โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
วันที่ 17 สิงหาคม 2555 นับเป็นวันแรกที่มีการมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบใน จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา โดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ตอบคำถามข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษรดังต่อไปนี้
ทำไมต้องมีการเยียวยา
รัฐบาลมีนโยบายสำคัญที่จะนำ “ความสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยเร็ว การเยียวยาจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ที่เป็นพลเมืองไทยทุกคนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข เหมาะสมตามสภาพ ไม่ทอดทิ้งผู้สูญเสียที่เป็นผู้พิการ ผู้บาดเจ็บ รวมถึงพ่อแม่ ภรรยา ลูกๆ ของผู้เสียชีวิต หรือบุคคลที่ผู้เสียชีวิตต้องอุปการะเลี้ยงดู และมุ่งให้เกิดความรัก ความสามัคคี ลดความโกรธแค้นชิงชัง ไม่ทอดทิ้งผู้เสียหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบออกไปจากสังคม
การเยียวยาไม่เกี่ยวข้องกับความผิดทางอาญาซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมาย ตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งรัฐจะช่วยเหลือบุคคลที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในด้านกฎหมาย ทนายความ ค่าใช้จ่ายในการประกันตัว หรือการฟ้องร้อง การดำเนินคดี รวมถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ทำไมการเยียวยาจึงจ่ายไม่เท่ากัน ความเป็นธรรมอยู่ตรงไหน
การช่วยเหลือเยียวยาครั้งนี้ เป็นการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ หรือผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกกลุ่ม ย้อนหลังไปถึงเดือนมกราคม 2547 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บไปแล้วร่วม 14,000 คน ครอบคลุมทั้งผู้ที่ไม่เคยได้รับการช่วยเหลือเยียวยา หรือได้รับการช่วยเหลือเยียวยาไปแล้ว แต่ยังมีความทุกข์ยากเดือดร้อน ไม่สามารถพึ่งตนเอง รวม 4 กลุ่มคือ ทั้งกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มผู้ที่ถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ก่อเหตุรุนแรงที่เป็นเหตุการณ์เฉพาะกรณี และกลุ่มผู้ที่ควบคุมตัว หรือถูกคุมขัง หรือถูกดำเนินคดีเป็นผู้ต้องหา หรือเป็นจำเลยและถูกควบคุมตัว หรือคุมขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมาปรากฏหลักฐานว่า ผู้นั้นมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือมีการถอนฟ้อง หรือมีคำพิพากษายกฟ้อง
โดยแต่ละกลุ่มจะมีคณะอนุกรรมการซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าคณะจังหวัด ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้แทนฝ่ายทหาร ตำรวจ สื่อมวลชน นักวิชาการ แพทย์ ตัวแทนผู้รับได้ผลกระทบ หรือผู้สูญเสีย และผู้แทนภาคประชาชน ครอบคลุมกลุ่มที่ต้องให้การช่วยเหลือเยียวยาทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง เสนอการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฯ ทั้งที่เป็นตัวเงิน การช่วยเหลือเยียวยาด้านคุณภาพชีวิต ด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ การช่วยเหลือเยียวยาเฉพาะในส่วนที่เป็นตัวเงินของแต่ละกลุ่มจึงมีความแตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริงและผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การช่วยเหลือเยียวยาด้านคุณภาพชีวิต เช่น ด้านทุนการศึกษา การรักษาพยาบาลที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน และมีความต่อเนื่อง
กรณีการเยียวยาจากเดิมที่ประชาชน และเจ้าหน้าที่รัฐได้ไม่เท่าเทียมกัน ก็ได้มีการปรับอัตราการช่วยเหลือเยียวยากรณีประชาชนเสียชีวิตจากเดิมรายละ 100,000 บาท ให้เป็น 500,000 บาท ให้ทัดเทียมกับกรณีข้าราชการเสียชีวิต สำหรับผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นประชาชนพบว่าตั้งแต่ปี 2547 เป็นกลุ่มที่เสียชีวิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.36 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด
ทำไมจึงให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในจำนวนเงินที่สูงกว่าการกระทำของผู้ก่อเหตุรุนแรง
