ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สปต.ยื่นหนังสือให้ “นายกฯ”ไม่เห็นด้วยกับการตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสรุปเหตุผลเป็นข้อๆ ชี้หากไม่ฟังความคิดเห็นอาจลาออกทั้งสภาที่ปรึกษาฯ จำนวน 49 คน และฟ้องศาลปกครอง
วันนี้ (18 ส.ค.) ที่ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ชั้นที่ 3 ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา นายอาซีส เบ็ญหาวัน ประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) ได้เรียกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ประชุมด่วน เพื่อแสดงจุดยืนกับการไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กรุงเทพฯ โดยในที่ประชุมมีมติให้ทำหนังสือยื่นถึงนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อเสนอจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ รวม 5 ข้อ ประกอบด้วย
1.พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 เป็น พ.ร.บ.ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ผ่านกระบวนการทำประชาพิจารณ์หลายระดับ ในการปฏิบัติ พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นประโยชน์ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่อย่างใด
2.นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 มีผลบังคับใช้ และมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมิติฝ่ายพลเรือนในระยะเวลา 1 ปีเศษที่ผ่านมา แผนงานโครงการกำลังก้าวหน้าเข้าสู่ระบบ เป็นที่ยอมรับ และอยู่ในความศรัทธา ความต้องการของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลต่อการบริหาร และแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3.การที่จะให้มีระบบ CEO ในการแก้ไขปัญหา จชต. โดยรวมอำนาจให้ฝ่ายทหาร เป็นผู้มีอำนาจบัญชาการทั้งฝ่ายพลเรือนด้วย จะไม่เป็นผลดีต่อการแก้ไขปัญหา จชต. เนื่องจากปัญหาใน จชต. เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน และจะต้องมีความรอบคอบในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหาในระยะยาว
4.บทบาทภารกิจหน้าที่รับผิดชอบรักษาความมั่นคง และแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยในมิติกองกำลัง ควรเป็นของกองทัพภาคที่ 4 หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนบทบาทภารกิจความรับผิดชอบด้านการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมิติพลเรือนการกำหนดยุทธศาสตร์ และการบูรณาการแผนงานโครงการต่างๆ ควรเป็นหน้าที่ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตชุมชนเมือง เป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ซึ่งมีความชัดเจนตามที่กฎหมาย และพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 กำหนดไว้แล้ว จากข้อเท็จจริง และเหตุผลดังกล่าวดังนั้น พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ และเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยแต่ประการใด
5.คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ตาม พ.ร.บ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 น่าจะเป็นศูนย์ปฏิบัติการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจะต้องผลักดันให้กระทรวงต่างๆ มีความเข้มแข็งทั้งกำลังคน และงบประมาณ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาความสงบภายใน รวมทั้งการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ประกอบกับ พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 มีเจตนารมณ์หลักในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการแก้ปัญหา จึงควรรับฟังเสียงจากประชาชนเจ้าของพื้นที่ ไม่ใช่เป็นการพิจารณา และสั่งการมาจากส่วนกลางอย่างเดียว
การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวมกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 17 กระทรวง เลขาธิการสภาความมั่นคง เลขาธิการสภาพัฒน์ เลขาธิการ ศอ.บต. ฯลฯ เป็นการซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กพต. ซึ่งมี พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองรับอยู่แล้ว ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน ก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ระหว่างกัน และจะนำไปสู่ปัญหาที่ซ้ำซ้อนมากยิ่งขึ้น
โดยหลังการประชุม ก็ได้มีการทำหนังสือด่วนเพื่อเสนอถึงนายกรัฐมนตรี และหากว่าทางรัฐบาลยังไม่ฟัง ทางสภาที่ปรึกษาฯทั้ง 49 คน อาจจะแสดงจุดยืนโดยการลาออกทั้งหมด และจะดำเนินการฟ้องศาลปกครองอีกด้วย
วันนี้ (18 ส.ค.) ที่ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ชั้นที่ 3 ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา นายอาซีส เบ็ญหาวัน ประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) ได้เรียกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ประชุมด่วน เพื่อแสดงจุดยืนกับการไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กรุงเทพฯ โดยในที่ประชุมมีมติให้ทำหนังสือยื่นถึงนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อเสนอจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ รวม 5 ข้อ ประกอบด้วย
1.พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 เป็น พ.ร.บ.ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ผ่านกระบวนการทำประชาพิจารณ์หลายระดับ ในการปฏิบัติ พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นประโยชน์ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่อย่างใด
2.นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 มีผลบังคับใช้ และมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมิติฝ่ายพลเรือนในระยะเวลา 1 ปีเศษที่ผ่านมา แผนงานโครงการกำลังก้าวหน้าเข้าสู่ระบบ เป็นที่ยอมรับ และอยู่ในความศรัทธา ความต้องการของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลต่อการบริหาร และแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3.การที่จะให้มีระบบ CEO ในการแก้ไขปัญหา จชต. โดยรวมอำนาจให้ฝ่ายทหาร เป็นผู้มีอำนาจบัญชาการทั้งฝ่ายพลเรือนด้วย จะไม่เป็นผลดีต่อการแก้ไขปัญหา จชต. เนื่องจากปัญหาใน จชต. เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน และจะต้องมีความรอบคอบในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหาในระยะยาว
4.บทบาทภารกิจหน้าที่รับผิดชอบรักษาความมั่นคง และแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยในมิติกองกำลัง ควรเป็นของกองทัพภาคที่ 4 หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนบทบาทภารกิจความรับผิดชอบด้านการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมิติพลเรือนการกำหนดยุทธศาสตร์ และการบูรณาการแผนงานโครงการต่างๆ ควรเป็นหน้าที่ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตชุมชนเมือง เป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ซึ่งมีความชัดเจนตามที่กฎหมาย และพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 กำหนดไว้แล้ว จากข้อเท็จจริง และเหตุผลดังกล่าวดังนั้น พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ และเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยแต่ประการใด
5.คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ตาม พ.ร.บ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 น่าจะเป็นศูนย์ปฏิบัติการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจะต้องผลักดันให้กระทรวงต่างๆ มีความเข้มแข็งทั้งกำลังคน และงบประมาณ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาความสงบภายใน รวมทั้งการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ประกอบกับ พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 มีเจตนารมณ์หลักในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการแก้ปัญหา จึงควรรับฟังเสียงจากประชาชนเจ้าของพื้นที่ ไม่ใช่เป็นการพิจารณา และสั่งการมาจากส่วนกลางอย่างเดียว
การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวมกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 17 กระทรวง เลขาธิการสภาความมั่นคง เลขาธิการสภาพัฒน์ เลขาธิการ ศอ.บต. ฯลฯ เป็นการซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กพต. ซึ่งมี พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองรับอยู่แล้ว ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน ก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ระหว่างกัน และจะนำไปสู่ปัญหาที่ซ้ำซ้อนมากยิ่งขึ้น
โดยหลังการประชุม ก็ได้มีการทำหนังสือด่วนเพื่อเสนอถึงนายกรัฐมนตรี และหากว่าทางรัฐบาลยังไม่ฟัง ทางสภาที่ปรึกษาฯทั้ง 49 คน อาจจะแสดงจุดยืนโดยการลาออกทั้งหมด และจะดำเนินการฟ้องศาลปกครองอีกด้วย