ตรัง - หลายธุรกิจใน จ.ตรัง มีแนวโน้มขาดแคลนแรงงานเพิ่มขึ้น เสนอทำ MOU เพื่อดึงชาวบังกลาเทศ และชาวเวียดนาม เข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยตรง เพื่อเป็นการแก้ปัญหา
นายอรุณ หมัดเหล็ม จัดหางานจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทั้งจังหวัดมีกำลังแรงงานรวมทั้งหมดประมาณ 50,000 คน ในจำนวนนี้ เป็นแรงงานชาวไทย ประมาณ 40,000 คน ส่วนที่เหลือเป็นแรงงานต่างด้าว ประมาณ 10,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวพม่า หรือประมาณ 70% ส่วนที่เหลือเป็นชาวกัมพูชา และชาวลาว ประมาณ 30% โดยเข้ามาทำงานในภาคการผลิตตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในภาคการเกษตร โดยเฉพาะการกรีดยางพารา และแปรรูปไม้ยางพารา รวมทั้งในภาคการประมง และการก่อสร้าง
อย่างไรก็ตาม จากจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานเหล่านี้ แม้จะมีปริมาณคิดเป็นอัตราส่วน 1 ใน 5 ของแรงงานรวมในจังหวัดตรังทั้งหมด แต่ถือว่า ยังไม่เพียงต่อความต้องการของนายจ้าง ซึ่งได้มีการยื่นเรื่องขอกำลังแรงงานเข้ามายังหน่วยงานราชการโดยตลอด โดยเฉพาะภาคการผลิตด้านยางพารา อย่างอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ที่นับวันจะเกิดปัญหาการขาดแคลนสูงมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงภาคการประมง ที่เจอปัญหาต่างๆ รุมเร้ารอบด้าน โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการมานานหลายปีแล้ว
สำหรับภาวะการขาดแคลนแรงงานที่กำลังเกิดขึ้นมาจากหลายๆ สาเหตุ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจในจังหวัดตรังในปัจจุบัน ที่ค่อนข้างจะซบเซา ทำให้มีความต้องการแรงงานต่างถิ่น หรือแรงงานต่างด้าวลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการรอดูสถานการณ์ก่อน และจำต้องปรับตัวเพื่อรับมือวิกฤตต่างประเทศที่อาจลุกลามเข้าสู่ประเทศไทย ขณะที่แรงงานต่างถิ่น โดยเฉพาะชาวอีสาน ซึ่งก่อนหน้านี้ให้ความนิยมเดินทางมาทำงานในภาคใต้ ก็กำลังมีแนวโน้มที่ลดลงไปด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากในขณะนี้ ที่ภาคอีสานสามารถปลูกยางพาราได้ดีเหมือนกับภาคใต้ และสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ก็เริ่มดีขึ้น ทำให้ชาวอีสานมีงานทำกันมากขึ้นตามมา จึงไม่จำเป็นต้องเดินทางลงมาทำงานในภาคใต้เหมือนเช่นเมื่อก่อน รวมทั้งยังมีชาวอีสานบางส่วนหันไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากเห็นว่ามีรายได้ที่ดีกว่าการลงมาทำงานในภาคใต้ หรือในเมืองไทย จึงมีส่วนทำให้แรงงานหลักที่เคยนำมาใช้กับภาคธุรกิจในจังหวัดตรังต้องลดลง ผู้ประกอบการบางส่วนจึงหันไปนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานทดแทน
อย่างไรก็ตาม แรงงานต่างด้าวก็อาจมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะชาวพม่าซึ่งกำลังรอดูท่าทีการพัฒนาประเทศ และการก้าวเข้ามามีบทบาทในเวทีการเมืองของ นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญ แต่หากจะมีผลกระทบต่อจังหวัดตรังจริงๆ ก็คงเป็นช่วงในอีก 5 ปีข้างหน้าไปแล้ว ขณะที่แรงงานชาวกัมพูชา และชาวลาว ก็เริ่มถึงขีดจำกัด เนื่องจากมีประชากรไม่มาก ส่วนที่ยังเดินทางมายังจังหวัดตรังอยู่อีกก็เป็นการทำงานในสานยางพาราเท่านั้น เพื่อเก็บเกี่ยวเทคโนโลยี และประสบการณ์กลับไปประเทศในอนาคต
ในส่วนของชาวจังหวัดตรังเอง ปัจจุบัน มีกำลังแรงงานหนุ่มสาวน้อยลง อันเนื่องมาจากการนิยมมีลูกน้อย แถมยังมีการเลือกงานที่จะทำมากขึ้นด้วย จึงส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต การเกษตร และการประมง ซึ่งหนทางที่กรมการจัดหางาน เตรียมการไว้รองรับปัญหาก็คือ การทำ MOU เพื่อดึงแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยตรง โดยเฉพาะชาวบังกลาเทศ และชาวเวียดนาม แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีคุณภาพ และประสบการณ์ตรงตามความต้องการของนายจ้างหรือไม่