กรณีการเยียวยาที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นหน้าที่ของ ศอ.บต. ที่จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 มาตรา 9 (7) ที่บัญญัติให้ ศอ.บต. มีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือเยียวยา ตามระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งต้องมีระเบียบวินัยและมีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความปลอดภัยของประชาชน กรณีที่เกิดสูญเสียจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากต้องรับโทษทางกฎหมาย และทางวินัยแล้ว การช่วยเหลือเยียวยาจึงต้องอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าอัตราการช่วยเหลือเยียวยาผู้รับผลกระทบ หรือผู้สูญเสียทั่วไปที่เกิดจากการกระทำของผู้ก่อเหตุรุนแรง
ถ้าไม่ได้ไปลงทะเบียน ผู้ได้รับผลกระทบฯ จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
หากท่านเป็นผู้ได้รับผลกระทบตามเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาของทางราชการหรือเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ก็ถือว่าท่านเป็นผู้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาอย่างแน่นอน เพราะว่าชื่อและประวัติของท่านปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลการเยียวยาฯ แล้ว กระนั้นก็ตาม หากตั้งแต่เกิดเหตุ ท่านยังไม่เคยได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากทางราชการ ก็ขอให้ท่านไปแจ้งลงทะเบียนได้ที่งานเยียวยา ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง
ประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินอย่างไร
ประชาชนทั่วไป รวมทั้งประชาชนที่ช่วยเหลือทางราชการและผู้นำศาสนาที่เสียชีวิตจะได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมให้เท่าเทียมกับกรณีของเจ้าหน้าที่รัฐ จนครบจำนวน 500,000 บาท โดยในปี 2555 จะได้รับการช่วยเหลือจำนวน 100,000 บาท และในปีถัดไปจะได้รับปีละ 100,000 บาทจนครบจำนวน 500,000 บาท ภายในปีงบประมาณ 2558 เช่นเดียวกัน กรณีบาดเจ็บสาหัสจะได้รับการช่วยเหลือรายละ 50,000 บาท กรณีบาดเจ็บปานกลาง และบาดเจ็บเล็กน้อย จะได้รับช่วยเหลือรายละไม่เกิน 30,000 บาท
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินอย่างไร
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับการช่วยเหลืออยู่แล้ว ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับเงินในการเยียวยากรณีเสียชีวิต และทุพพลภาพเป็นเงิน จำนวน 500,000 บาท และข้าราชการยังมีสิทธิ สวัสดิการที่กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งข้าราชการนั้นสังกัดอยู่เพิ่มเติมตามแต่ละหน่วยงาน โดยคณะกรรมการเยียวยาฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่ข้าราชการที่เป็นเป้าหมายอ่อนแอ ได้แก่ ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา โดยได้ให้กระทรวงศึกษาพิจารณาให้ความช่วยเหลือเยียวยา และจัดสวัสดิการเพิ่มเติมให้เสมอภาคและเป็นธรรมแล้ว สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาในปี 2555 กรณีเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยงานจะได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติม ดังนี้]
- กรณีเสียชีวิต จำนวน 100,000 บาท
- กรณีทุพพลภาพ จำนวน 100,000 บาท
- กรณีจำเป็นต้องใช้ขาเทียม หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ รายละไม่เกิน 250,000 บาท
(ตามความเห็นของแพทย์)
ทำไมปัจจุบันยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติม
เงินช่วยเหลือเยียวยาเป็นเงินงบประมาณของทางราชการ ซึ่งได้มาจากภาษีอากรของประชาชนคนไทยทุกคน การอนุมัติเงินดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ความรอบคอบ รัดกุม โดยมีคณะอนุกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่มีความเป็นกลาง รวมทั้งตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนในการพิจารณา แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ อีกทั้งต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้มีความชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วนจึงจำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
ถ้าผู้ได้รับผลกระทบฯ ไม่ไปร้องทุกข์ที่ ศอ.บต. เขาจะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาหรือไม่
