ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ว่าฯ ภูเก็ต พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารถูกเพลิงไหม้ ย้ำที่ผ่านมา มีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเน้นย้ำให้ท้องถิ่นตรวจสอบเรื่องการต่อเติมอาคาร ขณะที่ประธานกรรมาธิการความปลอดภัยในงานสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยทางหนีไฟของอาคารเป็นไปตามมาตรฐาน แต่ในเบื้องต้น เชื่อว่าอาคารชั้น 2 น่าจะต้องทุบทิ้ง
เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (20 ส.ค.) นายตรี อัครเดชา ผวจ.ภูเก็ต พร้อมด้วยนายบันดิษฐ์ ประดับสุข ประธานกรรมาธิการความปลอดภัยในงานสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์ อุปนายกสมาคมผู้ตรวจสอบอาคารและบริหารความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่สำนักงานโยธา จ.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่สำนักงานการไฟฟ้าสาขาป่าตอง รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองป่าตอง เข้าตรวจสอบไทเกอร์ แอนด์ดิสโก้เธค ซ.บางลา ถนนทวีวงศ์ ต.ป่าตอง อ.กะทู้ รวมทั้งตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าบริเวณด้านหลังซึ่งเป็นหม้อแปลงของทางไทเกอร์ โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงในการตรวจสอบ
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังการตรวจสอบอาคารที่เกิดเหตุว่า ที่ผ่านมา ทางจังหวัดได้กำชับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร-การต่อเติมอาคารมาโดยตลอด จะต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ย่อมส่งผลกระทบ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา จังหวัดได้จัดชุดเฉพาะกิจออกตรวจสอบสถานประกอบการ-สถานบันเทิงในพื้นที่ทุกเดือนอยู่แล้ว ส่วนการจัดระเบียบสังคมนั้น ได้มีการตรวจสอบการดูแลการเปิด-ปิดสถานบันเทิงให้ให้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด ตรวจนักท่องเที่ยวมีการพกพาอาวุธปืนหรือไม่ ตรวจหาสารเสพติด จังหวัดปฏิบัติร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจมาโดยตลอด ซึ่งมีการจับกุมเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายตรี ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงการดำเนินการตรวจสอบอาคารของสถานบันเทิงซึ่งเคยดำเนินการในพื้นที่เมืองมาแล้วว่า จะขยายผลไปยังพื้นที่กะรน และพื้นที่ป่าตองต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามโครงการป่าตองสีขาว ส่วนเรื่องของการต่อเติมอาคารของไทเกอร์นั้นขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการขอข้อมูลจากทางเทศบาลเมืองป่าตอง ซึ่งคิดว่าเร็วๆ นี้จะได้รับข้อมูลที่ชัดเจน
สำหรับการตรวจสอบสถานบันเทิงแห่งนี้ หลังเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ เนื่องจากมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในเรื่องของกฎหมายต่างๆ ตนเองจึงต้องมาตรวจสอบเพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยมีสมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคารมาตรวจสอบ ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่เคยตรวจสอบกรณีเกิดเหตุซานติก้าผับ ซึ่งจากการตรวจสถานที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเน้นตรวจสอบในเรื่องของทางหนีไฟ เรื่องของวัสดุในการก่อสร้าง และเรื่องอื่นๆ ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบเรื่องการวางระบบไฟฟ้าว่ามีอุปกรณ์ดับเพลิงหรือไม่
