข้อเรียกร้องให้จังหวัดเร่งเปิดจุดรับซื้อยางเพิ่มนั้น นายอุทัย ศรีเทพ แกนนำชุมนุมสหกรณ์ จ.ตรัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา พบปัญหาการนำยางแผ่นดิบจาก จ.สุราษฎร์ธานี และกระบี่ เข้ามาขายในโรงรม กก.ละ 100 กว่าบาท ขณะที่คนในพื้นที่ขายยางได้ราคาต่ำกว่า ดังนั้น จึงเรียกร้องไปยังองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ให้สงวนสิทธิการซื้อขายยางแก่คนในพื้นที่
ซึ่งที่ผ่านมา จังหวัดได้เปิดจุดรับซื้อยางที่บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยรับซื้อยางแผ่นดิบ 472 ตัน และยางแผ่นรมควัน 573 ตัน รวม 1,045 ตัน แต่พบว่า ยางที่กลุ่มเกษตรกรและสถาบันนำมาขายมีจำนวนมากเกินกำลังการผลิตของโรงรมที่ อ.ส.ย.ได้ว่าจ้างการผลิตยางแผ่นรมควัน และยางแผ่นรมควันชนิดอัดก้อน
ดังนั้น จึงได้เปิดจุดรับซื้อยางเพิ่มขึ้นอีกที่บริษัท ยูนิแมครับเบอร์ จำกัด ตั้งแต่วันที่ 20-21 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยรับซื้อยางแผ่นดิบ 410 ตัน และยางแผ่นรมควัน 256 ตัน รวม 666 ตัน ซึ่งรวมทั้ง 2 แห่ง มีปริมาณการรับซื้อวันละ 440 ตัน อย่างไรก็ตาม หากมีปริมาณล้นก็จะเปิดจุดรับซื้อเพิ่มอีกแห่งที่ บริษัท ไทฮั้ว จำกัด
ขณะที่ นายพรม พักตร์จันทร์ แกนนำสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง กล่าวว่า แม้จังหวัดจะเปิดจุดรับซื้อยางเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรเพิ่มแล้วก็ตาม แต่ที่ผ่านมา ประสบปัญหาเมื่อนำยางไปขายให้แก่บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด เพราะทางบริษัทมีเครื่องมือไม่พร้อมที่จะดำเนินการรับซื้อ
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังพิจารณาเห็นชอบให้สถาบันเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ และอนุมัติวงเงินกู้ จำนวน 9 สถาบัน 38 แห่ง เนื้อที่ 3.5 แสนไร่ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 425 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของ ธ.ก.ส. โดยล่าสุด มีกลุ่มเกษตรกรที่ไม่เป็นนิติบุคคลสมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 41 กลุ่ม รวมเนื้อที่ 50,000 ไร่
ด้านนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อชาวสวนยาง พร้อมประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล ซึ่งคาดว่าน่าจะมีอีกจำนวนมากที่ยังได้สมัครสมัครเข้าร่วมโครงการขายยางให้แก่โรงรม
นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เรียกประชุมคณะอนุกรรมการบริหาร โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางระดับจังหวัด เพื่อหารือแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ หลังเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้มีชาวสวนยาง จ.ตรัง กว่า 500 คน ทำการชุมนุมประท้วงปิดถนนเรียกร้อง 5 ข้อ เพื่อให้จังหวัด และรัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน
ทั้งนี้ จากข้อเรียกร้องให้จังหวัดเร่งเปิดจุดรับซื้อยางเพิ่มนั้น นายอุทัย ศรีเทพ แกนนำชุมนุมสหกรณ์ จ.ตรัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา พบปัญหาการนำยางแผ่นดิบจาก จ.สุราษฎร์ธานี และกระบี่ เข้ามาขายในโรงรม กก.ละ 100 กว่าบาท ขณะที่คนในพื้นที่ขายยางได้ราคาต่ำกว่า ดังนั้น จึงเรียกร้องไปยังองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ให้สงวนสิทธิการซื้อขายยางแก่คนในพื้นที่
ซึ่งที่ผ่านมา จังหวัดได้เปิดจุดรับซื้อยางที่บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยรับซื้อยางแผ่นดิบ 472 ตัน และยางแผ่นรมควัน 573 ตัน รวม 1,045 ตัน แต่พบว่า ยางที่กลุ่มเกษตรกรและสถาบันนำมาขายมีจำนวนมากเกินกำลังการผลิตของโรงรมที่ อ.ส.ย.ได้ว่าจ้างการผลิตยางแผ่นรมควัน และยางแผ่นรมควันชนิดอัดก้อน
ดังนั้น จึงได้เปิดจุดรับซื้อยางเพิ่มขึ้นอีกที่บริษัท ยูนิแมครับเบอร์ จำกัด ตั้งแต่วันที่ 20-21 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยรับซื้อยางแผ่นดิบ 410 ตัน และยางแผ่นรมควัน 256 ตัน รวม 666 ตัน ซึ่งรวมทั้ง 2 แห่ง มีปริมาณการรับซื้อวันละ 440 ตัน อย่างไรก็ตาม หากมีปริมาณล้นก็จะเปิดจุดรับซื้อเพิ่มอีกแห่งที่ บริษัท ไทฮั้ว จำกัด
ขณะที่ นายพรม พักตร์จันทร์ แกนนำสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง กล่าวว่า แม้จังหวัดจะเปิดจุดรับซื้อยางเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรเพิ่มแล้วก็ตาม แต่ที่ผ่านมา ประสบปัญหาเมื่อนำยางไปขายให้แก่บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด เพราะทางบริษัทมีเครื่องมือไม่พร้อมที่จะดำเนินการรับซื้อ
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังพิจารณาเห็นชอบให้สถาบันเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ และอนุมัติวงเงินกู้ จำนวน 9 สถาบัน 38 แห่ง เนื้อที่ 3.5 แสนไร่ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 425 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของ ธ.ก.ส. โดยล่าสุด มีกลุ่มเกษตรกรที่ไม่เป็นนิติบุคคลสมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 41 กลุ่ม รวมเนื้อที่ 50,000 ไร่
ด้านนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อชาวสวนยาง พร้อมประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล ซึ่งคาดว่าน่าจะมีอีกจำนวนมากที่ยังได้สมัครสมัครเข้าร่วมโครงการขายยางให้แก่โรงรม