ท่านต้องได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาอย่างแน่นอน เพราะท่านเป็นผู้ได้รับผลกระทบฯ ท่านจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ชื่อและข้อมูลของท่านปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลการเยียวยาอยู่แล้ว จึงเป็นหน้าที่ของทางราชการที่จะต้องดำเนินการให้ผู้ได้รับผลกระทบฯ ทุกคน ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟู ทั้งที่เป็นตัวเงิน การเยียวยาด้านจิตใจและการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่ ศอ.บต. กรณีมีข้อสงสัยประการใดก็สามารถติดต่อสอบถามที่ ศอ.บต. หมายเลขโทรศัพท์ 0-7327-4102 และงานเยียวยาทุกอำเภอในพื้นที่
การช่วยเหลือเยียวยาด้านคุณภาพชีวิต คืออะไร
การให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้เสียหาย และได้รับผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้สูญเสีย และผู้รับผลกระทบทุกกลุ่ม รวมทั้งจะมีความต่อเนื่อง ยั่งยืน ได้แก่
(1) การรักษาพยาบาลทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการส่งต่อฟื้นฟูผู้พิการ หรือฟื้นฟู สมรรถภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ โดยแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
(2) การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์
(3) การเยียวยาทางด้านจิตวิญญาณ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หรืออุมเราะฮ์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย หรือประกอบศาสนกิจตามหลักศาสนาอื่น
(4) การให้สิทธิในการเข้ารับการศึกษาของตนเอง หรือทายาท
(5) การสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามสมควร
(6) การช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายด้านทรัพย์สิน
(7) การซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หรือการช่วยเหลือด้านที่ทำกิน หรือการส่งเสริมการประกอบอาชีพ
(8) การได้รับการเยี่ยมเยียนอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มสหวิชาชีพ
(9) การส่งเสริมการสร้างกลุ่มและการรวมกลุ่มของผู้ได้รับผลกระทบเพื่อดูแลซึ่งกันและกัน
(10) การได้รับความช่วยเหลือให้มีความปลอดภัย หรือมีส่วนร่วมในการจัดระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก
(11) การคุ้มครองป้องกันจากการถูกปองร้าย
(12) การจัดตั้งสถานพยาบาลเฉพาะทาง หรือสถาบันส่งเสริมการศึกษาเยียวยาฟื้นฟูผู้พิการในจังหวัดชายแดนภาคใต้
(13) การช่วยเหลือเยียวยาด้านกฎหมาย การฟ้องร้อง การดำเนินคดี หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(14) ค่าใช้จ่ายในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน การเข้าถึงความเป็นธรรม
(15) การช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเยียวยาฯ พิจารณาเห็นสมควร
ประชาชนสามารถร้องทุกข์เกี่ยวกับการเยียวยาได้ที่ไหน
(1) งานเยียวยา ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง (2) ศอ.บต. หมายเลขโทรศัพท์ 0-7327-4102
ในการดำเนินการช่วยเหลือเยียวยา ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมหรือไม่
ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น โดยมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มที่ได้รับผลกระทบกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่องหลายครั้ง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือตามแต่กรณี มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ซึ่งมีประชาชนจากหลายสาขาอาชีพ สื่อมวลชน และผู้นำศาสนา ที่สำคัญคือ การยึดหลักการมีส่วนร่วมโดยได้เชิญตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบฯ เข้าร่วมเป็นกรรมการอยู่ในคณะอนุกรรมการฯ ทุกคณะ
การได้รับเงินช่วยเหลือจะมีค่าใช้จ่ายใดๆ หรือไม่
ท่านจะได้รับเงินตามที่คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบได้อนุมัติ โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น อย่าหลงเชื่อนายหน้า หรือคนกลางที่แอบอ้างว่าจะสามารถช่วยเหลือให้ได้รับเงินเยียวยา เมื่อมีการอนุมัติเงินช่วยเหลือแล้ว ศอ.บต.จะจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ์โดยตรง เป็นเช็คธนาคารระบุชื่อผู้มีสิทธิแต่ละคนครบตามจำนวน