ด้านนายบันดิษฐ์ ประดับสุข ประธานกรรมาธิการความปลอดภัยในงานสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า อาคารดังกล่าวมีการก่อสร้างมาแล้วราว 15 ปี อาคารดังกล่าวมีส่วนประกอบหลายอย่าง ซึ่งทางหนีไฟเพียงพอ ทั้งจำนวนและความกว้าง มีถังดับเพลิง มีป้ายบอกทางออก แต่วัสดุตกแต่งต่างๆ และการก่อสร้างชั้น 2 พบว่า มีการใช้โฟมในการก่อสร้าง ซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟที่ดี เหมือนกับที่ใช้ในซานติก้าผับ กรุงเทพฯ โดยสถานที่แห่งนี้มีการใช้วัสดุดังกล่าว ประมาณ 20% นอกจานั้น ยังใช้ปูนตกแต่งโดยใช้ลวดกรงไก่ และตาข่ายมาปั้น หรือตัดเป็นรูปทรงต่างๆ ที่ต้องการ และใช้ซีเมนต์เคลือบอีกชั้น
อย่างไรก็ตาม ในการลงมาตรวจของทีมงานในครั้งนี้ ทีมงานไม่ได้ตรวจสอบเรื่องการต่อเติม ซึ่งจะต้องย้อนกลับไปดูประวัติของอาคารดังกล่าวว่ามีการยื่นขออนุญาตสร้างอย่างไร ซึ่งหลังเกิดเหตุการณ์ที่ซานติก้าผับได้มีกฎหมายฉบับใหม่ออกมา และบังคับใช้เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา โดยออกมาเพื่อควบคุมสถานประกอบการประเภทสถานบันเทิงโดยเฉพาะ ซึ่งจะเน้นในเรื่องขนาดของทางออก จำนวนทางออก การใช้วัสดุ ระบบดับเพลิง เป็นต้น
ส่วนอาคารดังกล่าวจะได้มาตรฐานมากน้อยเพียงใดนั้น จากการตรวจสอบได้มาตรฐานตามที่ก่อสร้างมาในขณะนั้น แต่การบริหารต่างๆ นั้น เช่น การอนุญาตให้จำนวนลูกค้าที่เข้ามาเที่ยวมีจำนวนพอดีกับขนาดของอาคารหรือไม่ อย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งสถานบันเทิงในต่างประเทศจะมีการอนุญาตให้ลูกค้าเข้ามาเที่ยวได้เพียงจำนวนที่อาคารสามารถจุคนได้เท่านั้น โดยจะมีข้อบังคับจำนวนคนในการเข้าออก แต่ที่ผ่านมา ประเทศเรายังไม่มีการบังคับกรณีจำนวนคน ขณะเดียวกัน จำนวนคนต้องได้สัดส่วนกับทางออก
ส่วน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฉบับใหม่ปี 55 นั้นมีผลบังคับใช้กับอาคารที่สร้างมาก่อนการประกาศใช้เช่นกัน โดยภายใน 180 วันหลังมีการประกาศใช้ อาคารที่สร้างด้วยวัสดุต่างๆ ที่ห้ามใช้จะต้องมีการปรับปรุง ซึ่งในการตรวจสอบพบว่ายังเป็นอุปกรณ์เดิมอยู่ ส่วนจะอยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือไม่ ไม่แน่ใจ ส่วนตัวอาคารของสถานบันเทิงหลักเกิดเพลิงไหม้คิดว่า สถานบันเทิงแห่งนี้จะต้องมีการทุบทิ้งบางส่วน โดยเฉพาะบริเวณชั้น 2 เนื่องจากพบว่าโครงเหล็กต่างๆ ถูกความร้อนเผาไหม้จนหักหรือโค้งงอ ไม่สามารถใช้การได้อีกแล้ว ส่วนด้านล่างยังคงสามารถใช้งานได้ตามปกติ
เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (20 ส.ค.) นายตรี อัครเดชา ผวจ.ภูเก็ต พร้อมด้วยนายบันดิษฐ์ ประดับสุข ประธานกรรมาธิการความปลอดภัยในงานสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์ อุปนายกสมาคมผู้ตรวจสอบอาคารและบริหารความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่สำนักงานโยธา จ.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่สำนักงานการไฟฟ้าสาขาป่าตอง รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองป่าตอง เข้าตรวจสอบไทเกอร์ แอนด์ดิสโก้เธค ซ.บางลา ถนนทวีวงศ์ ต.ป่าตอง อ.กะทู้ รวมทั้งตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าบริเวณด้านหลังซึ่งเป็นหม้อแปลงของทางไทเกอร์ โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงในการตรวจสอบ
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังการตรวจสอบอาคารที่เกิดเหตุว่า ที่ผ่านมา ทางจังหวัดได้กำชับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร-การต่อเติมอาคารมาโดยตลอด จะต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ย่อมส่งผลกระทบ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา จังหวัดได้จัดชุดเฉพาะกิจออกตรวจสอบสถานประกอบการ-สถานบันเทิงในพื้นที่ทุกเดือนอยู่แล้ว ส่วนการจัดระเบียบสังคมนั้น ได้มีการตรวจสอบการดูแลการเปิด-ปิดสถานบันเทิงให้ให้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด ตรวจนักท่องเที่ยวมีการพกพาอาวุธปืนหรือไม่ ตรวจหาสารเสพติด จังหวัดปฏิบัติร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจมาโดยตลอด ซึ่งมีการจับกุมเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายตรี ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงการดำเนินการตรวจสอบอาคารของสถานบันเทิงซึ่งเคยดำเนินการในพื้นที่เมืองมาแล้วว่า จะขยายผลไปยังพื้นที่กะรน และพื้นที่ป่าตองต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามโครงการป่าตองสีขาว ส่วนเรื่องของการต่อเติมอาคารของไทเกอร์นั้นขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการขอข้อมูลจากทางเทศบาลเมืองป่าตอง ซึ่งคิดว่าเร็วๆ นี้จะได้รับข้อมูลที่ชัดเจน
