ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ผลสำรวจหาดใหญ่โพล เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และผลงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในรอบ 1 ปี ส่วนใหญ่คนใต้เห็นว่า การบริหารงานในภาพรวมล้มเหลว ชื่นชมยาหอมคืนภาษีบ้าน-รถ ปรับค่าแรง ส่วนด้านเศรษฐกิจแย่ และไม่เห็นด้วยที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ส่วน พ.ร.บ.ปรองดองฟันธงทำเพื่อทักษิณ
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และผลงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในรอบ 1 ปี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,003 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2555 สรุปผลการสำรวจดังนี้
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61.8) มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 36.8) รองลงมา อายุ 31-40 ปี (ร้อยละ 35.2 ) และอายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 13.7) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อาชีพประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 23.2) รองลงมา พนักงานบริษัท/รับจ้าง รับจ้างทั่วไป และเป็นนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 21.9, 18.0 และ 17.2 ตามลำดับ
รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล ในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และผลงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในรอบ 1 ปี พบว่า ประชาชนภาคใต้มีความพึงพอใจในการบริหารงานโดยภาพรวมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 4.43 คะแนน จาก 10 คะแนน) และเมื่อพิจารณาความสำเร็จในการบริหารงานในรอบ 1 ปี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบว่า ด้านการศึกษา เป็นการบริหารงานที่ได้คะแนนสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยเพียง 4.62 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมา ได้แก่ การบริหารงานด้านปัญหายาเสพติด ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และด้านการท่องเที่ยว โดยมีค่าเฉลี่ย 4.56, 4.52 และ 4.50 ตามลำดับ ส่วนการบริหารงานด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีค่าเฉลี่ยเพียง 4.13 คะแนนเท่านั้น
ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อการปรับขึ้นของราคาสินค้า (เงินเฟ้อ) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.0 เห็นว่า ปัญหาสินค้าการปรับราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครัวเรือนในระดับมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 26.8 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครัวเรือนในระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 5.2 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครัวเรือนในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
ประชาชนชื่นชอบนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ มากที่สุด รองลงมา นโยบายคืนภาษีบ้านหลังแรก, นโยบายคืนภาษีรถคันแรก, นโยบายบัณฑิตที่จบปริญญาตรี เงินเดือน 15,000 บาท และนโยบายจำนำข้าวเปลือกเกวียนละ 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท ตามลำดับ
ประชาชนร้อยละ 34.6 ไม่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มากที่สุด รองลงมา ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยผ่านการประชามติ และให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราโดยผ่านความเห็นชอบของสภา และการลงประชามติ คิดเป็นร้อยละ 24.2 และ 18.0 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรา
ประชาชนร้อยละ 45.9 เห็นว่า แนวคิด พ.ร.บ.ปรองดองทำเพื่อให้ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร กลับมามีอำนาจทางการเมือง รองลงมา พ.ร.บ.ปรองดองทำเพื่อให้กลุ่มคนเสื้อเหลือง-แดง เลิกการชุมนุม และ พ.ร.บ.ปรองดองสามารถสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทยได้ คิดเป็นร้อยละ 24.9 และ 20.5 ตามลำดับ
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และผลงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในรอบ 1 ปี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,003 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2555 สรุปผลการสำรวจดังนี้
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61.8) มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 36.8) รองลงมา อายุ 31-40 ปี (ร้อยละ 35.2 ) และอายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 13.7) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อาชีพประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 23.2) รองลงมา พนักงานบริษัท/รับจ้าง รับจ้างทั่วไป และเป็นนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 21.9, 18.0 และ 17.2 ตามลำดับ
รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล ในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และผลงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในรอบ 1 ปี พบว่า ประชาชนภาคใต้มีความพึงพอใจในการบริหารงานโดยภาพรวมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 4.43 คะแนน จาก 10 คะแนน) และเมื่อพิจารณาความสำเร็จในการบริหารงานในรอบ 1 ปี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบว่า ด้านการศึกษา เป็นการบริหารงานที่ได้คะแนนสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยเพียง 4.62 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมา ได้แก่ การบริหารงานด้านปัญหายาเสพติด ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และด้านการท่องเที่ยว โดยมีค่าเฉลี่ย 4.56, 4.52 และ 4.50 ตามลำดับ ส่วนการบริหารงานด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีค่าเฉลี่ยเพียง 4.13 คะแนนเท่านั้น
ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อการปรับขึ้นของราคาสินค้า (เงินเฟ้อ) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.0 เห็นว่า ปัญหาสินค้าการปรับราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครัวเรือนในระดับมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 26.8 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครัวเรือนในระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 5.2 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครัวเรือนในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
ประชาชนชื่นชอบนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ มากที่สุด รองลงมา นโยบายคืนภาษีบ้านหลังแรก, นโยบายคืนภาษีรถคันแรก, นโยบายบัณฑิตที่จบปริญญาตรี เงินเดือน 15,000 บาท และนโยบายจำนำข้าวเปลือกเกวียนละ 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท ตามลำดับ
ประชาชนร้อยละ 34.6 ไม่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มากที่สุด รองลงมา ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยผ่านการประชามติ และให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราโดยผ่านความเห็นชอบของสภา และการลงประชามติ คิดเป็นร้อยละ 24.2 และ 18.0 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรา
ประชาชนร้อยละ 45.9 เห็นว่า แนวคิด พ.ร.บ.ปรองดองทำเพื่อให้ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร กลับมามีอำนาจทางการเมือง รองลงมา พ.ร.บ.ปรองดองทำเพื่อให้กลุ่มคนเสื้อเหลือง-แดง เลิกการชุมนุม และ พ.ร.บ.ปรองดองสามารถสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทยได้ คิดเป็นร้อยละ 24.9 และ 20.5 ตามลำดับ