วันที่ 17 สิงหาคม 2555 นับเป็นวันแรกที่มีการมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบใน จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา โดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ตอบคำถามข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษรดังต่อไปนี้
ทำไมต้องมีการเยียวยา
รัฐบาลมีนโยบายสำคัญที่จะนำ “ความสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยเร็ว การเยียวยาจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ที่เป็นพลเมืองไทยทุกคนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข เหมาะสมตามสภาพ ไม่ทอดทิ้งผู้สูญเสียที่เป็นผู้พิการ ผู้บาดเจ็บ รวมถึงพ่อแม่ ภรรยา ลูกๆ ของผู้เสียชีวิต หรือบุคคลที่ผู้เสียชีวิตต้องอุปการะเลี้ยงดู และมุ่งให้เกิดความรัก ความสามัคคี ลดความโกรธแค้นชิงชัง ไม่ทอดทิ้งผู้เสียหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบออกไปจากสังคม
การเยียวยาไม่เกี่ยวข้องกับความผิดทางอาญาซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมาย ตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งรัฐจะช่วยเหลือบุคคลที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในด้านกฎหมาย ทนายความ ค่าใช้จ่ายในการประกันตัว หรือการฟ้องร้อง การดำเนินคดี รวมถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ทำไมการเยียวยาจึงจ่ายไม่เท่ากัน ความเป็นธรรมอยู่ตรงไหน
การช่วยเหลือเยียวยาครั้งนี้ เป็นการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ หรือผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกกลุ่ม ย้อนหลังไปถึงเดือนมกราคม 2547 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บไปแล้วร่วม 14,000 คน ครอบคลุมทั้งผู้ที่ไม่เคยได้รับการช่วยเหลือเยียวยา หรือได้รับการช่วยเหลือเยียวยาไปแล้ว แต่ยังมีความทุกข์ยากเดือดร้อน ไม่สามารถพึ่งตนเอง รวม 4 กลุ่มคือ ทั้งกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มผู้ที่ถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ก่อเหตุรุนแรงที่เป็นเหตุการณ์เฉพาะกรณี และกลุ่มผู้ที่ควบคุมตัว หรือถูกคุมขัง หรือถูกดำเนินคดีเป็นผู้ต้องหา หรือเป็นจำเลยและถูกควบคุมตัว หรือคุมขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมาปรากฏหลักฐานว่า ผู้นั้นมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือมีการถอนฟ้อง หรือมีคำพิพากษายกฟ้อง
โดยแต่ละกลุ่มจะมีคณะอนุกรรมการซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าคณะจังหวัด ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้แทนฝ่ายทหาร ตำรวจ สื่อมวลชน นักวิชาการ แพทย์ ตัวแทนผู้รับได้ผลกระทบ หรือผู้สูญเสีย และผู้แทนภาคประชาชน ครอบคลุมกลุ่มที่ต้องให้การช่วยเหลือเยียวยาทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง เสนอการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฯ ทั้งที่เป็นตัวเงิน การช่วยเหลือเยียวยาด้านคุณภาพชีวิต ด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ การช่วยเหลือเยียวยาเฉพาะในส่วนที่เป็นตัวเงินของแต่ละกลุ่มจึงมีความแตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริงและผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การช่วยเหลือเยียวยาด้านคุณภาพชีวิต เช่น ด้านทุนการศึกษา การรักษาพยาบาลที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน และมีความต่อเนื่อง
กรณีการเยียวยาจากเดิมที่ประชาชน และเจ้าหน้าที่รัฐได้ไม่เท่าเทียมกัน ก็ได้มีการปรับอัตราการช่วยเหลือเยียวยากรณีประชาชนเสียชีวิตจากเดิมรายละ 100,000 บาท ให้เป็น 500,000 บาท ให้ทัดเทียมกับกรณีข้าราชการเสียชีวิต สำหรับผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นประชาชนพบว่าตั้งแต่ปี 2547 เป็นกลุ่มที่เสียชีวิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.36 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด
ทำไมจึงให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในจำนวนเงินที่สูงกว่าการกระทำของผู้ก่อเหตุรุนแรง