นายอรุณ หมัดเหล็ม จัดหางานจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทั้งจังหวัดมีกำลังแรงงานรวมทั้งหมดประมาณ 50,000 คน ในจำนวนนี้ เป็นแรงงานชาวไทย ประมาณ 40,000 คน ส่วนที่เหลือเป็นแรงงานต่างด้าว ประมาณ 10,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวพม่า หรือประมาณ 70% ส่วนที่เหลือเป็นชาวกัมพูชา และชาวลาว ประมาณ 30% โดยเข้ามาทำงานในภาคการผลิตตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในภาคการเกษตร โดยเฉพาะการกรีดยางพารา และแปรรูปไม้ยางพารา รวมทั้งในภาคการประมง และการก่อสร้าง
อย่างไรก็ตาม จากจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานเหล่านี้ แม้จะมีปริมาณคิดเป็นอัตราส่วน 1 ใน 5 ของแรงงานรวมในจังหวัดตรังทั้งหมด แต่ถือว่า ยังไม่เพียงต่อความต้องการของนายจ้าง ซึ่งได้มีการยื่นเรื่องขอกำลังแรงงานเข้ามายังหน่วยงานราชการโดยตลอด โดยเฉพาะภาคการผลิตด้านยางพารา อย่างอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ที่นับวันจะเกิดปัญหาการขาดแคลนสูงมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงภาคการประมง ที่เจอปัญหาต่างๆ รุมเร้ารอบด้าน โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการมานานหลายปีแล้ว
สำหรับภาวะการขาดแคลนแรงงานที่กำลังเกิดขึ้นมาจากหลายๆ สาเหตุ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจในจังหวัดตรังในปัจจุบัน ที่ค่อนข้างจะซบเซา ทำให้มีความต้องการแรงงานต่างถิ่น หรือแรงงานต่างด้าวลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการรอดูสถานการณ์ก่อน และจำต้องปรับตัวเพื่อรับมือวิกฤตต่างประเทศที่อาจลุกลามเข้าสู่ประเทศไทย ขณะที่แรงงานต่างถิ่น โดยเฉพาะชาวอีสาน ซึ่งก่อนหน้านี้ให้ความนิยมเดินทางมาทำงานในภาคใต้ ก็กำลังมีแนวโน้มที่ลดลงไปด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากในขณะนี้ ที่ภาคอีสานสามารถปลูกยางพาราได้ดีเหมือนกับภาคใต้ และสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ก็เริ่มดีขึ้น ทำให้ชาวอีสานมีงานทำกันมากขึ้นตามมา จึงไม่จำเป็นต้องเดินทางลงมาทำงานในภาคใต้เหมือนเช่นเมื่อก่อน รวมทั้งยังมีชาวอีสานบางส่วนหันไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากเห็นว่ามีรายได้ที่ดีกว่าการลงมาทำงานในภาคใต้ หรือในเมืองไทย จึงมีส่วนทำให้แรงงานหลักที่เคยนำมาใช้กับภาคธุรกิจในจังหวัดตรังต้องลดลง ผู้ประกอบการบางส่วนจึงหันไปนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานทดแทน
อย่างไรก็ตาม แรงงานต่างด้าวก็อาจมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะชาวพม่าซึ่งกำลังรอดูท่าทีการพัฒนาประเทศ และการก้าวเข้ามามีบทบาทในเวทีการเมืองของ นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญ แต่หากจะมีผลกระทบต่อจังหวัดตรังจริงๆ ก็คงเป็นช่วงในอีก 5 ปีข้างหน้าไปแล้ว ขณะที่แรงงานชาวกัมพูชา และชาวลาว ก็เริ่มถึงขีดจำกัด เนื่องจากมีประชากรไม่มาก ส่วนที่ยังเดินทางมายังจังหวัดตรังอยู่อีกก็เป็นการทำงานในสานยางพาราเท่านั้น เพื่อเก็บเกี่ยวเทคโนโลยี และประสบการณ์กลับไปประเทศในอนาคต
ในส่วนของชาวจังหวัดตรังเอง ปัจจุบัน มีกำลังแรงงานหนุ่มสาวน้อยลง อันเนื่องมาจากการนิยมมีลูกน้อย แถมยังมีการเลือกงานที่จะทำมากขึ้นด้วย จึงส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต การเกษตร และการประมง ซึ่งหนทางที่กรมการจัดหางาน เตรียมการไว้รองรับปัญหาก็คือ การทำ MOU เพื่อดึงแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยตรง โดยเฉพาะชาวบังกลาเทศ และชาวเวียดนาม แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีคุณภาพ และประสบการณ์ตรงตามความต้องการของนายจ้างหรือไม่