สำหรับการตรวจสอบสถานบันเทิงแห่งนี้ หลังเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ เนื่องจากมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในเรื่องของกฎหมายต่างๆ ตนเองจึงต้องมาตรวจสอบเพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยมีสมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคารมาตรวจสอบ ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่เคยตรวจสอบกรณีเกิดเหตุซานติก้าผับ ซึ่งจากการตรวจสถานที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเน้นตรวจสอบในเรื่องของทางหนีไฟ เรื่องของวัสดุในการก่อสร้าง และเรื่องอื่นๆ ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบเรื่องการวางระบบไฟฟ้าว่ามีอุปกรณ์ดับเพลิงหรือไม่
ด้านนายบันดิษฐ์ ประดับสุข ประธานกรรมาธิการความปลอดภัยในงานสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า อาคารดังกล่าวมีการก่อสร้างมาแล้วราว 15 ปี อาคารดังกล่าวมีส่วนประกอบหลายอย่าง ซึ่งทางหนีไฟเพียงพอ ทั้งจำนวนและความกว้าง มีถังดับเพลิง มีป้ายบอกทางออก แต่วัสดุตกแต่งต่างๆ และการก่อสร้างชั้น 2 พบว่า มีการใช้โฟมในการก่อสร้าง ซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟที่ดี เหมือนกับที่ใช้ในซานติก้าผับ กรุงเทพฯ โดยสถานที่แห่งนี้มีการใช้วัสดุดังกล่าว ประมาณ 20% นอกจานั้น ยังใช้ปูนตกแต่งโดยใช้ลวดกรงไก่ และตาข่ายมาปั้น หรือตัดเป็นรูปทรงต่างๆ ที่ต้องการ และใช้ซีเมนต์เคลือบอีกชั้น
อย่างไรก็ตาม ในการลงมาตรวจของทีมงานในครั้งนี้ ทีมงานไม่ได้ตรวจสอบเรื่องการต่อเติม ซึ่งจะต้องย้อนกลับไปดูประวัติของอาคารดังกล่าวว่ามีการยื่นขออนุญาตสร้างอย่างไร ซึ่งหลังเกิดเหตุการณ์ที่ซานติก้าผับได้มีกฎหมายฉบับใหม่ออกมา และบังคับใช้เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา โดยออกมาเพื่อควบคุมสถานประกอบการประเภทสถานบันเทิงโดยเฉพาะ ซึ่งจะเน้นในเรื่องขนาดของทางออก จำนวนทางออก การใช้วัสดุ ระบบดับเพลิง เป็นต้น
ส่วนอาคารดังกล่าวจะได้มาตรฐานมากน้อยเพียงใดนั้น จากการตรวจสอบได้มาตรฐานตามที่ก่อสร้างมาในขณะนั้น แต่การบริหารต่างๆ นั้น เช่น การอนุญาตให้จำนวนลูกค้าที่เข้ามาเที่ยวมีจำนวนพอดีกับขนาดของอาคารหรือไม่ อย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งสถานบันเทิงในต่างประเทศจะมีการอนุญาตให้ลูกค้าเข้ามาเที่ยวได้เพียงจำนวนที่อาคารสามารถจุคนได้เท่านั้น โดยจะมีข้อบังคับจำนวนคนในการเข้าออก แต่ที่ผ่านมา ประเทศเรายังไม่มีการบังคับกรณีจำนวนคน ขณะเดียวกัน จำนวนคนต้องได้สัดส่วนกับทางออก
ส่วน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฉบับใหม่ปี 55 นั้นมีผลบังคับใช้กับอาคารที่สร้างมาก่อนการประกาศใช้เช่นกัน โดยภายใน 180 วันหลังมีการประกาศใช้ อาคารที่สร้างด้วยวัสดุต่างๆ ที่ห้ามใช้จะต้องมีการปรับปรุง ซึ่งในการตรวจสอบพบว่ายังเป็นอุปกรณ์เดิมอยู่ ส่วนจะอยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือไม่ ไม่แน่ใจ ส่วนตัวอาคารของสถานบันเทิงหลักเกิดเพลิงไหม้คิดว่า สถานบันเทิงแห่งนี้จะต้องมีการทุบทิ้งบางส่วน โดยเฉพาะบริเวณชั้น 2 เนื่องจากพบว่าโครงเหล็กต่างๆ ถูกความร้อนเผาไหม้จนหักหรือโค้งงอ ไม่สามารถใช้การได้อีกแล้ว ส่วนด้านล่างยังคงสามารถใช้งานได้ตามปกติ