กรณีการเยียวยาที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นหน้าที่ของ ศอ.บต. ที่จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 มาตรา 9 (7) ที่บัญญัติให้ ศอ.บต. มีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือเยียวยา ตามระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งต้องมีระเบียบวินัยและมีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความปลอดภัยของประชาชน กรณีที่เกิดสูญเสียจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากต้องรับโทษทางกฎหมาย และทางวินัยแล้ว การช่วยเหลือเยียวยาจึงต้องอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าอัตราการช่วยเหลือเยียวยาผู้รับผลกระทบ หรือผู้สูญเสียทั่วไปที่เกิดจากการกระทำของผู้ก่อเหตุรุนแรง
ถ้าไม่ได้ไปลงทะเบียน ผู้ได้รับผลกระทบฯ จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
หากท่านเป็นผู้ได้รับผลกระทบตามเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาของทางราชการหรือเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ก็ถือว่าท่านเป็นผู้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาอย่างแน่นอน เพราะว่าชื่อและประวัติของท่านปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลการเยียวยาฯ แล้ว กระนั้นก็ตาม หากตั้งแต่เกิดเหตุ ท่านยังไม่เคยได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากทางราชการ ก็ขอให้ท่านไปแจ้งลงทะเบียนได้ที่งานเยียวยา ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง
ประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินอย่างไร
ประชาชนทั่วไป รวมทั้งประชาชนที่ช่วยเหลือทางราชการและผู้นำศาสนาที่เสียชีวิตจะได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมให้เท่าเทียมกับกรณีของเจ้าหน้าที่รัฐ จนครบจำนวน 500,000 บาท โดยในปี 2555 จะได้รับการช่วยเหลือจำนวน 100,000 บาท และในปีถัดไปจะได้รับปีละ 100,000 บาทจนครบจำนวน 500,000 บาท ภายในปีงบประมาณ 2558 เช่นเดียวกัน กรณีบาดเจ็บสาหัสจะได้รับการช่วยเหลือรายละ 50,000 บาท กรณีบาดเจ็บปานกลาง และบาดเจ็บเล็กน้อย จะได้รับช่วยเหลือรายละไม่เกิน 30,000 บาท
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินอย่างไร
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับการช่วยเหลืออยู่แล้ว ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับเงินในการเยียวยากรณีเสียชีวิต และทุพพลภาพเป็นเงิน จำนวน 500,000 บาท และข้าราชการยังมีสิทธิ สวัสดิการที่กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งข้าราชการนั้นสังกัดอยู่เพิ่มเติมตามแต่ละหน่วยงาน โดยคณะกรรมการเยียวยาฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่ข้าราชการที่เป็นเป้าหมายอ่อนแอ ได้แก่ ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา โดยได้ให้กระทรวงศึกษาพิจารณาให้ความช่วยเหลือเยียวยา และจัดสวัสดิการเพิ่มเติมให้เสมอภาคและเป็นธรรมแล้ว สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาในปี 2555 กรณีเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยงานจะได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติม ดังนี้]
- กรณีเสียชีวิต จำนวน 100,000 บาท
- กรณีทุพพลภาพ จำนวน 100,000 บาท
- กรณีจำเป็นต้องใช้ขาเทียม หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ รายละไม่เกิน 250,000 บาท
(ตามความเห็นของแพทย์)
ทำไมปัจจุบันยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติม
เงินช่วยเหลือเยียวยาเป็นเงินงบประมาณของทางราชการ ซึ่งได้มาจากภาษีอากรของประชาชนคนไทยทุกคน การอนุมัติเงินดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ความรอบคอบ รัดกุม โดยมีคณะอนุกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่มีความเป็นกลาง รวมทั้งตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนในการพิจารณา แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ อีกทั้งต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้มีความชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วนจึงจำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
ถ้าผู้ได้รับผลกระทบฯ ไม่ไปร้องทุกข์ที่ ศอ.บต. เขาจะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาหรือไม่
ท่านต้องได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาอย่างแน่นอน เพราะท่านเป็นผู้ได้รับผลกระทบฯ ท่านจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ชื่อและข้อมูลของท่านปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลการเยียวยาอยู่แล้ว จึงเป็นหน้าที่ของทางราชการที่จะต้องดำเนินการให้ผู้ได้รับผลกระทบฯ ทุกคน ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟู ทั้งที่เป็นตัวเงิน การเยียวยาด้านจิตใจและการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่ ศอ.บต. กรณีมีข้อสงสัยประการใดก็สามารถติดต่อสอบถามที่ ศอ.บต. หมายเลขโทรศัพท์ 0-7327-4102 และงานเยียวยาทุกอำเภอในพื้นที่
การช่วยเหลือเยียวยาด้านคุณภาพชีวิต คืออะไร
การให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้เสียหาย และได้รับผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้สูญเสีย และผู้รับผลกระทบทุกกลุ่ม รวมทั้งจะมีความต่อเนื่อง ยั่งยืน ได้แก่
(1) การรักษาพยาบาลทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการส่งต่อฟื้นฟูผู้พิการ หรือฟื้นฟู สมรรถภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ โดยแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
(2) การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์
(3) การเยียวยาทางด้านจิตวิญญาณ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หรืออุมเราะฮ์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย หรือประกอบศาสนกิจตามหลักศาสนาอื่น
(4) การให้สิทธิในการเข้ารับการศึกษาของตนเอง หรือทายาท
(5) การสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามสมควร
(6) การช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายด้านทรัพย์สิน
(7) การซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หรือการช่วยเหลือด้านที่ทำกิน หรือการส่งเสริมการประกอบอาชีพ
(8) การได้รับการเยี่ยมเยียนอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มสหวิชาชีพ
(9) การส่งเสริมการสร้างกลุ่มและการรวมกลุ่มของผู้ได้รับผลกระทบเพื่อดูแลซึ่งกันและกัน
(10) การได้รับความช่วยเหลือให้มีความปลอดภัย หรือมีส่วนร่วมในการจัดระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก
(11) การคุ้มครองป้องกันจากการถูกปองร้าย
(12) การจัดตั้งสถานพยาบาลเฉพาะทาง หรือสถาบันส่งเสริมการศึกษาเยียวยาฟื้นฟูผู้พิการในจังหวัดชายแดนภาคใต้
(13) การช่วยเหลือเยียวยาด้านกฎหมาย การฟ้องร้อง การดำเนินคดี หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(14) ค่าใช้จ่ายในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน การเข้าถึงความเป็นธรรม
(15) การช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเยียวยาฯ พิจารณาเห็นสมควร
ประชาชนสามารถร้องทุกข์เกี่ยวกับการเยียวยาได้ที่ไหน
(1) งานเยียวยา ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง (2) ศอ.บต. หมายเลขโทรศัพท์ 0-7327-4102
ในการดำเนินการช่วยเหลือเยียวยา ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมหรือไม่
ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น โดยมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มที่ได้รับผลกระทบกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่องหลายครั้ง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือตามแต่กรณี มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ซึ่งมีประชาชนจากหลายสาขาอาชีพ สื่อมวลชน และผู้นำศาสนา ที่สำคัญคือ การยึดหลักการมีส่วนร่วมโดยได้เชิญตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบฯ เข้าร่วมเป็นกรรมการอยู่ในคณะอนุกรรมการฯ ทุกคณะ
การได้รับเงินช่วยเหลือจะมีค่าใช้จ่ายใดๆ หรือไม่
ท่านจะได้รับเงินตามที่คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบได้อนุมัติ โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น อย่าหลงเชื่อนายหน้า หรือคนกลางที่แอบอ้างว่าจะสามารถช่วยเหลือให้ได้รับเงินเยียวยา เมื่อมีการอนุมัติเงินช่วยเหลือแล้ว ศอ.บต.จะจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ์โดยตรง เป็นเช็คธนาคารระบุชื่อผู้มีสิทธิแต่ละคนครบตามจำนวน